๒๐๕.ทรัพย์ที่ท่านให้แม้ค่าน้อย อาจค่อยๆ ยิ่งใหญ่ในวิกฤติเช่นนี้


แม้ประเด็นที่สองไม่ได้รับการตอบสนอง แต่ประเด็นแรกที่ผู้เขียนเสนอไป ได้รับการตอบรับ ก็นับว่าได้ผลและเป็นกาละที่เหมาะสม เร่งด่วน ที่ชาวไทยทุกคน จะได้ร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างทันท่วงที แสดงให้เห็นถึงน้ำใจคนไทยที่มีต่อกันอย่างไม่ขาดสาย

    

      วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาทางจังหวัดพะเยา โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ได้เรียกคณะกรรมการจัดงานโครงการส่งเสริมการตักบาตรเทโวโรหณะ เฉลิมพระเกียรติ (๗ รอบ) ขึ้นในวันที่ ๑๓ ตุลาคมที่จะถึงนี้โดยมีคณะกรรมการ ๒ ฝ่ายคือฝ่ายสงฆ์และฝ่ายคฤหัสถ์ รวม ๓๓ รูป/คน  ณ หอไตรฯ วัดศรีโคมคำ ซึ่งประเด็นที่พูดกันวันนั้นคือ "กำหนดการ" จะเอาอย่างไร?

 

     การประชุมวันนั้น ผู้เขียนได้เสนอใน ๒ ประเด็นหลักคือ

 

          ประเด็นที่หนึ่ง การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เราจะนำผลของการดำเนินกิจกรรมไปช่วยแบ่งเบาภาระกิจของพี่น้องประชาชนผู้ประสบภาวะน้ำท่วมได้อย่างไร?

     ผลการประชุมที่ออกมา เป็นแนวทาง ดังนี้

 

  • ฝ่ายพระสงฆ์             

     ๑)เห็นควรเสนอประธานสงฆ์ในวันนั้นให้ขออนุญาตสงฆ์ให้นำข้าวสาร อาหารแห้งพร้อมด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคจากการได้มาจากบิณฑบาตเป็นมหาทานสู่มหาชนคนประสบภัยน้ำท่วม

     ๒)ให้มีการเทศน์ขอรับบริจาคช่วยผู้ประสบภัย

    ๓)ปฏิบัติตามกิจกรรมตามคำสั่งมหาเถรสมาคมที่ระดมทรัพยากรตามศักยภาพเข้าไปช่วยเหลือ  ฯลฯ

 

  • ฝ่ายคฤหัสถ์

     ๑)เห็นควรประสานงานเทศบาลเมืองพะเยาช่วยประกาศให้ประชาชนใส่บาตรด้วยข้าวสารอาหารแห้ง

     ๒)ให้มีการตั้งโต๊ะรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือ

     ๓)สโมสรโรตารี่พะเยาร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยาจัดดนตรีช่วยเหลือ   ฯลฯ

 

   การปฏิบัติภาระกิจอื่นใด ที่ป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ก็ขอให้ทุกภาคส่วนได้ช่วยเหลือกันอย่างเต็มความสามารถ

 

     ประเด็นที่สอง การจัดกิจกรรมตักบาตรเทโวโรหณะ มีแต่ตักบาตรข้าวปลาอาหาร แต่คนพะเยาน่าจะสร้างสรรค์หรือต่อยอดโดยการประดิษฐ์ประเพณีนี้ให้มีสีสันขึ้นมาใหม่ เช่น บางจังหวัดตักบาตรดอกไม้ บางพื้นที่ตักบาตรข้าวเหนียว เป็นต้น จนเป็นเอกลักษณะเฉพาะของคนพะเยาได้อย่างไร?

     มีคนเสนอเป็นตักบาตรหนังสือ เพื่อนำหนังสือไปมอบให้กับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีความต้องการและความจำเป็น

 

    เป็นที่น่าเสียดาย วัฒนธรรมจังหวัดบอกว่า เอาไว้โอกาสหน้าหรือให้เป็นประเพณีต่างหาก ทั้ง ๆ ที่มีสถานภาพและโอกาสที่จะปรับเปลี่ยน สร้างสรรให้มีให้เกิดขึ้นในยุคนี้... ก็ปล่อยวันเวลาผ่านไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง

 

     แม้ประเด็นที่สองไม่ได้รับการตอบสนอง แต่ประเด็นแรกที่ผู้เขียนเสนอไป ได้รับการตอบรับ ก็นับว่าได้ผลและเป็นกาละที่เหมาะสม เร่งด่วน ที่ชาวไทยทุกคน จะได้ร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างทันท่วงที แสดงให้เห็นถึงน้ำใจคนไทยที่มีต่อกันอย่างไม่ขาดสาย

    ข้อคิดในวันนี้ที่น่าสนใจคือ คนไทยมีความคิดดี ๆ มากมาย แต่การประยุกต์ใช้ยังใช้งานไม่ดีพอ การทำงานยังมีระบบหน้าตา ไม่เข้าใจในกระบวนการ-การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง และที่สำคัญระบบราชการยังถือว่าตนเองเป็นเจ้าของระบบ มากกว่าจะถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของ จึงทำให้หลายครั้งเราพลาดโอกาสดี ๆ ไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง

 

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 464488เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

นมัสการครับ

I read "...เป็นที่น่าเสียดาย วัฒนธรรมจังหวัดบอกว่า เอาไว้โอกาสหน้าหรือให้เป็นประเพณีต่างหาก ทั้ง ๆ ที่มีสถานภาพและโอกาสที่จะปรับเปลี่ยน สร้างสรรให้มีให้เกิดขึ้นในยุคนี้... ก็ปล่อยวันเวลาผ่านไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง..."

I think we have to take charge and do things ourselves, if we leave it to our cultural office, as we know a public service office hardly does anything for people, we would not go forward.

A little thought came to mind, had we added a word "red" here and there in the talk, the outcome could have been different. But on reflection --we have to lead--.

เจริญพรขอบคุณ-คุณโยม SR ที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น

ผู้เขียนเห็นด้วยในทัศนะของท่าน ดังนั้นราชการ ไม่ควรมองงานเพราะเป็นงานตามหน้าที่

แต่ควรมองงานเพื่อการสร้างสรรค์และโอกาสในการพัฒนามากกว่านี้

ท่านพระครูครับ

เมื่อเช้านี้ที่วัดผม พระ(ลูกวัด)ท่านเทศน์เรื่องปวารณาออกพรรษาและลองประชาสัมพันธ์รณรงค์พูดรวมไปถึงเรื่องอุทกภัยในขณะเทศน์นั้นด้วย โดยบอกว่าเดี่ยวเราน่าจะร่วมกันทำบุญใหญ่สักครั้ง โดยนำข้าวสารอาหารแห้งจากที่โยมจะตักบาตเทโวฯในวันพรุ่งนี้ แม้ไม่มากมายเพียงเล็กน้อย ที่โยมร่วมทำบุญ นำไปบริจาคให้พี่น้องที่ประสบภัยพิบัติ

ผมสังเกตว่าทั้งพระและโยมตามท่านไม่ทันครับ สังสัยจุดไม่ติดแน่เลย(ผมก็เสียดายโอกาสดีๆอย่างนี้เหมือนกัน) โอกาสอย่างนี้จะเรียกว่าทำงานเชิงรุกก็ได้นะผมว่า แต่ก็พลาดไปอีก

พระครูใบฎีกาเฉลิมพล

ครับอาจารย์ครับ คำว่าโอกาสหน้ามักจะทำลายโอกาสอันดีไป หรืออย่างน้อยก็ทำให้โอกาสดีๆเลื่อนออกไปไกล

สวัสดีครับ หลวงพ่อมาหาแล หลายกรณีเมื่อจุดแล้วไม่ติด

ผมใช้วิธีลุยไปข้างหน้าก่อนครับ เดี๋ยวกัลยาณธรรม เขาก็จะตามเองครับ

คือแบบว่า ทำเพื่อให้เขาเห็นแนวทางก่อนครับ เพราะบางครั้งคำพูดเป็นนามธรรม จับต้องสัมผัสไม่ได้ หลายครั้งต้องทำให้เป็นรูปธรรมให้เห็นชัดเจน..ครับ

สวัสดีพระครูใบฎีกาฯ บางครั้งเขาก็ตามความคิดเราไม่ทัน หรือ

เป็นเพราะไม่ได้พูดคุยกันมาก่อน บางครั้งก็แปลความหมายผิด หรือ

การนำเสนอของเราเองผิดพลาด ที่ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ หรือ หรือ หรือ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท