กลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ


นักวิจัยที่ดีอย่าเน้นการสร้างภาพ ให้เน้นการสร้างรูปแบบที่เหมาะสมกับชาวบ้าน ชักชวนให้ชาวบ้าน ชุมชนริเริ่มทำกิจกรรมที่สร้างเศรษฐกิจ สังคมที่พอเพียง ยั่งยืนและต่อเนื่อง ด้วยการเรียนรู้ สร้างความรู้ จัดการความรู้ด้วยตนเอง

             จากที่ได้กล่าวถึงเรื่องกลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ มาแล้ว  5 ข้อ วันนี้ขอเพิ่มเติมประเด็นสำคัญของกลยุทธ์อีก 5 ข้อ ที่สำคัญมากที่จะละเลยไม่ได้

             6. มุ่งทำความเข้าใจพลวัตของปรากฏการณ์ที่ศึกษา  ทำความเข้าใจกระบวนการของสิ่งที่ศึกษา มองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในระดับบุคคล กลุ่ม องค์กรหรือในระดับวัฒนธรรมก็ตาม

             7. ให้ความสำคัญแก่กรณีที่มีลักษณะเฉพาะ  ถือว่าแต่ละกรณี (คน เหตุการณ์) มีความสำคัญ ทำการศึกษาเฉพาะกรณีอย่างดีในเบื้องต้น แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีเหล่านั้น เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทั้งหมด

             8. ให้ความสำคัญกับบริบทของสิ่งที่ศึกษา ตีความข้อค้นพบบนพื้นฐานทางสังคม ประวัติศาสตร์ และเงื่อนไขเวลาและสถานที่ มองว่าการนำข้อค้นพบไปปรับใช้ในบริบทอื่นที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะอาจมีความเป็นไปได้น้อย

             9. มีการออกแบบวิจัยที่ยืดหยุ่น  เปิดกว้างสำหรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อสามารถลงลึกให้ได้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการออกแบบที่มีโครงสร้างเข้มงวด ซึ่งจะไม่ให้โอกาสติดตาม เจาะลึก และค้นหาสิ่งใหม่ ๆ  ที่อาจเกิดขึ้นในขณะเก็บข้อมูล

            10. ใช้เครื่องมือในการงวิจัยหลากหลาย แต่นักวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในกระบวนการวิจัย ธรรมชาติของเครื่องมือสำหรับรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ไม่มีโครงสร้างที่เคร่งครัด สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมกับแหล่งข้อมูลและสถานการณ์ จึงขึ้นอยู่กับนักวิจัยผู้ใช้วิธีการอย่างมาก นักวิจัยต้องแม่นในหลักการของเครื่องมือที่ใช้และมีทักษะในการใช้เครื่องมือนั้นๆ อย่างเพียงพอ

            นอกจากนี้ดิฉันมองว่าการเป็นนักวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องเข้าไปทำวิจัยร่วมกับชุมชนนั้นจะต้องเข้าใจควารมละเอียดอ่อนและธรรมชาติของชาวบ้านและความรู้ที่ได้ ใครได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ หรือมีผลมาจากอะไรบ้าง โดยเฉพาะผู้ถูกวิจัย(ผู้มีส่วนร่วม)

           ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 45918เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อย่าดีแต่พูดนะ ทำให้เป็นด้วย จึงจะเรียกว่านักศึกษา ไม่งั้นจะเป็นแค่นักเรียน (รู้เฉยๆ) หรือ แย่กว่านั้นคือ นักเลียน(แบบ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท