เครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู


สร้างเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ทั่วประเทศ

หลังจากที่มีตัวแทนแพทย์ วฟ.จากภาคต่างๆและประธานสมาคม วฟ.จำนวนประมาณ 10 คน ได้ประชุมร่วมกับคุณหมอประทีป รองเลขาฯสปสช. 2 รอบ ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้มีการเคลื่อนไหวดังนี้

1. ตั้งคณะทำงานแพทย์วฟ. รพศ./รพท. จำนวน 30 คน ภายใต้สมาคมวฟ.

2. จะจัดให้มีการประชุมสร้างเครือข่ายแพทย์วฟ.ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 27-28 ตค.2554 นี้

3. ร่วมพิจารณาแนวทางการทำ CBR และ SNAP สำหรับผู้พิการ/ผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ กับ สปสช.

คอยติดตามความคืบหน้าจากบล็อกนี้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 462828เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2011 07:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ประกาศรายชื่อคณะทำงานแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ดูได้ตาม link นี้

http://www.rehabmed.or.th/royal/rc_thai/file_attach/28Sep201109-AttachFile1317179589.pdf

วันนี้ประชุมเตรียมการประชุมสร้างเครือข่ายแพทย์วฟ. ที่ศูนย์สิรินธรฯ

ผู้เข้าร่วมประชุม ; พญ.ดารณี พญ.อุบลวรรณ นพ.สุธน และพญ.สุขจันทร์

ประเด็นที่จะต้องทำ

1. เตรียมรูปแบบกลางของการคิด P4P มอบหมายให้ พญ.ดวงจิตร เป็นแกนนำ

2. บทบาทและการทำงานของแพทย์วฟ.ระดับ รพศ.ไปจนถึงชุมชน นพ.สุธน เป็นแกนนำ

3. รูปแบบ SNAP ที่เหมาะสม โดยเชื่อมโยงกับโครงการนำร่องของ สปสช. ที่จะทำในปี 2555 พญ.วัชรา จาก สสพ. เป็นแกนนำ

4. บทบาทของศูนย์สิรินธรฯ น่าจะรวมถึงงานวิชาการ ระบบข้อมูลข่าวสาร มาตรฐานงานบริการระดับต่างๆ ฯลฯ โดยพญ.ดารณี

5. จัดประชุมวิชาการแพทย์วฟ.สังกัด สป. สมาคมวฟ. รับไป

6. จัดประชุมวิชาการแก่แพทย์ รพช. ให้มีแนวคิดเรื่องการฟื้นฟูผู้พิการ สมาคมวฟ.รับไป

เมื่อ 19 กย 2554 นี้ได้ไปเข้าร่วมสังเกตการณ์ประชุมเพื่อปรับแนวคิดการทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จัดโดยศูนย์สิรินธรฯ ที่โรงแรมริชมอนด์

ประทับใจการทำงานของคุณหมอธวัชชัย ใจคำวัง เป็น ผอ.( ที่เป็นหมอ วฟ. ) รพ.เวียงชัย จ.เชียงราย โดยคุณหมอให้โอกาสผู้พิการได้การฟื้นฟู เต็มที่ในโรงพยาบาล เพราะโดยส่วนใหญ่ผู้พิการไม่ได้รับโอกาสการฟื้นฟูเต็มที่ในโรงพยาบาล ด้วยเหตุผลว่าไม่มีเตียง และโรงพยาบาลโดยทั่วไปเป็น acute care hospital การจะร้องขอให้แบ่งเตียงเพื่อฟื้นฟูใน subacute care จึงทำได้ยาก แต่จริงๆแล้วคงมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น

1. แพทย์ วฟ.ต้องมีความจริงใจและจริงจังในการที่อยากให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูจริงๆ นั่นหมายถึงว่าแพทย์ต้องมีความรับผิดชอบและเพิ่มภาระในการดูแลผู้ป่วยในเพิ่มขึ้น จิตสำนึกแบบนี้มีความสำคัญยิ่ง

2. แพทย์ วฟ.ต้องมีลักษณะเป็นผู้นำและต่อสู้ให้ได้มาซึ่งความถูกต้อง ต้องมีความมั่นใจในวิชาชีพและกล้าที่จะเปิดมิติหรือแนวคิดใหม่ๆ เช่นกล้าที่จะไปพูดกับ ผอ. หรือหัวหน้าแผนกอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ว่าต้องการเตียงเพื่อให้คนไข้ที่มีโอกาสดีขึ้นจากการฟื้นฟูสภาพ

และที่สำคัญทีมฟื้นฟูจะต้องเข้มแข็งและช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

3. ถ้าได้ ผอ.ที่สนับสนุนเรื่องการฟื้นฟู ก็ถือว่าโชคดี

4. ผู้ป่วยที่ได้รับ best practice แล้วบรรลุประสิทธิผล จะช่วยเป็นแรงผลักดันและให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานได้ดีเช่นกัน

จริงๆแล้วจะให้งานฟื้นฟูโดดเด่นได้ในเนื้องานต้องมีคุณสมบัติข้อแรกนี่แหละ ต้องมีใจรักที่จะทำและหัวใจเกิน 100 เพราะอุปสรรคต่างๆรออยู่ข้างหน้ามากมาย แต่ขอเอาใจช่วยค่ะ

  • คุณหมอครับ
  • ตามมาเชียร์แพทย์และการจัดตั้ง
  • เครือข่ายแพทย์วฟ.ทั่วประเทศ

ขอบคุณค่ะ อ.ขจิต กรุณาให้คำแนะนำด้วยนะคะ

การประชุมสร้างเครือข่ายแพทย์วฟ.ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 27-28 ตค.2554 นี้ได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากสภาวะน้ำท่วม กทม.และปริมณฑล

คุยกับคุณหมอดารณีเช้านี้บอกว่า ทางศูนย์สิริสธรฯกำลังทำแนวทางการเคลื่อนย้ายผู้พิการเมื่อประสบปัญหาน้ำท่วม

เลื่อนการประชุมสร้างเครือข่ายแพทย์วฟ.ทั่วประเทศ เป็น วันที่ 16-17 มกราคม 2555 ที่โรงแรมริชมอนด์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท