ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของการทำ Benchmarking (Preparation Stage)


ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของการทำ Benchmarking (Preparation Stage)

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของการทำ Benchmarking ประกอบไปด้วย
                - ความมุ่งมั่นจริงจังของผู้บริหารระดับสูงและการสนับสนุนในเรื่องทรัพยากร
                - การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบระดับสูง
                - การให้การฝึกอบรมผู้ที่เกี่ยวข้อง
                - การเลือกวิธีการการทำ Benchmarking (เดี่ยวหรือกลุ่ม)
                - ความพร้อมของทีมงานรวมถึงความเข้าใจและปฏิบัติตามจรรยาบรรณของการทำ Benchmarking (Code of Conduct)
                - การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร

ความมุ่งมั่นจริงจังของผู้บริหารระดับสูงและการสนับสนุนในเรื่องทรัพยากร
                - ผู้บริหารต้องมีความมุ่งมั่นและเอาจริงในการนำ Benchmarking มาปรับปรุงองค์กร มีการให้นโยบายที่ชัดเจน การติดตามผลอย่างใกล้ชิด การช่วยแก้ปัญหา/อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
                - ผู้บริหารให้การสนับสนุนในเรื่องทรัพยากร
                - การทำ Benchmarking ต้องใช้ปัจจัยทั้งในด้านกำลังเงิน คน และเวลาในการทำกิจกรรม ผู้บริหารต้องสามารถจัดสรรทรัพยากรดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างเพียงพอ

การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบระดับสูง
                - มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบระดับสูง (Benchmarking Sponsor) ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของทีม กำกับดูแล และให้ความช่วยเหลือแก่ทีม และประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและทีมทำงานในการรายงานความคืบหน้าของผลการทำงานเป็นระยะ ๆ
                - การให้การฝึกอบรมผู้ที่เกี่ยวข้อง
                - เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินงานภายใต้กรอบความเข้าใจและทิศทางเดียวกัน

การเลือกวิธีการการทำ Benchmarking (เดี่ยวหรือกลุ่ม)
                - หากเป็นแบบกลุ่มต้องเข้าไปรวมกลุ่มกับองค์กรอื่น หากเป็นแบบเดี่ยวก็ต้องวางแผนว่าจะเริ่มต้นดำเนินการอย่างไร
                - ความพร้อมของทีมงานรวมถึงความเข้าใจเข้าใจและปฏิบัติตามจรรยาบรรณของการทำBenchmarking (Code of Conduct)
                - เป็นการพิจารณาว่าบุคลากรมีความพร้อมมากน้อยเพียงไร มีการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่เสียก่อน
                - ทีมงาน Benchmarking ควรทำความเข้าใจศึกษาถึงจรรยาบรรณของการทำ Benchmarking ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการปฏิบัติ

การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร
                - เป็นการให้ความรู้และเน้นย้ำประเด็นสำคัญว่าทำไมต้องทำ Benchmarking องค์กรและพนักงานจะได้ประโยชน์อย่างไร และเป็นการสร้างความรู้สึกของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้น

หมายเลขบันทึก: 456484เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2011 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท