เรียนรู้เรื่องครุลหุ จากชื่อ-สกุลและเพลงในความสนใจของนักเรียน


                ในการเรียนบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา  นักเรียนต้องรู้จักคำประพันธ์ประเภทฉันท์  ต้องอ่านออกเสียงได้ถูกต้องตามลักษณะคำประพันธ์  ซึ่งหมายถึงนักเรียนต้องรู้จัก ครุ (  ั )   และ ลหุ  ( ) เพื่อให้นักเรียนได้เห็นว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก  จึงนำสิ่งใกล้ตัวนักเรียนมาเป็นสื่อ โดยเริ่มจากการอธิบายความหมายของ ครุ  และ ลหุ ให้นักเรียนได้เข้าใจก่อน

 

 

ครุ ๒

[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก

 

ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระ

 

อำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์

 

ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย   ั  แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้

 

เครื่องหมาย  ุ  แทน.

 

ลหุ

[ละ–] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง

 

พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียง

 

สั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ( )  แทน, คู่กับ

 

ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย   ั   แทน.

 

 

                ลำดับต่อมา  ให้นักเรียนเขียนชื่อสกุล   ขณะเดียวกันครูก็เขียนชื่อ-สกุลของครูบนกระดาน แล้วใส่เครื่องหมาย  ครุลหุ  โดยอธิบายทีละพยางค์
      ภาทิพ  ศรีสุทธิ์   ภา  สระเสียงยาว ครุ   ทิพ  แม่กบ  ครุ   ศรี สระเสียงยาว ครุ  สุทธิ์ แม่กด  ครุ
จากตัวอย่างการใส่ครุลหุที่ชื่อ-สกุลของครูบนกระดาน  นักเรียนก็ใส่เครื่องหมาย ครุ ลหุที่ชื่อ-สกุลของตัวเอง
 
              ต่อจากนั้น   ครูเขียนเนื้อหาเพลงที่ครูชอบ ๑ วรรค บนกระดาน   และให้นักเรียนเขียนเพลงที่ตัวเองชอบ ๑  วรรคลงสมุด
                เนื้อเพลงที่ครูชอบ
“เธอ... นั้นเป็นเสมือนดวงดาว ที่คอยส่องแสงพร่างพราว ชัดเจนสว่างไม่จางหายไป”
จากเพลง ครูก็อธิบายทีละพยางค์พร้อมใส่เครื่องหมายกำกับใต้พยางค์นั้น
เธอ  สระเออเสียง ยาว ครุ 
นั้น แม่กน  ครุ   เป็น  แม่กน ครุ
สะ  สระเสียงสั้น ลหุ  เหมือน แม่กน ครุ   
อธิบายและทำเครื่องหมาย ครุ  ลหุ  กำกับ  จนจบวรรค
 
                หลังจากนั้น  ก็ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย ครุ  ลหุ  ใต้ เนื้อเพลงของตนเอง 
นักเรียนจะนั่งทำอย่างมีความสุข   เมื่อใครเสร็จก่อน  ครูก็เดินไปตรวจ  พร้อมสนทนา
สอบถามที่มาของเพลง ใครร้อง  ทำไมถึงชอบ ....    หากพบว่าของใครใส่เครื่องหมายไม่ถูกต้องก็อธิบาย ยกตัวอย่างเพิ่มเติม
 
                บรรยากาศชั่วโมงนี้เป็นไปอย่างมีความสุข
ขอบคุณภาพจากhttp://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/papaya/picture/00059_1.jpg
หมายเลขบันทึก: 458704เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2012 08:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

พร้อมกับมาเรียนมารู้้ด้วยคนนะคะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ^^

สวัสดีค่ะ หนู

Ico48

 

ขอให้มีความสุขกับการท่องบล็อก นะคะ  ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

สวัสดีครับครูภาทิพ

ภาษาไทยในวัด เขาสอนกันตามธรรมชาติ......

พุ ตีนเซ่อ

พู ตีนทบ

ด เปลา

เด เสียบหนึ่ง

แด เสียบสอง

ดา ลากหลัง.......(จากเด็กวัด สองสี่แปดห้า)ที่ได้ไปนั่งคุย)

สวัสดีค่ะ ท่าน วอญ่า

พุ ตีนเซ่อ

พู ตีนทบ

พอเข้าใจ  แต่ตัวอื่น ๆ ไม่เข้าใจค่ะ    ขอบคุณที่นำความรู้ ปี ๒๔๘๕  มาให้ทราบค่ะ

ขอบคุณค่ะ มาทบทวนความรู้ภาษาไทยน่าใช้ค่ะ

  • ดีจังเลยพี่ครู
  • ได้เรียนรู้แบบมีความสุข
  • ได้หลักภาษาด้วย
  • เอามาฝาก
  • สอนเสร็จแล้ว
  • http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/458673

สวัสดีค่ะ  พี่ใหญ่

Ico48

  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ
  • ไปชื่นชมกิจกรรมดี ๆ ของพี่ใหญ่มาแล้ว ชอบกิจกรรม แบ่งแรงแปลงสวนมากค่ะ

 

สวัสดีค่ะ ดร.ขจิต 

Ico48 

ดีใจด้วยค่ะที่มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วบ้านทั่วเมือง

และสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ อย่างต่อเนื่อง

แวะมาสวัสดีพี่จุ๋ม...

สบายดีมั๊ยเอ่ย....

สวัสดีค่ะน้องอุ้มบุญ

  • ขอโทษด้วยค่ะ ที่เพิ่งมาทักทาย  เพราะเข้ามาแว้บ ๆ แล้วออกไป
  • ช่วงนี้กำลังเห่อชมต้นไม้ค่ะ   ไปชมต้นไม้ตามร้าน 
  • และชมสับปะรดสีที่บ้านเพื่อน เข้าบ้านสามทุ่มกว่า
  • ก็นอนพอดี
  • ขอบคุณที่ระลึกถึงค่ะ 
  • ระลึกถึงเสมอ
  • อีกสักสองเดือนคงพร้อมต้อนรับน้อง ๆ ที่มาเยือนสุราษฎร์ธานี 

สวัสดีค่ะพี่ครูภาทิพ

  • ดีจัง ได้กลับมาเป็นนักเรียนอีกรอบ
  • คิดถึงเสมอนะคะ

สวัสดีค่ะคุณยาย   ขอบคุณที่แวะมา ค่ะ

Ico48 

    ช่วงนี้พี่ยุ่ง ๆ ก็เลยไม่ได้แวะไปตามบันทึกต่างๆ 

สัปดาห์หน้า น่าจะพอมีเวลา ไปแวะอ่านบันทึกต่างๆ

ระลึกถึงเช่นกันค่ะ

หายไปนานนะคะ...คิดถึงค่ะพี่

 

สวัสดีค่ะ คุณครูภาทิพ ไม่ได้แวะมาเสียนาน แต่ก็เป็นกำลังใจให้อยู่เสมอนะคะ แม่ย่า

สวัสดีค่ะ แม่ย่า  และน้องอุ้มบุญ 

ครูภาทิพเอง ก็ไม่ค่อยได้มาเพิ่มเติมข้อมูลเลยค่ะ

ดีใจที่แม่ย่า ยังแวะเวียนอยู่แถวๆ นี้ ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท