เวทีเรียนรู้ “ครูเพื่อศิษย์” เรื่องเล่ากระบวนการเรียนรู้ในบทบาทวิทยากร


ด้วยหลักการคร่าวๆของการเปิดเวทีในครั้งนี้บนพื้นฐานความเชื่อว่า ครูดีๆ ครูเพื่อศิษย์มีอยู่มากมาย หากเราสามารถชักชวนครูดีๆเหล่านั้นท่านมารวมตัว สร้างเป็นเครือข่ายแนวราบอีกวิธีหนึ่ง จุดหมายจำเพาะที่อยากให้เกิดก็คือ “ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์” (Professional learning Communities) ด้วยความเป็นเครือข่ายจะช่วยให้ครูมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมไปถึงสร้างความรู้ใหม่ๆ โดยไม่ต้องรอการเปลี่ยนแปลงของนโยบายที่ผันผวนเอาแน่เอานอนไม่ได้ ที่สำคัญนโยบายการศึกษาใหม่ๆไม่ได้สอดคล้องกับวิถีการสร้างคนอย่างแท้จริง


เวที 21st Century Skills กับการปฏิรูปการศึกษา ด้วยพลังการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์

ผมมีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องวงการของการศึกษาอีกครั้ง หลังจากที่ผมได้ทำงานที่ใช้วิธีสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับกลุ่มคนที่หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเน้นไปในทางการจัดการความรู้เสียมากกว่า

โอกาสของผมที่ได้เข้ามา ถือว่าเป็นเรื่องโชคดีเป็นอย่างยิ่ง ผมมองว่าการมีส่วนร่วมในครั้งนี้ เป็นประวัติศาสตร์ของการ kick off การศึกษาไทยท่ามกลางความไม่แน่ใจผลผลิตของระบบการศึกษา ที่นับวันไม่สามารถตอบสนองกับปัญหาที่ซับซ้อนมากมายได้ และที่เห็นชัดเจนก็คือ การศึกษาทำให้ผู้คนห่างไกลจากความรู้ที่เป็นความจริงพื้นฐาน และเป็นต้นทุนสำหรับโลกอนาคต แต่ทว่าการศึกษาพาผู้คนหลงทาง ฤาไกลเกินจะกู่กลับ

มีความพยายามในการกลับลำ และทบทวนความผิดพลาดครั้งนี้ โดยผ่านการศึกษาทางเลือก การศึกษาที่เน้นเอา “ความสุข” เป็นตัวตั้งในทุกกรณี พื้นฐานการคิดอยู่ที่ความพึงพอใจ บรรยากาศการเรียนรู้ และการพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพ เห็นความเป็น “บูรณาการ”ของโลกทั้งหมดที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน โดยเชื่อมโยงสถานการณ์สังคมที่เป็นจริง สร้างภูมิคุ้มกันและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆที่เป็นมิตร และมีพลัง

เวที 21st Century Skills กับการปฏิรูปการศึกษา ด้วยพลังการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ ครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการเข้ามามีส่วนร่วมขององค์กรที่สำคัญ อันได้แก่มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์ ที่มี นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เป็นเลขาธิการฯ และมี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ,มูลนิธิสยามกัมมาจล เป็นผู้ร่วมสนับสนุน

ด้วยหลักการคร่าวๆของการเปิดเวทีในครั้งนี้บนพื้นฐานความเชื่อว่า ครูดีๆ ครูเพื่อศิษย์มีอยู่มากมาย หากเราสามารถชักชวนครูดีๆเหล่านั้นท่านมารวมตัว สร้างเป็นเครือข่ายแนวราบอีกวิธีหนึ่ง จุดหมายจำเพาะที่อยากให้เกิดก็คือ “ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์” (Professional learning Communities) ด้วยความเป็นเครือข่ายจะช่วยให้ครูมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมไปถึงสร้างความรู้ใหม่ๆ โดยไม่ต้องรอการเปลี่ยนแปลงของนโยบายที่ผันผวนเอาแน่เอานอนไม่ได้ ที่สำคัญนโยบายการศึกษาใหม่ๆไม่ได้สอดคล้องกับวิถีการสร้างคนอย่างแท้จริง  

ในศตวรรษที่ 21 การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งเร็วและมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อน กระบวนการเรียนรู้แบบเดิมๆไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดนั้นได้ สังคมเปลี่ยน เด็กเปลี่ยน ทักษะที่ต้องการใช้ในการดำรงชีวิตก็เปลี่ยน กระบวนการเรียนการสอนแบบเดิมมีพลังน้อยลง บทบาทของครูจากผู้สอน จึงต้องเปลี่ยนไป “ต้องไม่เน้นสอน”  แต่มุ่งเน้นการออกแบบการเรียนรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL สร้างแรงบันดาลใจ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข มีทักษะการเป็น Facilitator เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับทักษะอนาคต 21st Century skills

 

อ้างอิงภาพจาก : Partnership for 21st Century Skills

ดังนี้เวทีนี้จึง ต้องการการรวมตัวของครูเพื่อศิษย์ที่ผ่านการสืบค้น มาสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ ของชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์(Professional Learning Community/PCL) ร่วมกันวิเคราะห์ทักษะอนาคตในศตวรรษที่ 21st ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่ผ่านมา พร้อมกับแลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ระหว่างครูเพื่อศิษย์ แต่การแลกเปลี่ยนในเวทีก็คิดว่าน่าจะได้ในระดับหนึ่ง สิ่งที่คาดหวังหลังจากเวทีจุดประกายนี้ก็คือ “เครือข่าย” นั่นเอง  ดังนั้นหลังจากเสร็จสิ้นเวทีเครือข่ายครูเพ่อศิษย์ยังคงเดินหน้าต่อ

ในบทบาทของผมในเวทีนี้ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ (Facilitator)ร่วมกับ คุณอ้อ และ อ.เอ็ม (มณฑล)  ทำการ BAR (Before Action Review) ก่อนหน้าเวทีมาเกือบเดือน และประสานงานผ่านทางการสื่อสารอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อม ถือว่า กระบวนการที่จะจัดขึ้นในช่วงสองวันที่กรุงเทพฯ กระบวนการต้องประณีตเพียงพอ รวมไปถึงต้องคลี่คลายโจทย์ที่ตั้งไว้ ทำให้บรรลุ การทำงานที่น่าสนใจของเวทีนี้คือ การแบ่งงานออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนของวิทยากรกระบวนการ (ที่ทำหน้าที่เอื้ออำนวยกระบวนการในเวที) และมีอีกส่วนที่สำคัญคือ ส่วนของกลุ่มสังเคราะห์งาน ที่นำโดย ครูวิมลศรี (ครูใหม่) จากโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่คอยสรุปบทเรียน พร้อมทั้งเชื่อมร้อย สังเคราะห์บทเรียนที่เกิดขึ้นในเวทีทั้งหมด ดังนั้นการสื่อสารของทีมทำงานจึงมีการประสานงานกันตลอดเวลา

ต้องขอชื่นชม คุณอ้อ ที่ได้ Mapping และคัดเลือกเป้าหมายมาได้เป็นอย่างดี กระจายทั่วประเทศ ส่วน อ.เอ็ม ก็ได้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในเวทีได้อย่างมืออาชีพ ผมเองก็ได้เรียนรู้ร่วมเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็น โอกาสที่ดีของผมอีกครั้งหนึ่ง ในส่วนของทีมครูใหม่ ยังไม่ได้คลุกคลีมากนัก แต่คิดว่า ข้อมูลที่ได้จากเวทีนี้คิดว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะผู้สังเคราะห์ สรุปบทเรียนคร่ำหวอดในวงการการศึกษาของครูใหม่และทีมงาน

โดยกระบวนการทั้งหมด ในวันแรกเน้นการปาฐกถาจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ใน หัวข้อ 21st Century Skills กับการปฏิรูปการศึกษาด้วยพลังของการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ สำหรับ Session นี้ ผมได้เปิดหน้าต่างความรู้ใหม่ๆ ผ่านทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิรูปการศึกษา ที่เน้น Learning Outcomes คุณภาพของระบบการเรียนรู้ที่ต้องไปให้ถึง อาจารย์หมอวิจารณ์ ได้สรุปว่า ต้องไปให้ถึง

  1. 21st Century Skills
  2. Transformative learning (จาก Informative & Formative) เรากำลังพยายามทำเรื่องนี้กันอยู่
  3. มี Change Agent Skills,Ledership
  4. ความเป็นพลเมือง ข้อนี้ผมขอเพิ่มเป็น Effective Citizen เราจะทำอย่างไรให้ได้พลเมืองที่มีคุณภาพ เป็นพลเมืองที่มี “สำนึกแห่งความเป็นพลเมือง”

ในเวทีเสวนาที่น่าตื่นตาตื่นใจ จาก “ครูเพื่อศิษย์” ตัวจริงเสียงจริง จุดไฟ “เอ๊ะ” สร้างกระบวนการเรียนรู้จาก โรงเรียนบ่อแก้ววิทยา จ.กำแพงเพชร ,โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ที่เป็นนวัตกรรมการจัดระบบการบริหารจัดการในโรงเรียน สร้างพื้นที่ให้ครู ของโรงเรียนกงไกลาศวิทยา จ.สุโขทัย และ เรื่องราวของการจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง จากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ รวมไปถึง การออกแบบเรียนรู้บนวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ในรูปแบบโรงเรียนเพลินพัฒนา กรุงเทพมหานคร จากเวทีเสวนาเราได้เห็นมุมมอง ทักษะการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่สอดคล้องกับบริบท ผ่านเรื่องเล่าที่สนุกสนาน และหากเรามองกันชัดๆจะเห็นได้ว่า แม้งานจะหนักในการทำหน้าที่เป็นครู Facilitators ที่ต้องต่อสู้กับระบบหลักที่มีอยู่ ต่อสู้กับความเดิมที่ยังค้างในตัวเอง การตั้งคำถามทบทวนตัวเองโดยตลอด รวมไปถึงความคาดหวังจากสังคมต่อวิธีคิดที่เปลี่ยนไปของคุณครู  หลายคนบอกว่า นี่เป็น “ทางเลือก” หรือ “การจัดการศึกษาทางเลือก” แต่คุณนพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่ทำหน้าที่วิทยากรบนเวที บอกย้ำชัดเจนว่า สิ่งที่พวกเราทำไมใช่ทางเลือก!!!  หากแต่เป็น “การศึกษากระแสหลัก”


หลังจากเวทีเสวนาเสร็จสิ้นลงไป ผมคิดว่า ผู้เข้าร่วมทั้งหมดน่าจะเชื่อมโยงได้กับประเด็นปาฐกถาในช่วงเช้า รวมไปถึงการเรียนรู้จากเวทีเสวนา ภาพของทักษะที่เป็นทักษะอนาคต เชื่อว่าคุณครูหลายท่านได้พัฒนาผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ครูทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องปรับวิธีคิด วิธีปฏิบัติบางอย่าง 

ช่วงบ่ายเป็นวงสนทนาแลกเปลี่ยน ร่วมปฏิรูปการศึกษาไทย ด้วยพลังชุมชนการเรียนรู้ ครูเพื่อศิษย์”  ในขั้นตอนนี้ ใช้รูปแบบ World Café เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบไขว้ประสบการณ์ จากนั้นในขั้นตอนของการขมวดความคิด  ได้แบ่งเป็นครูปฏิบัติการ 2 กลุ่ม และกลุ่มผู้บริหาร 2 กลุ่ม ที่แบ่งเป็นกลุ่มเช่นนี้เพราะมองว่า มุมมอง วิธีคิดของโจทย์นี้ น่าจะแตกต่างกันตามบทบาทในชีวิตจริง และบทบาททั้งสองก็เอื้อกันอยู่  

หลังจากที่เปิดวงสนทนา โดยเปิดโจทย์ “การศึกษายุคใหม่ ที่เราร่วมสรรค์สร้างจะเป็นอย่างไร เราจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร” การสนทนาแต่ละกลุ่มรู้สึกได้ถึงพลังการแบ่งปันประสบการณ์ความรู้จากการสังเกตเงียบๆข้างนอกของกระบวนกร  เมื่อได้เวลาในการสรุปรวมกลุ่มใหญ่ เป็นการผนวกเอาเรื่องราวสนทนาของกลุ่มครูและผู้บริหารมารวมกัน ก็ได้มี นพ.สมศักดิ์,นพ.ประเสริฐ ,คุณปรีดาภรณ์ จาก สยามกัมมาจล และ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ในการนำเสนอความคิดร่วมกับกลุ่มใหญ่

ช่วงบ่ายๆ มีการรวมกลุ่มกันอีกครั้ง ครั้งนี้ทางผู้บริหารได้กลับไปส่วนหนึ่ง ที่ยังอยู่เป็นครูผู้ปฏิบัติ ช่วงนี้เป็นช่วงของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Professional Learning Community (PLC) เรื่องเล่า “พัฒนาตน บนการเรียนรู้ของครูและศิษย์” ประเด็นที่กระบวนการตั้งไว้ว่า ในกลุ่มเล็กๆที่พูดคุยกันนั้น ต้องตอบโจทย์ ตามประเด็นคือ เรื่องเล่าที่ครูประทับใจ ที่สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้,เห็นพัฒนาการเรียนรู้ของครูและนักเรียน และ ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการเรียนรู้

กระบวนการในขั้นตอนนี้ ใช้กลุ่มย่อย กลุ่มละ 3 คนที่คละกันแล้ว เป็น ครู A ครู B ครูC แบ่งบทบาทกันในกลุ่ม เป็น ผู้เล่า ,ผู้ถาม,ผู้บันทึก  ทำในสามรอบๆละ 15 นาที มีการวนบทบาททั้ง A,B,C ดังนั้นครูทุกท่านได้ทำหน้าที่บทบาทสามบทบาทเท่าเทียมกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เราก็จะได้เรื่องเล่าของทุกคน ผ่าน Note taker ที่เป็นครูในกลุ่ม นอกจากที่เราจะได้การพัฒนาทักษะ การพูด การฟัง การเขียนแล้ว งานเขียนที่ได้เป็น “เรื่องเล่า” ที่เร้าพลัง เชื่อมโยงไปยัง 21st Century Skills ได้ ในขั้นตอนสุดท้าย มีแบบฟอร์มสำหรับเรียบเรียงเรื่องเล่าใหม่ และให้ครูวิเคราะห์เชื่อมโยงเรื่องเล่าของตนเองและเพื่อนครู ว่าสอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 อย่างไร

กระบวนการ ABC นี้ ต้องขอบคุณ อ.เอ็ม ที่คิดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง บางครั้งถึงแม้ว่า เรื่องเล่าอาจไม่เฉียบคม แต่การที่ได้นั่งเล่าสู่กันฟังของครู ตรงนั้นเป็นช่วงเวลาคุณภาพที่เราสร้างขึ้นมาผ่านการจัดกระบวนการ เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายลักษณะนี้ และต้องการผลผลิตไปสู่การสังเคราะห์ของทีมสังเคราะห์ อย่างครบถ้วน ถือว่า ได้ดึง “ต้นทุน” จากบรรดาครูเพื่อศิษย์ออกมาอย่างรวดเร็ว และแนบเนียน + มีความสุขด้วย

ในวันต่อมา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะมุ่งไปสู่การตั้งพันธกิจสำหรับการปูพื้นสู่ “เครือข่ายครูเพื่อศิษย์” ในรูปแบบต่างๆ ตามที่ครูผู้เข้าร่วมสนใจที่คิดว่า พันธกิจเหล่านี้จะเป็นจุดรวมการขับเคลื่อนเครือข่ายครูเพื่อศิษย์ Professional Learning Community (PLC) โดยผ่านศักยภาพและต้นทุนประสบการณ์ของครูทุกคน รวมถึงเราเห็นเครือข่ายที่ฟอร์มตัวขึ้นอย่างหลวมๆแล้ว เท่าที่สรุปในเวทีในวันที่สอง มี 3 ประเด็นที่ผูกเชื่อมผ่านความสนใจของกลุ่มคือ

  1. สร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ “ครูเพื่อศิษย์” ผ่าน Gotoknow.org
  2. กลุ่มที่สนใจการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เชิงลึกกับทักษะ 21st Century Skills
  3. และกลุ่มที่คิดว่าการขับเคลื่อนครูเพื่อศิษย์ต้องมีการจัดการความรู้อย่างเข้มข้น Show and Share” เปิดเวทีอย่างต่อเนื่อง

(ภาพนี้ถ่ายโดย อ.ธนิตย์ สุวรรณเจริญ)

ทั้งหมดคือ เรื่องราวของเวที 21st Century Skills กับการปฏิรูปการศึกษา ด้วยพลังการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 17 สิงหาคม 2554 ที่โรงแรมหลุยแทเวิร์น กรุงเทพฯ ที่ผมอยากสะท้อนในส่วนของกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้นในช่วงสองวัน ผ่านบทบาทหน้าที่วิทยากรกระบวนการของผมเอง

เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า เครือข่าย ครูเพื่อศิษย์ Professional Learning Community (PLC) ที่เราตั้งไว้เป็น Love to see คงไม่ใช่แค่ความฝันต่อไป จากการที่เราได้สร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision and Shared Values) สรุป เสริมทฤษฏี ให้ข้อเสนอแนะ พร้อมกับร่วมกันมองไปข้างหน้า  (Scenario for the Great Transformation of Professional Learning Community)  แค่ผมเห็นแววตาและความมุ่งมั่นของครูทุกคนในเวทีนี้...เราไปต่อครับ

ผมดีใจที่ได้พบพี่ๆคุณครู หลายท่านที่คุ้นเคยกันใน Gotoknow ได้แก่ พี่ครูอ้อย แซ่เฮ,ครูธนิตย์ จากพิษณุโลก,ท่านรองวิชชา จาก จ.ตราด, ครูต้อย พูนสุข จากสมุทรสาคร,ครูตุ้กแก จากสุพรรณ,ครูกุ้ง ศน.ปวีณา และที่ลืมไม่ได้คือ ดร.ขจิต ฝอยทอง ครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 455498เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2011 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ตามมาเชียร์ค่ะ พี่

ตั้งแต่จัดเวทีนี้ ได้เริ่มเห็นพลังเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของเครือข่ายครูเพื่อศิษย์ทางออนไลน์ใน GotoKnow แล้วค่ะ พี่เอก

มะปรางครับ

ตามที่ผมเขียนไป > ในวันที่สองช่วงบ่าย มีการระดมความคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะมุ่งไปสู่การตั้งพันธกิจสำหรับการปูพื้นสู่ “เครือข่ายครูเพื่อศิษย์” ในรูปแบบต่างๆ ตามที่ครูผู้เข้าร่วมสนใจที่คิดว่า พันธกิจเหล่านี้จะเป็นจุดรวมการขับเคลื่อนเครือข่ายครูเพื่อศิษย์ Professional Learning Community (PLC) โดยผ่านศักยภาพและต้นทุนประสบการณ์ของครูทุกคน รวมถึงเราเห็นเครือข่ายที่ฟอร์มตัวขึ้นอย่างหลวมๆแล้ว เท่าที่สรุปในเวทีในวันที่สอง มี 3 ประเด็นที่ผูกเชื่อมผ่านความสนใจของกลุ่ม ประเด็น 1 ใน 3 คือ สร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ “ครูเพื่อศิษย์” ผ่าน Gotoknow.org  มะปรางเลยจะสังเกตเห็นพลังเล็กๆที่รวมตัวกันบ้างเเล้วใน Gotoknow

เรามีบทบาทในการเสริมพลังท่านคุณครูต่อไปครับ

:)

ดีใจจังค่ะที่เกิดประโยชน์มากมายจากเวทีนี้ ..น้องเอกบอกว่า นี่คือ การ " Kick off " ของการปฎิรูปการศึกษาไทยเชียวหรือคะ ?? ..ขอเพียงจุดประกายแห่งความหวังที่จะร่วมกันจูงมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยความมุ่งมั่นในแนวที่กล่าวอย่างไม่ท้อถอย คือความสุขที่พวกเราใคร่เห็นนะคะ :)

  • ร่ายยาวตั้งแต่ที่มา แนวคิด ลำดับขั้นตอน-วัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม มาจนถึงบทสรุปที่ได้จากเวทีแห่งนี้ ครบถ้วนกระบวนการความจริงๆครับ ใครตกหล่นตกไหน มาเปิดบันทึกนี้ของคุณเอกค้นอ่านทบทวนได้เลย 
  • เชื่อโดยส่วนตัวมากว่าคุณครูที่มีโอกาสเข้าร่วม จะมีความสุขกลับไปโรงเรียนอย่างแน่นอน เพราะได้รับโอกาสสำคัญ โอกาสที่ได้พูดเล่าเรื่องราวในใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้(PBL)ของตนเอง รวมทั้งสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นขณะพยายามทำหน้าที่ครูผู้สอนที่ดี อันที่จริงประสบการณ์เหล่านี้ของคุณครูน่าสนใจมาก โดยเฉพาะถ้าคิดจะนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนา แต่หากไม่ใช่เวทีนี้แล้ว จะหาคนฟังหรือหาคนเข้าใจยากมากครับ อีกประการหนึ่งเครือข่ายและชุมชนของครู(PLC)น่าจะค่อยเกิดขึ้นได้ตามที่ทุกฝ่ายมุ่งหวัง ที่ว่าน่าจะค่อยเกิด เพราะสงสัยคล้ายประโยคคุณเอกครับ"การศึกษาพาผู้คนหลงทาง ฤาไกลเกินจะกู่กลับ"
  • การทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ(Facilitator)ของทุกท่าน อ.เอ็ม คุณอ้อ รวมทั้งคุณเอกเยี่ยมยอดครับ คุณภาพเปี่ยมล้นของแต่ละกิจกรรมในวงเสวนาเกิดจากการทำงานอย่างหนักของทีมงานนี่เองนะครับ 
  • ขอบคุณมากๆครับคุณเอก

พี่ใหญ่ครับ : ในทัศนะผม ผมมองภาพใหญ่ขนาดนั้นครับ เป็นการเริ่มต้นครั้งสำคัญ ที่เห็นรูปธรรมที่ชัดเจนเลยทีเดียวครับ

ผมต้องขอบคุณสยามกัมมาจลครับ เห็นพี่เปาพูดถึงความพยายามในการสนับสนุนเเล้ว มีความสุขครับผม

เรียงร้อยถ้อยความตรงตามประเด็นที่เกิดขึ้น

ดีใจมากที่ได้ร่วมภารกิจในส่วนน้อยๆและแอบภูมิใจเล็ก

กับภารกิจเพื่อเด็กน้อย "เครือข่าย ครูเพื่อศิษย์ Professional Learning

 Community (PLC)"

21st Century Learning ทำให้เห็นภาพของการปรับเปลี่ยนบทบาทของครู

และศิษย์ที่ค่อนข้างชัดเจน บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

ขอบคุณค่ะ

 

 

 

 

 

สิ่งที่อยากได้อยู่ตรงนี้ แต่ยังไม่หมด เดี๋ยวแอบเข้ามาอีก

วันนี้เอาเทคนิค A B C มาใช้ในการจัดกระบวนการสอนกับเด็กๆๆ สนุกมากนะค่ะ เด็กๆๆตื่นเต้น กันใหญ่เลย

ขอบคุณทีมงานมากคะ น่าเสียดายเวลา 1 ชั่วโมงน้อยไปหน่อย แต่น่าจะปรับได้

คิดว่าใช่นะค่ะ เพราะมีความสุขทั้งครูและนักเรียน

นี้คือสิ่งที่อยากได้คะ อยากได้กระบวนการที่นำไปประยุกต์ใช้ กับเวทีเด็กๆๆในชั้นเรียน

ขอบคุณนะค่ะ

การศึกษาเรียนรู้ "ครูเพื่อศิษย์"         ถือเป็นกิจพัฒนาว่าอย่างไหน

ครูจะดีมีความรู้อยู่เข้าใจ                  สร้างนิสัยให้ศิษย์ดีมีปัญญา

อย่าเรียนรู้เพื่อครูไทยได้ปริญญา      เป็นมหาบัณฑิตจิตปรารถนา

เพิ่มช่องว่างห่างศิษย์อนิจจา             ให้ความรู้ตามตำราอย่าสูงเกิน    

ตามมาชื่นชมครูเพื่อศิษย์และผู้ก่อการดีทุกท่านโดยเฉพาะกระบวนกรเก่งๆๆนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องเอก

พี่อ้อย ก็ดีใจ  ยินดี มากนะคะ ที่ได้พบกัน และ ได้ร่วมกัน ทำ และเดิน บนเส้นทางแห่งการเรียนรู้ คู่การปฏิบัติ เพื่อการพัฒนา วงการศึกษา ที่จะได้จารึก ไว้ออนไลน์ ตราบนานเท่านานนะคะ

น้องชาย ของพี่ครูอ้อย ยังเก่ง เสมอ

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ สำหรับการจัดกิจกรรมอันทรงคุณค่า และเป็นคุณค่าในระยะยาว

มีสองประเด็นอยากจะแลกเปลี่ยน

  1. ทันทีที่ฟังชื่อ professional learning community ผมมีความรู้สึกว่าน่าจะมี "นักเรียน" อยู่ใน community นี้ด้วย ไม่ใช่ลำพังแต่เป็น community ของครูฝ่ายเดียว ที่จริงการเป็นครูกับการเป็นนักเรียนมันแยกจากกันไม่ค่อยออกอยู่แล้ว ทั้งสองกลุ่มอยู่ใน "แวดวง" การศึกษาเหมือนกัน การเรียนและการสอนมีทั้งส่วนต่างและส่วน intersection ที่มีความสำคัญคนละแง่มุมกัน จริงอยู่ครูทุกคนเคยเป็นศิษย์มาก่อนทั้งสิ้น แต่เราคงจะทราบว่าบริบททางสังคมมีส่วนกระทบต่อการรับรู้ได้เยอะ ดังนั้นเราอาจจะ "คิดแทน" เด็กในขณะที่เราเริ่มเป็นผู้ใหญ่กันแล้วไม่ได้ทั้งหมด
  2. คำ "ครูเพื่อศิษย์" มีความหมายลึกซึ้งและงาม เพียงแต่มองย้อนกลับไปข้อหนึ่ง เห็นคำๆนี้ เราอาจจะเกิด perception ว่าวงนี้เป็นวงของครู ศิษย์เป็นคนรับประโยชน์ แต่ไม่ได้มีส่วนโดยตรง ภาษา OM คงจะว่าศิษย์เป็นผู้รับประโยชน์ ไม่ได้เป็นแม้แต่ strategic partners และที่แน่ๆไม่ได้เป็น direct partners

ผมครุ่นคิดใคร่ครวญว่าผมเป็นครูเพราะอะไร เพื่อศิษย์เป็นส่วนหนึ่งแน่ๆ แต่ผมกลับไม่ได้ใช้ "ศิษย์" เป็น successful parameters ที่เด่นชัดอย่างที่มันควรจะเป็น (ถ้าตรงนี้เป็นระดับ "วิสัยทัศน์") ก็เลยใช้วิธีมองหาว่า "ผมรู้สึกว่าประสบความสำเร็จเมื่อไร" แทน ถึงแม้ว่าตรงนี้ไม่ใช่ representative ของอาชีพครูไปได้ (เพราะมีเพียงหนึ่ง sample) แต่ก็จะมี advantages ตรงที่มัน "ชัด" เนื่องจากผมตรวจสอบตัวเองได้ว่ามันใช่ หรือว่าเกือบใช่ หรือว่าไม่ใช่

ในช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ผมโชคดีที่มีเวทีเกี่ยวกับการศึกษาสองรูปแบบ นั่นคือเวทีแรกเป็นแพทยศาสตรศึกษา ซึ่งเป็นเวที adult learners (แตกต่างจากการเรียนของเด็กพอสมควร จากการแลกเปลี่ยนกับท่านรองฯวิชชามาหลายครั้ง) แถมยังเป็นแพทยศาสตรศึกษาที่ใช้ PBL-based ซึ่งคงจะไม่ได้ represent Med-ed ของประเทศ กับอีกเวทีหนึ่งคือ การเรียนรู้ด้วยกระบวนการ (workshop) ที่ผมได้จับพลัดจับผลู จาก participants หันเหไปเป็นกระบวนกร (faciliator) เองไปๆมาๆก็หลายครั้งอยู่ ผู้เรียนจัดว่าเป็น "ผู้เรียนนอกระบบการศึกษา" แต่เป็นมาเข้าร่วมเพราะเหตุอื่น

เขียนถึงตอนนี้คิดว่าเริ่มมี seeding พอที่จะไปตั้งบทความใหม่ต่างหากของผมเอง จึงจะขอรวบรัดในตอนนี้ตรงนี้ว่าผมคิดถึงอะไร

ผมคิดว่าสิ่งที่ผมทำและรู้สึกดี นั่นคือผมทำ "เพื่อการเรียนรู้" คือ for learning นั่นเอง ทั้งของตัวเอง และของคนที่มาเข้าร่วม ปฏิสัมพันธ์ของคนที่นั่งอยู่ตรงนั้น (แบบแรกผมนั่งที่ครู แบบหลังผมนั่งรวมในระดับเดียวกัน) มันเอื้อให้เกิดความรู้สึก bliss ที่เกิดการเรียนรู้แบบธรรมชาติ และเห็นการเตบโตในตัวบุคคลอื่นๆต่อหน้าต่อหน้าอันเป็นสิ่งมหัศจรรย์

นั่นคือเป็น "ครูเพื่อการเรียนรู้"

ขออนุญาตไปขยายความโดยพิสดารอีกที่หนึ่ง ขอบคุณเอกที่ช่วย inspire มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ผมได้แรงบันดาลใจจากบทความนี้ จึงเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา ถ้าสนใจ ลองแวะสนทนา

ได้อ่านประเด็นของอาจารย์  ที่ว่า ครูเพื่อศิษย์  น่าจะมี "นักเรียน" อยู่ในกลุ่มด้วย  และ น่าจะเป็น ครูเพื่อการเรียนรู้   ตรงนี้  ทำให้ผมเริ่มมีแนวคิดที่น่าสนใจ  และ ผมจะลองนำไปทดลองทำดูครับ   เพราะที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนหลายคน  เขากล้าพูด กล้าแสดงออก ครับ  แต่มีข้อจำกัดว่า  คุณครูจะยอมรับความคิดของเด็กได้เพียงใด  คงต้องหาคุณครูที่ "ใจกว้าง"  สักหน่อย  พร้อมที่จะสร้าง "อภิชาตศิษย์"   พร้อมที่ให้เด็ก "คิดเองได้"

ดีใต คุณครู ดูหน้าไม่ดุดี และก็น่าเรียนว่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท