R2R เล็กๆ LEANน้อยๆ ค่อยๆคุยแบบ AI ได้สุขใจแบบง่ายๆ


R2R เล็กๆ LEANน้อยๆ

ค่อยๆ คุยแบบ AI ได้สุขใจแบบง่ายๆ

 

       ระหว่างเส้นทางของ R2R ในการพัฒนางาน วัฒนธรรมในหน่วยงานที่หน่วยจ่ายกลาง คือการการค้นหาสิ่งสูญเปล่า  ความสุขเล็กๆ  ในการพูดคุยกัน เพื่อพัฒนางานต่างๆให้ดียิ่งๆขึ้นไป  งานหนึ่งที่สำคัญ คืองานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ  ต่อสู้กับการรวมศูนย์เครื่องมือ   นำมาจัดการที่เดียว  กว่าจะดำเนินการได้  ต้องใช้เวลาสองปี  ข้อดีของการรวมศูนย์เครื่องมือที่หน่วยจ่ายกลาง  สามารถลดคน ลดอุปกรณ์ป้องกัน ลดน้ำยา ลดน้ำ  ที่สำคัญลดการปนเปื้อน  ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ  สามารถควบคุมการปฏิบัติงานได้ง่าย  ไม่หลายมาตรฐาน
      กว่าจะรวมหน่วยงานทันตกรรมให้มาจัดการเครื่องมือที่หน่วยจ่ายกลางนั้น ต้องใช้เวลานานทีเดียว  ได้เฝ้าสังเกตการส่งมอบงานระหว่างหนิงกับอุ๊  ในการจัดการเครื่องมือทางทันตกรรม
      เมื่อแนวคิดการพัฒนาของอ๋อยและพี่สหัส   ได้ถูกซึมซับ  อยู่ในทุกๆวัน  พวกเราหายใจเข้าออกเป็น R2R  ค้นหาสิ่งสูญเปล่า LEAN ในทุกกระบวนการทำงาน  พวกเราต้อนรับน้องใหม่น้องอุ๊ด้วยการให้เก็บข้อมูลรายวัน  ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการทำงาน จำนวนเครื่องมือล้างรายวัน  ตรวจสอบเครื่องมือสะอาดหลังล้าง  อุ๊เรียนรู้เร็วมาก   เพิ่งเริ่มรับงานวันที่  3 ตุลาคม 2554  ก็เริ่มจัด  เริ่มล้างชุดเครื่องมืออย่างเร็ว    การล้างเร็วไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ   แต่คุณค่าของกระบวนกการนี้คือความสะอาดกระบวนการล้างเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด   หากล้างไม่ดีประสิทธิภาพการทำปราศจากเชื้อก็ด้อยลง   จึงให้น้องอุ๊เริ่มจากการตรวจสอบประสิทธิภาพการล้างเมื่อวาน   อุ๊ได้ล้างเครื่องมือทั้งหมด 108 ชิ้น ไม่มีคราบเลือดหลงเหลืออยู่เลย  ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ100  แต่ตรวจพบว่าเครื่องมือเหล่านั้นเป็นคราบสนิม   รอยสึกกร่อน  คราบรอยวัสดุอุด  รอยกระจกตรวจฟันขีดข่วนขุ่นมัว   42 ชิ้น คิดเป็น ร้อยละ  38.8 ดูแล้วเป็นข้อมูลที่น่าตกใจ  เครื่องมือเหล่านี้ล้วนราคาแพงมาก  พวกเราคุยกันต่อว่าจะจัดการเครื่องมือเหล่านี้กันอย่างไร    เป็นโจทย์สำคัญที่ต้องจัดการต่อไป 
      กระบวนจัดชุดเครื่องมือเดิมนั้น   วิธีการที่น้องหนิงปฏิบัตินั้น  เธอนำเครื่องมือที่ล้างเสร็จ  อบด้วยเครื่องจนแห้ง   รวมไว้ในตะกร้าเดียว  ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้คืออุบัติเหตุจากของมีคมทิ่มตำ  ถึงแม้ไม่เกิดขึ้น   เพราะความชำนาญ   สังเกตว่าแต่ละครั้งที่ต้องหยิบเครื่องมือออกจากตะกร้าที่กองรวมกัน   ทำให้เสียเวลา  อย่างน้อย 3-5 วินาที  เพราะเครื่องมือเหล่านั้น  ทั้งแหลมคม  เกาะเกี่ยวกันให้วุ่น   กระบวนการนี้เราน่าจัดการลดได้    พี่สหัสและน้องอ๋อยสอนงานน้องอุ๊   โดยแนะนำการแยกเครื่องมือตั้งแต่กระบวนการล้างเลย   และแยกเครื่องมือมีคมออก  แค่เปลี่ยนวิธีการทำงาน  ฉพาะในกระบวนการนี้ยังสามารถลดเวลาได้อีก เพราะไม่ต้องเสียเวลาเลือก   ไม่ต้องมัวระวัง   ในครั้งนี้ลดได้ 20  นาที   คิดเล่นๆ  ( 7,300 นาทีต่อปี หรือ 121 ชั่วโมง )  เพียงแค่กระบวนการเดียว  หากหลายๆงานช่วยกันคิด  และพัฒนางานเป็นประจำ  คือรางวัล ในการทำงานแต่ละวันแล้ว   รอยยิ้มและความสุขของคนหน้างาน เบิกบานได้ด้วยวิธีการแก้ปัญหาง่ายๆ  ในแต่ละวันเท่านั้นเองกับความสุขรายวัน

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ai#cssd#lean#r2r
หมายเลขบันทึก: 464507เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

*ขอบคุณค่ะ..เป็นกระบวนการพัฒนางานที่ดีและมีความสุขนะคะ..

*เก็บ ภาพดอกบวบเหลี่ยม หน้าฝนที่บ้านมาฝากค่ะ..

ผมเห็นภาพความเหมือนของ

R2R...LEAN...AI

ตรงการสังเกต และการรวบรวมข้อมูล

และที่สำคัญ...คือ...ความสุขครับ

เก่งมากครับ

สวัสดีค่ะน้องอุ้มบุญ

ชอบค่ะ " หายใจเข้าออกเป็น R2R ค้นหาสิ่งสูญเปล่า LEAN ในทุกกระบวนการทำงาน" ได้รอยยิ้มและความสุขเป็นรางวัล อ่านแล้วก็สุขตาม ชื่นชม เป็นกำลังใจค่ะ

คือ พลังแห่งความสุข...และกำลังใจ

สิ่งสำคัญคือ การได้พัฒนากระบวนการทางปัญญาให้เกิดขึ้น...นั่นเอง

...

 

โห เห็นภาพของกระบวนการชัดเจนมากเลยค่ะ ว่าลดปัญหาและการสิ้นเปลืองได้เช่นนี้เอง

ก้าวต่อไปตราบชีวิตสุด

ดุจกระแสชล

เป็นกำลังใจให้คุณ

เป็นกำลังใจให้เธอ...........

สุดยอดจิงๆค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท