เรื่องเล่าของปราชญ์ชาวบ้าน


ห้างสรรพสินค้า ก็อยู่ในบริเวณบ้านนั่นเอง จะกินปลา จะกินไข่ หรือกบ หน่อไม้ ผักตำลึง ผักกาด ต้นหอมผักชี เห็ดชนิดต่างๆ มะละกอ ข้าวโพด เรียกว่าชอบใจอะไรก็ปลุกอย่างนั้น สักสองสามเดือนก็ได้กินแล้ว

อันที่จริงเรื่องของชาวบ้านที่ไม่ธรรมดามีอีกมากมายที่แม่ต้อยอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง  เรื่องราวเหล่านี้เริ่มจากการที่สรพ.ได้ทดลองนำเครื่องมือ ที่เรียกว่า  Out come mapping  เข้ามาใช้ในโครงการ SHA เมื่อสักสองปีที่แล้ว

แต่เอาเข้าจริงๆ บางครั้งเครื่องมือต่างๆก็อาจจะแข็งจนเกินไป สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ เราเพียงนำเอาแนวคิดนั้นมาไตร่ตรองว่า เครื่องมือแต่ละอย่างที่เขาออกแบบมา( ฝรั่ง) นั้นเป้าหมายคืออะไร  อย่าง out come mapping นั้นก็เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนที่เราต้องการทำงานด้วยให้เป็นไปในสิ่งที่ถูกต้องหรือเพื่อสร้างความร่วมมือ เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกัน

เมื่อลงในพื้นที่จริงๆ พบว่าหลายๆรพ.ได้สร้างการเรียนรู้กับชาวบ้านอย่างธรรมชาติ ให้ประชาชนขับเคลื่อนในสิ่งที่เขาทำได้ และให้เป็นผู้”นำ” ในเรื่องนั้นๆเอง

เช่น แม่ต้อยมีโอกาสไปที่บ้านพ่อถาวร ตำบลคำปลาหลาย อำเภออุบลรัตน์ ในคราวนั้น มีน้องๆจากรพ.หลายๆแห่งไปร่วมเรียนรู้ด้วย

ที่บ้านพ่อถาวร ร่มรื่น ด้วยคูน้ำ ป่าไผ่ มีบ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกบ มีไก่ มีไข่ไก่ มีผัดพื้นบ้านทุกอย่าง รวมทั้งผลไม้ด้วย

จนแม่ต้อยมีความรู้สึกว่าเราอยู่บ้านพ่อถาวรได้ เป็นปี โดยไม่ต้องใช้เงินมาก  หรืออาจจะไม่ต้องใช้เงินเลย

ห้างสรรพสินค้า ก็อยู่ในบริเวณบ้านนั่นเอง จะกินปลา จะกินไข่ หรือกบ หน่อไม้ ผักตำลึง ผักกาด ต้นหอมผักชี เห็ดชนิดต่างๆ มะละกอ ข้าวโพด เรียกว่าชอบใจอะไรก็ปลุกอย่างนั้น สักสองสามเดือนก็ได้กินแล้ว

วันที่เราไปนั้น พ่อถาวรทำข้าวต้มหม้อใหญ่รอรับพวกเรา มีชาวบ้านมาช่วยกันอย่างสนุกสนาน มีการปิ้งข้าวจี่หอมๆร้อนๆ เคลือบด้วยไข่และเกลือ หอมๆมันๆ แจกจ่ายให้ทุกคน

พ่อถาวรนั้นเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านมาก่อน ผู้คนจึงให้ความนับถือเกรงใจ

“ แต่ก่อนผม กินเหล้า ครับ หาเงินมาก็หมด เป็นโรคเบาหวานด้วย เดี๋ยวก็ไปหาหมอ ๆ จนเบื่อ ไปทำงานที่ชลบุรี  เงินก็หมดกับเรื่องเหล่านี้ครับ”

ตอนหลังหมอที่รพ.ก็มาพูดคุยเรื่อง สุขภาพและแนะนำว่าให้ผมลองทำเกษตรแบบประณีต คือทำทุกอย่างผสมผสานกันไป เราขาดสิ่งใด เราก็ปลูกสิ่งนั้นขึ้นมา งดเหล้า  เลิกบุหรี่

“แรกๆผมก็ไม่เชื่อ แต่ก็ลองเริ่มทำทีละนิด รู้สึกว่าได้ผล ตรงที่ว่าเราเก็บเงินได้ รายจ่ายลดลง  ร่างกายแข็งแรงขึ้น  ลุกหลานก็ได้มีอาหารกิน ไม่ต้องไปหาเงินมาซื้ออีกที  ทำไปทำมาเหลือกินเหลือใช้เอาไปขายได้เงินมาอีก  ไม่ต้องออกไปหาเงินที่ไหน”

“เราจะได้มาอยู่ร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่แบบเมื่อก่อน   ตอนนี้ลูกหลานบ้านผมกลับมาอยู่ร่วมกันแล้ว อบอุ่นดีครับ”

“เดี๋ยวนี้ปีหนึ่งผมไปรพ.แค่สองครั้ง ไปตรวจร่างกาย นี่ผมยังเป็นเบาหวานอยู่นะ แต่ควบคุมได้ “

ส่วนปราชญ์ชาวบ้านอีกท่านหนึ่ง คือพ่อคำเดื่อง  ภาษี  นั้น แม่ต้อยยังไม่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมบ้านท่านเลย แต่ตั้งใจว่าต้องมีสักวันที่จะได้เข้าไปเรียนรู้  แต่แค่ได้นั่งพุดคุยกับท่านก็สนุกและเห็นภาพแล้ว

“ ที่บ้านผมตอนนี้ต้นไม้มาก ไม่เคยตัด เฉพาะต้นยางนาก็น่าจะหมื่นกว่าต้น “(ว้าววว)

คุณหมออภิสิทธิ์  ผอ.รพ.อุบลรัตน์ เล่าให้แม่ต้อยฟังว่า

“ บ้านพ่อคำเดื่อง  อากาศ เย็นสบาย เพราะอุดมไปด้วยต้นไม้ มีเห็ดหลากหลายชนิด ออกตามฤดูกาล กลางคืนจะมีหิ่งห้อยออกมาให้เราเห็น..”

ในทุกเวทีของการเสวนา พ่อคำเดื่อง จะชวนให้พวกเรารักต้นไม้ และช่วยกันปลูกต้นไม้เสมอ

“ บางคนถามผมว่า ต้นไม้นี่อายุเท่าไหร่ พอรู้ก็บอกว่าไม่เอาแล้ว กลัวตายก่อนไม่ทันเห็น..”

ผมว่าเรื่องตายกับเรื่องปลูกต้นไม้นี่มันไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันนะ..(ฮา)  ทำไมเราจะปลูกให้ลูกหลานไม่ได้หรือ..?

พ่อคำเดื่อง มีเทคนิคในการสร้างแรงจูงใจสูงมาก ในการทำให้คนคิดตามได้อย่างดี

“ ผมจะถามทุกคนนะครับว่า สมมุติว่าในงานแต่งงาน เมื่อทำพิธีแต่งงานเสร็จเรียบร้อย ก่อนจะเข้าหอ...”( แอ่น..แอ้น..)

แต่ก่อนเข้าหอ ผู้ใหญ่จะเตรียมต้นไม้สัก๔๐ ต้นให้เจ้าบ่าว และเจ้าสาว ช่วยกันปลูก  โดยทางผู้ใหญ่จะเตรียมอุปกรณ์ ต่างๆให้พร้อม..
ทีนี้ผมจะถามนะครับว่า ปลุกต้นไม้ ๔๐ ต้นจะใช้เวลา กี่นาที..

ถามผู้ชายก่อน   แม่ต้อยจำได้ว่ามีคนยกมือที่จะตอบมากมายแต่มีเสียงหนึ่งดังขึ้นมาชัดเจน

“ ๑๐ นาทีครับ” แม่ต้อยหันไปดูเจ้าของเสียงอันดังนั้น  ไม่ใช่ใครที่ไหน คุณหมอโกมาตร นั่นเอง ( ๑๐ นาทีนี่  แม่ต้อยสงสับว่าจะปลูกกลับหัว กลับหาง อิอิ ไม่รู้จะรีบไปไหน )

“ ๓ นาทีคะ” (  ฝ่ายหญิงแถวหน้า ทำลายสถิติเดิม ( ฮ่าๆๆ  ฝ่ายหญิงรีบยิ่งกว่า  )

พ่อคำเดื่องเฉลยต่อ จะปลูกกี่นาทีก็ไม่ว่า ขออย่าให้ต้นไม้ตายก็แล้วกัน..

เวลาผ่านไป ๒๐ ปี เจ้าบ่าวเจ้าสาว ก็ได้ลูก ๒ คน  และมีต้นไม้สักขนาดกำลังดีอีก ๔๐ ต้น

ลูกสองคนนี้ในวัย ๒๐ ปี เราสามารถให้เขาปลูกบ้านของเขาเองด้วยไม้สักทั้งหลัง  และไม่ต้องไปอาศัยบ้านเอื้ออาทรของใคร...

นี่คือวิธีคิดของชาวบ้าน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รู้ อย่างแท้จริง

และในสไลดิ์ที่นำมาประกอบการเสวนา เรายังได้เห็นคอกหมูของพ่อคำเดื่องที่ทำจากไม้สักทั้งหลัง  เล่นเอาคนๆ อย่างเราแอบอิจฉาไม่ได้

ความคิดเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราสามารถเรียนรู้ได้จากคนใกล้ตัว คนในชุมชน และนำมาประยุกต์ใช้ได้ในการทำงาน ในการดำรงตน และในการอยู่ในสังคมร่วมกัน

มีเรื่องราวอีกมากมายที่แม่ต้อยจะหาเวลาและดอกาสมาเล่าสุ่กันฟังในโอกาสต่อไปคะ

สวัสดีคะ

 

 



 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาวะ
หมายเลขบันทึก: 458054เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

แม่ต้อยคะ

เรื่องนี้ชัดเจนมากมายกับการเกื้อกูลของคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่สอนวิธีคิดในการดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน นั่นคือ อาศัยธรรมชาติอย่างเนียนไปกับชีวิต หากทุกบ้านปลูกต้นไม้เตรียมไว้ และรอการเติบโตเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตเช่นนี้ คำว่าต้นไม้หมดไปจากป่าคงจะแทบไม่มีเลยนะค่ะ

อยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการดำรงชีวิตแบบนี้จังเลยค่ะ

ขอบคุณแม่ต้อยมากๆ นะค่ะ ที่นำเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันค่ะ ^^

สวัสดีครับแม่ต้อย แวะมาส่งข่าวว่า รพ. ปากพะยูน ขอACCในปีนี้ด้วย

ต้นไม้นี้ มีแต่ให้ ขอบคุณค่ะแม่ต้อย

สบายดีนะคะ หายเงียบไปเดินสายแถวไหนเอ่ยคะ

ส่งกำลังใจ ปลอดภัย และสุขสันต์ทุกเส้นทางเจ้า

Ico48

สวัสดีคะ

แม่ต้อยชอบจริงๆคะ เรื่องการอยู่กับธรรมชาติ  คุยกับปราชญ์ชาวบ้าน จนเปลี่ยนเป้าหมายชีวิตของเราได้คะ  อยากไปปลุกป่าแล้วคะ

Ico48

สวัสดีคะ

เก่งจัง ปากพะยูนสู้ๆๆๆ คะ

 

Ico48

สวัสดีคะ

แม่ต้อยห่างจากการเขียนบล้อกไปนานพอสมควรคะ เพราะว่าในระยะหลังเริ่มพบว่าสายตาไม่ค่อยดีคะ

และไปต่างจังหวัดด้วยคะ

มาเรียนรู้และให้กำลังใจคะ

ขอบคุณเรื่องเล่าเร้าพลังในเช้านี้ค่ะแม่ต้อย

มาคารวะแม่พี่ต้อย จะมาประชุมกับพี่ว้นที่ ๑๓ ตุลาคม ที่ HACC_MD_KKU นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท