ใช้ AI_Appreciative Inquiry (สุนทรียสาธก)ไปสืบค้นที่มาการพร่องน้ำโดยเรือครั้งใหญ่ “ที่สุดในโลก”(1)


จากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบAI_Appreciative Inquiry (สุนทรียสาธก)ครั้งนี้ ทำให้ผมทราบว่า การพร่องน้ำแบบ"เรือดันน้ำ"ที่กำลังเป็นข่าวโด่งดังทั่วประเทศและกำลังดังไปนานาชาติด้วยนั้น เป็นภูมิปัญญาคนที่นี่ครับ ที่ตำบลทรงคนองและเครือข่ายผู้คนลุ่มแม่น้ำท่าจีน

ใช้ AI_Appreciative Inquiry (สุนทรียสาธก)สืบค้นที่มาของภูมิปัญญาการพร่องน้ำโดยเรือ จนกลายเป็นการพร่องน้ำโดยเรือครั้งใหญ่และใช้เรือมากที่สุด"ที่สุดในโลก"
11 ต.ค. 54 ผมรอลุ้นดูข่าว การพร่องน้ำโดยเรือเพื่อช่วยระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ว่ากันว่า จะใช้เรือมากถึง 1,000 ลำ ซึ่งเป็นการใช้เรือผันน้ำครั้งใหญ่ที่สุดในโลก และงานนี้ก็เช่นกัน กินเนสส์บุ๊คจะได้จดบันทึกสิ่งนี้ว่าจะเป็น การพร่องน้ำโดยเรือครั้งใหญ่และใช้เรือมากที่สุด"ที่สุดในโลก"ด้วย (ทราบในเวลาต่อมาว่าเลื่อนเป็นวันที่ 16 ต.ค. แล้ว)โดยวิธีการนี้กำลังเป็นความหวังของคนกรุงเทพ ที่จะทำให้รอดฟ้นจากวิกฤติน้ำท่วมในครั้งนี้ ผมอดตั้งคำถามไม่ได้ ว่ารัฐบาลได้ความคิดนี้มาจากไหน ก่อนหน้านี้ผมทราบมาก่อนว่าเครือข่ายรักษ์แม่น้ำท่าจีน เคยใช้วิธีการแบบนี้อย่างได้ผลมาก่อนแล้ว ………..

         

เมื่อวาน 10 ต.ค. 54 ผมอยู่ที่ศูนย์เรียนรู้ ชุมชนตำบลทรงคนอง อ.สามพราน จ.นครปฐม จัดเวทีความร่วมมือชุมชนท้องถิ่น ท้องถิ่น(อบต.) ท้องที่( กำนันผู้ใหญ่บ้าน) ชุมชน(สภาองค์กรชุมชน) รวมทั้งภาคีในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ว่าจะสร้างความร่วมมือรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนอย่างไร มีแกนนำของตำบลเข้าร่วมเวทีครบครับ ทั้งนายกชิน ประเสริฐมรรค นายกอบต.ทรงคนอง นายยุทธนา บุญทน ปลัด อบต. กำนันบุญสม ประเสริฐมรรค ผอ.สัมฤิทธิ์ เนตรประไพ ผู้อำนวยการโรงเรียน นางสุนี ขาวสำอาง หัวหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นายวิถี หลงสมบุญ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลทรงคนอง นางสุนา สร้อยเซียน ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบลทรงคนอง
................


กระบวนการที่ผมใช้จัดเวทีคือการฝึกให้มองสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคตเป็นสามแบบคือ

  • แบบที่หนึ่ง เลวร้ายสุดๆ
  • แบบที่สองเหตุการณ์ขนาดปี 38 และ 49
  • แบบที่สาม สถานการณ์มีปัญหาแต่ไม่มาก

แล้วพวกเราเครือข่ายความร่วมมือชุมชนท้องถิ่นตำบลทรงคนอง  เราจะเตรียมรับสถานการณ์อย่างไร
..........


การสร้างเรียนรู้อีกแบบคือการเรียนรู้สไตล์การทำงานของคนเป็นคน 4 แบบ คือ กระทิง เหยี่ยว หนูและหมี
ซึ่งในการทำงานร่วมกันในภาวะวิกฤตินั้น เราจะต้องเข้าใจสไตล์คนที่เป็นทีมงานเครือข่ายเราว่ามีหลายสไตล์ ทัศนะและข้อมูลของเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และข้อมูลราชการไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าจะเป็นแบบไหนกันแน่ แบบที่หนึ่ง เลวร้ายสุดๆ แบบที่สองเหตุการณ์ขนาดปี 38 และ 49 แบบที่สาม สถานการณ์มีปัญหาแต่ไม่มาก


แต่ก็มีข้อมูลหลายอย่างที่ทำให้เชื่อได้ว่าสถานการณ์น้ำครั้งนี้ไม่ปกติ แม้ทางราชการจะบอกว่า เอาตัวเมืองนครสวรรค์อยู่สุดท้ายก็เอาไม่อยู่ อยุธยา นิคมอุตสาสหรรม ศาลากลางจังหวัด(ศูนย์พักพิง)ก็สะท้อนถึงการตัดสินใจบนข้อมูลที่ผิดพลาด (คนเราผิดพลาดกันได้ให้อภัยครับ) ปทุมธานีด่านปราการสุดท้ายติดกับกรุงเทพ ก็เริ่มแตกแล้ว นนทบุรีเริ่มท่วมแล้ว

นั่นเป็นหนึ่งในเสียงสะท้อนจากเวที ครับ

ครับจากการแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นที่นครปฐมริมแม่น้ำท่าจีน  ทำให้ผมเริ่มเชื่อในสัญญาณที่เป็นข้อมูลบ่งบอกจากเวทีนี้ได้ว่าน้ำครั้งนี้ไม่ธรรมดา แม้ข้อมูลจากทางราชการทุกสำนักแจ้งว่า จะเอากรุงเทพไว้อยู่

แต่ผมกังวลมากต่อบ้านเมืองครับ ผมกังวลมากเกินไปหรือเปล่า
................

     

สุดท้ายได้จัดกระบวนการเรียนรู้แบบAI_Appreciative Inquiry (สุนทรียสาธก) ซึ่งเป็นกระบวนการค้นหาเรื่องราวที่ดีๆด้วยความชื่นชมยินดีว่าท่ามกลางปัญหาเราสามารถที่จะเรียนรู้ว่ายังมีสิ่งดีๆ เรื่องราวที่ดีๆเกิดขึ้นได้ ครับท่ามกลางปัญหาทุกปัญหาล้วนมีโอกาสดีๆเกิดขึ้นเสมอครับท่ามกลางความอัปยศอดสู ล้วนมีเรื่องราวที่ดีๆซ่อนอยู่


จากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบAI_Appreciative Inquiry (สุนทรียสาธก)ครั้งนี้ ทำให้ผมทราบว่า การพร่องน้ำแบบ"เรือดันน้ำ"ที่กำลังเป็นข่าวโด่งดังทั่วประเทศและกำลังดังไปนานาชาติด้วยนั้น เป็นภูมิปัญญาคนที่นี่ครับ ที่ตำบลทรงคนองและเครือข่ายผู้คนลุ่มแม่น้ำท่าจีน
ครับ

จากการค้นหาเรื่องราวที่ดีๆแบบAI ของพวกเขา ทำให้ทราบว่าเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำท่าจีน นครปฐม ได้เคยใช้การผลักดันน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบนี้มาก่อนหลายปีแล้วครับ อย่างน้อยก็เคยใช้มาก่อนตั้งแต่เมื่อเมื่อน้ำท่วมครั้ง ปี 26 38และ49 และกำลังใช้อยู่ในช่วงทุกวันนี้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

นายวิถี หลงสมบุญ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลทรงคนอง บอกว่าเครือข่ายรักษ์แม่น้ำท่าจีนได้เสนอวิธีการกระบวนการบริหารจัดการเป็นระบบในการใช้เรือดันน้ำ ให้กับรัฐบาลไปใช้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งรัฐบาลก็ได้ขานรับ จนกำลังจะทำให้เกิดปรากฎการณ์ใช้เรือ1,000 ลำ ในการผันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาครั้งนี้ ซึ่งงานนี้ กินเนสส์บุ๊คจะได้จดบันทึกสิ่งนี้ว่าเป็น การพร่องน้ำโดยเรือครั้งใหญ่และใช้เรือมากที่สุด"ที่สุดในโลก"ด้วย

…………
แต่เป็นที่น่าเสียดายครับ
นายวิถี หลงสมบุญ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลทรงคนอง ยังบอกต่ออีกว่า  พอเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นรักษ์แม่น้ำท่าจีน นครปฐม ซึ่งเป็นผู้เสนอวิธีการกระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบในการใช้เรือดันน้ำ นี้ ได้ขอความร่วมมือจากศูนย์มหัศจรรย์ ศปภ.ที่ดอนเมือง พวกเขาได้คำตอบกลับมาว่า ทางศุนย์ดอนเมืองมีแต่งบให้แม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น ไม่มีให้แม่น้ำน้ำท่าจีนครับ 
......

    

ครับผมฟังเรื่องราว แล้วอึ้งครับ ทั้งๆ ที่แม่น้ำท่าจีนก็มีส่วนช่วยพร่องน้ำลงทะเลได้เร็วเช่นกัน "เรือดันน้ำ" เป็นภูมิปัญญาคนลุ่มน้ำท่าจีน ที่พวกเขาเคยใช้ผลักดันน้ำเมื่อปี 26 38และ49

ครับกลุ่มเครือข่ายคนแม่น้ำท่าจีน โดยเฉพาะแถวย่าน บางระกำ บางเลน พวกเขาวางแผนจัดการเรื่องน้ำ จัดการแม้กระทั่งการเก็บเกี่ยวพืชผลเพื่อใช้พื้นที่ที่เก็บเกี่ยวแล้วเป็นแก้มลิง ผู้คนทั้งบางของเขาร่วมมือกัน ยอมให้พื้นที่ของตัวเองจมน้ำเพื่อให้ส่วนใหญ่รอด มีวิธีดันน้ำตามประสบการณ์ของเขา และพวกเขาก็ช่วยกันดูแลในระดับพื้นที่มาตลอด
ทั้งๆที่เขาดูแลตัวเองซึ่งช่วยแบ่งเบาการไล่น้ำจากเหนือได้ด้วยเช่นกัน กลับไม่สนใจ
ในครั้งนี้เมื่อพวกเขาทราบว่าจากการ โทร.ไปที่ศูนย์ที่ดอนเมืองขอให้ช่วยค่าน้ำมันเรือ แล้วได้คำตอบจากทีมของนายปลอดประสพบอกว่า ให้เฉพาะเรือที่มาช่วยดันน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น 

ดังนั้นเครือข่ายรักษ์แม่น้ำท่าจีนเขาจึงร่วมกับภาคีในท้องถิ่น  เปิด บ/ช ระดมทุนกันเองด้วยการขอบริจาคค่าน้ำมันกันในพื้นที่ครับ ซึ่งโรงงาน ภาคอุตสาหกรรมแถวนี้ก็ยินดีช่วยครับ  
นี่ครับเป็นตัวอย่างของการพึ่งตนเองในการจัดการกับปัญหา  ของชุมชนท้องถิ่นสองฝั่งแม่น้ำท่าจีนตั้งแต่สุพรรณฯ ยันมหาชัยก่อนออกทะเล ของเครือข่ายรักษ์แม่น้ำท่าจีน ซึ่งรวมถึงเครือข่ายความร่วมมือชุมชนท้องถิ่นตำบลทรงคนอง ก็เป็นส่วนร่วมสำคัญในการคิดค้นนวตกรรมการพึ่งพาตนเองอย่างมีศักดฺิ์ศรี ด้วยเช่นกันครับ
สนใจ รายละเอียด อ่านตอน 2 ครับ

หมายเลขบันทึก: 464443เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สภาองค์กรชุมชนที่จดแจ้งจัดตั้งแล้วควรมีเวทีแบบนี้ เพราะความรู้สึก ความทรงจำในการสนทนาจะยังคงอยู่เมื่อได้พบได้เจอกัน ณ ที่แห่งใดก็ยังนำเอาเรื่องราวนั้นมาสนทนากันต่อ ทำให้เกิดการพัฒนาในองค์กรขึ้นแบบมาจากข้างใน (จิต-ใจ)

ครับคุณสุนา

  • ผมเห็นด้วยครับสภาองค์กรชุมชนตำบลที่จดแจ้งจัดตั้งแล้วควรที่เน้นบทบาทการเป็นผู้ประสานงาน และเปิดเวทีความร่วมมือชุมชนท้องถิ่น ประสานพลังกันระหว่าง 
  1. ท้องถิ่น(อบต.หรือเทศบาล รวมฝ่ายบริหาร การเมืองและจนท.ของท้องถิ่น) 
  2. ท้องที่( กำนันผู้ใหญ่บ้าน) 
  3. ชุมชน(สภาองค์กรชุมชนและกลุ่มองค์กรชุมชนต่างๆ) 
  4. สถาบันชุมชน เช่น วัด โบสถ์ หรือ มัสยิด 
  5. รวมทั้งภาคีในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 
  6. ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน ผู้อาวุโสในท้องถิ่น ฯ
  • การที่จะพุดคุยประสานความร่วมมือกัน ตรงนี้สำคัญมากครับต้องค้นหาว่าอะไรทำให้เราคุยกันได้ อะไรทำให้เราร่วมมือกันได้
  • อีกอย่างสภาองค์กรชุมชนตำบล ควรมีเครื่องมือในการทำงานครับ เครื่องมือสุนทรียสนทนา สุนทรียสาธก แผนแม่บทชุมชนและการกำหนดเป้ามายและตัวชี้วัดความสุข เป็นเครื่องมือที่จำเป็น

ยอดเยี่ยมมากๆครับ เป็นอะไรที่น่าทึ่งนะครับคุณสุเทพ.

Ico48


ขอบคุณครับ อ.ดร.ภิญโญ
ผมได้วิทยายุทธและกำลังใจจาก อ.เต็มเปี่ยมเลยครับ 


*** น่าจะเป็นความหวังสุดท้ายของการช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตครั้งนี้ นะคะ....ขอให้ประสบผลสำเร็จนะคะ *** 


                
                                                                     

Ico48


ครับคุณครู อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด
ลุ้นหวังจะมีความหวังรอดพ้นนะครับ ขณะเดียวกันก็เสียใจกับพี่น้องจังหวัดอื่นๆที่รับน้ำแทนคนกรุงเทพเต็มๆ 

มีความหวัง ใช้กำลังปัญญาแก้ปัญหา
แค่ได้เห็นการแสดงความคิดเห็นเพื่อระดมความคิด

ก็ชื่นชมและนับถือน้ำใจกลุ่มรักษ์แม่น้ำท่าจีนกลุ่มนี้จริงๆ

Ico48


ขอบคุณคุณครู ป.1ครับ
ชื่นชมยินดีและนับถือน้ำใจ รวมทั้งประสบการณ์ ภูมิปัญญาตลอดจนผลงานเป็นที่ประจักษ์
ของเครือข่ายชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน ด้วยครับ

Ico48


สวัสดีครับคุณบีเวอร์ ไม่ได้ทักทายกันนาน
คืนนี้ ฝนลงที่กรุงเทพ อีกแล้วครับ
น่ากังวลครับ 

ขอบคุณค่ะ ชื่นชมแนวคิดเพื่อลงสู่การปฏิบัติเช่นนี้ พี่ใหญ่เองไม่เคยนิ่งนอนใจว่ากทม.จะรอดปลอดภัยจากน้ำท่วม แต่ติดตามการบริหารจัดการของทุกฝ่ายด้วยความสนใจ เห็นถึงความร่วมมือกันมากกว่าแต่ก่อน ซึ่งจะสร้างบทเรียนรู้ในการรับวิกฤตภัยในครั้งต่อไปค่ะ และสำหรับตัวเอง ได้เฝ้าระวังอย่างเต็มที่เช่นกัน

 สวัสดีค่ะ Ico48ขอชื่นชมและนับถือน้ำใจ รวมทั้งประสบการณ์ ภูมิปัญญาของเครือข่ายชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน...เป็นแบบอย่างการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพมาก... ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุณมากครับสำหรับการบอกเล่าภูมิปัญญาไทยที่ยอดเยี่ยม

Ico48


ยินดีครับ Dr.Pop
AI-สุนทรียสาธก...ยกเอาเรื่องดีๆมาเล่าขานครับ 

  • บทเรียนจากน้ำท่วมน่าน ปี ๔๙, ๕๔ ชัดเจนว่า "การจัดการตนเองของชุมชน ท้องถิ่น และการหนุนเสริมของหน่วยทหาร และอปท.ที่น้ำไม่ท่วม เป็นการจัดการที่มีประสิทธิภาพ"
  • การนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาจัดการตนเองสามารถช่วยเหลือในภาวะวิกฤตได้ เช่น พระสงฆ์นำเทียนจำนำพรรษามาทุบหล่อเป็นเทียนไขแจกชาวบ้านในช่วงไฟฟ้าดับ, การใช้เรือแข่งมาเป็นพาหนะช่วยเหลือคนในชุมชน, การเก็บข้าวของไว้ที่ขวั่น ขื่อ (ใต้หลังคาบ้าน), การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในลูกน้ำเต้า เป็นต้น
  • การกำหนดจุดปลอดภัยของชุมชนไว้ พร้อมกับการทำทะเบียนและแผนที่ของบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ ไว้ เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือก่อน
  • การจัดตั้งโครงครัว/ถุงยังชีพของชุมชนเอง และของอปท./องค์กรที่น้ำไม่ท่วมเข้ามาหนุนเสริมชุมชน แบบตาข่ายใยแมงมุม และล้อมรอบจากนอกเข้าใน
  • เป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ครับ
Ico48


ขอบคุณครับพี่ใหญ่
AI-สุนทรียสาธก ท่าน อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นท่านแรก
ที่แนะนำให้ผมศึกษาเรื่องAIนี้ครับ
ทุกๆพื้นที่ ทุกๆหนแห่งและทุกๆปัญหา ล้วนมีเรื่องราวดีๆ รอการค้นหา รอการค้นพบอยู่ครับ

Ico48


ขอบคุณครับ ดร.พจนา
ในลุ่มน้ำท่าจีน ในชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน มีเรื่องราวที่น่าชื่นชมยินดี
น่านำมาAI-สุนทียสาธก มากมายเลยครับ 

Ico48


ขอบคุณครับพ่อน้องซอมพอ
บทเรียนจากชุมชนเมืองน่า ชมรมฮักเมืองน่าน
ก็น่าสนใจครับ...ประทับใจทุกครั้งที่ได้ไปเมืองน่าน
ลมหนาวแรกคงมาถึงน่านแล้วนะครับ
มีความสุขกับบรรยากาศปลายฝนต้นหนาวที่เมืองน่านนะครับ
ผมสนับสนุนทิศทางการจัดการตัวเองและการจัดการร่วมกันของชุมชนท้องถิ่นเต็มที่ครับ

คนตัวเล็กๆนี่มีความรู้เอาตัวรอดมาได้ตั้งแต่นมนานแล้ว

รอคนรุ่นใหม่ไปเรียนรู้ ครานี้เจอหนัก คงมีความพร้อมที่จะไปเรียนรู้อดีตกันได้มากขึ้น

Ico48


นมัสการพระมหาแล
สุนทรียสาธก พกพาสิ่งที่ดีงาม
สุนทรียสาธก ค้นหา ค้นพบภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยความชื่นชมยินดี ครับ

สนับสนุนกองทุนผลักดันน้ำแม่น้ำท่าจีน ร่วมกับชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน
ได้ที่ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท