beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

คำที่มักเขียนผิดในบล็อกและบันทึก (GotoKnow)


    เวลาเข้าไปอ่านบันทึกใน GotoKnow แล้วเห็นบางท่าน ที่เขียนภาษาไทยโดยการสะกดผิดบ่อยๆ มักจะทำให้หงุดหงิด โดยเฉพาะคำว่า "สังเกต" เขียนผิดบ่อยมาก

    วันนี้เลยขออนุญาต คัดคำที่มักเขียนผิดบ่อยมาให้ชมกัน ต้องขอขอบคุณ คำที่มักเขียนผิด จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำที่มักเขียนผิด

คำที่เขียนถูก

หมายเหตุ 

กฏ

กฎ

กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา เช่น กฎหมาย
ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก

 กอร์ป, กอปร์

กอปร

กอปร อ่านว่า "กอบ"

กังวาล

 กังวาน

 

 กาละเทศะ

กาลเทศะ

 

 ขมักเขม้น

ขะมักเขม้น

 

 คำนวน

 คำนวณ

 

 จราจล

 จลาจล

 

จักรพรรดิ์ 

จักรพรรดิ

 

เซ็นต์ชื่อ 

เซ็นชื่อ

 

ฌาณ

ฌาน

 

ไตรยางค์

ไตรยางศ์

 

ทนุบำรุง 

ทะนุบำรุง

 

 ทะยอย

ทยอย

 

เทอด

เทิด

 

ธรรมธรรโม

ธรรมะธัมโม

 

นวตกรรม

นวัตกรรม

 

นิเทศน์

นิเทศ

 

บรรดาล

บันดาล

 

ปราณี 

ปรานี

เมตตา ปรานี

เปอร์เซนต์

เปอร์เซ็นต์ 

 

ผูกพันธ์

ผูกพัน

 

ภาพยนต์

ภาพยนตร์ 

 

รสชาด

รสชาติ

 

ลายเซ็นต์

ลายเซ็น

 

ลำใย

ลำไย

 

วาระดิถี

วารดิถี

 

สะกัด 

 สกัด

 

สมดุลย์

สมดุล

 

สังเกตุ

สังเกต

 

 สังสรร

สังสรรค์

 

สร้างสรร

สร้างสรรค์

 

สำอางค์

สำอาง

 

สีสรร, สีสรรค์

สีสัน

 

เหล็กใน

เหล็กไน

 

อารมย์ 

อารมณ์

 

อนุญาติ

อนุญาต

 

ไอศครีม

ไอศกรีม 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 45421เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2006 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
  • เป็นประโยชน์มากเลยครับ
  • ครั้งต่อไปจะระวังตัวเวลาเขียน
  • ขอบคุณครับผม
วันนี้เข้า gotoknow อย่างมีสมาธิต่อเนื่อง  ได้กินยำใหญ่ และได้มุมมองของคนช่างสังเกต ดิฉันก็เขียนผิดอยู่หลายคำ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับ BeeMan เป็นประโยชน์จริงๆ ผมเข้าใจว่าส่วนใหญ่ที่เรามักเขียนผิดกันนั้นมาจาก 2 สาเหตุ

สาเหตุแรกคือ เห็นตามสื่อ ตามป้าย หรือสิ่งที่แสดงออกมาตามข้างทาง ซึ่งมีใช้ผิดกันมาก โดยที่เราก็ซึมซับมันมาจนนึกว่ามันเขียนอย่างนั้นจริงๆ เช่น คำว่า รสชาด ซึ่งจริงๆต้องเขียนว่า รสชาติ เป็นต้น คำพวกนี้เราเห็นจนกลายเป็นภาพจำอยู่ในสมองครับ

สาเหตุที่สองคือ ด้วยความที่คนไทยเรามักจะใช้ทักษะการพูดในการสื่อสารกันเป็นส่วนใหญ่ น้อยมากที่จะใช้การเขียน ดังนั้นเมื่อพูดมากไป พอจะเขียนคำนั้นขึ้นมาก็ไม่แน่ใจว่าสะกดอย่างไร ก็จะใช้สิ่งที่เราเคยชิน ก็จะเป็นไปตามสาเหตุแรกครับ

สำหรับทุกๆคำที่ BeeMan นำเสนอเป็นตัวอย่างนั้น ผมถือว่าเป็นสิ่งเตือนใจอย่างดีเพื่อที่จะฝึกตนให้เขียนภาษาไทยอย่างถูกต้อง ทุกวันนี้ก็พยายามที่จะไม่ให้ผิด แต่ก็เชื่อว่าน่าจะยังมีผิดอยู่บ้างไม่มากก็น้อย

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ บันทึกนี้ถือว่าเป็น ลปรร ที่ดีจริงๆครับ (หวังว่าคำย่อแบบนี้ที่เราใช้กันในบันทึกคงไม่ทำให้ภาษาไทยเสียหายนะครับ)

  • ขอบคุณ คุณขจิต และ คุณเมตตาที่เห็นประโยชน์ของบันทึกนี้
  • ผมนึกว่าถ้าเขียนแนวนี้ จะไม่มีคนเข้ามาเยี่ยมเสียอีก
  • บันทึกนึ้ ใช้เวลาค่อนข้างนานเหมือนกันกว่าจะเสร็จ ประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ ครับ

เรียนคุณ จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว

  • ขอขอบคุณที่เข้ามา ลปรร.ครับ
  • เห็นด้วยกับภาพความจำในสมอง ที่มาจากสื่อ คือมันจะฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกเลยครับ
  • และขอบคุณที่สะท้อนให้เห็นภาพว่า การเขียนบันทึกอย่างนี้ก็เป็นประโยชน์ แม้ว่าจะมีเสียงสนับสนุนเพียง 1 เสียงก็ตาม
  • อยากให้หลายๆ ท่านเข้ามาลปรร. แบบนี้ครับ
  • สะท้อนภาพกลับมาให้ผู้เขียนเห็นตัวตน ของตน.. 
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยครับท่านอาจารย์ beeman
  • ทำให้ต้องระวังในการสะกดคำมากขึ้นครับ
  • โดยเฉพาะคำว่า ประกอบ ที่คอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft word ชอบที่จะเปลี่ยนให้โดยอัตโนมัติครับ รวมทั้งคำว่าปรากฏด้วยครับ

อาจารย์เคยติงผมเรื่องคำว่า "บรรดาล" เป็น "บันดาล" ทำให้ผมระวังมากขึ้น

จากที่ผมอ่านก็มีหลายๆคำที่เคยเขียนผิด เช่น

วาระดิถี (เขียนบ่อยมากครับ)

รสชาด

ไอศครีม

สมดุลย์

คำเหล่านี้ผมจะเขียนผิดบ่อยๆครับ

ขอบคุณอาจารย์ Bee Man ครับ

ขอบคุณGotoknow ที่ผมได้ขัดเกลาการใช้ภาษา ส่วนภาษาอังกฤษผมได้เรียนรู้จากหลายท่านครับ อาทิ อ.ดร.ขจิต และ อาจารย์สิริพร

ต้องขอบคุณท่านเหล่านี้มา ณ โอกาสนี้ 

มีประโยชน์มากครับอาจารย์  เพราะผมกำลังค้นหาเรื่องอย่างนี้พอดี  หวังว่าคงมีอีกต่อๆไปนะครับ ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณ คุณสุพันธ์ ที่มาทิ้งรอยไว้ครับ

คำว่า รสชาด เป็น รสชาด นะครับ ถูกอยู่แล้ว ไปเอามาจากไหนเนี่ย

เพราะว่าคำว่า "ชาด" แปลว่าสีแดง คือเป็นการเปรียบเทียบถึงอาหารว่ามีสีแดง(และสีอื่นๆ)สวยงาม น่าทาน คำนี้จึงแปลตรงๆว่า "มีรสอร่อยและมีสีสันสวยงาม" ไม่เกี่ยวอะไรกับ "ชาติ" ซึ่งแปลว่าประเทศเลยยยยยย

อย่าไปเชื่อมันมากเลยครับ วิกิพีเดียเนี่ย ใครจะแก้ก็แก้ ใครจะพิมพ์ก็พิมพ์

พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน แน่นอนที่สุด

อ๊ากก ผิด ขอโทษทีครับ

อ่าน comment ที่ 11 ชักเริ่มจะคล้อยตาม, c 12 เริ่มคิดว่าจะต้องไปหาพจนานุกรมมาอ้างอิง พอถึง C13...^__^

สวัสดีครับท่านนาย ภาษา นำเสนอมาเป็นประโยชน์อย่างมากครับ

ในการแสดงความเห็นอ่านแล้วอ่านอีกก่อนบันทึก ก็ยังผิดพลาดให้เป็นครับ

ดีครับจะหมั่นพยายามทำให้ถูกครับท่าน

ถูกต้องแล้วครับท่านบังหีม

  • อย่าง comment ของท่าน ก็ยังพิมพ์ผิดครับ
  • ตรง comment แม้เราระวังแล้วแต่ก็ยังผิดได้ เมื่อผิดแล้วเราส่ง comment ไปใหม่...แล้วเจ้าของบันทึกที่ดีก็จะลบบันทึกที่เราพิมพ์ผิดออกไป
  • ส่วนบันทึกนั้น ถ้าเราตรวจพบว่าผิดเราก็แก้ไขใหม่ได้
  • ถ้าเราทำบันทึกที่เขียนผิดบ่อยๆ อีกหน่อยก็จะไม่ค่อยมีใครมาอ่านบันทึกของเราครับ

เขียนผิดน้อยลงมากค่ะ...

  • หลายคำผมก็ยังเขียนผิด
  • แต่ผมระวังคำผิด เวลาเขียนบันทึก คำที่ไม่แน่ใจต้องค้นหา Google ดูก่อน (เพราะเร็วดี)
  • ถ้ามีข้อถกเถียง ต้องเปิด "สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"

รสชาด ถูกแล้วค่ะ จากสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

สวัสดีค่ะ

จะระมัดระวังค่ะในการเขียนครั้งต่อๆไป...

ขออภัยอีกครั้ง คำว่ารสชาด หรือ รสชาติ ถูกทั้งสองคำค่ะ

http://www.royin.go.th เอามาฝากค่ะ เผื่อเป็นประโยชน์บ้าง

ดีมากแลยครับ ทำให้รู้ว่าเขียนผิดมานานเท่าไหร่แล้ว อิอิ

ขอบคุณมากๆๆครับ คุณBeeMan เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเลยครับ ผมต้องพิมพ์หนังสือออกสู่ผู้คนภายนอก หลายๆๆครั้งที่ผมไม่แน่ใจว่าถูกหรือผิด

แต่วันนี้ผมรู้ว่าขอบคุณมากครับสำหรับสิ่งดีดี ครับ

คำต่างๆเขียนผิดบ่อยๆจริงๆแหละครับ... แต่ บัน- มีเพียง 5 คำเท่านั้นเนาะครับ..ส่วนมากนึกไม่ออกก็เขียนผิดกันหมด...

"บันดาลลงบันได บันทึกให้จำจงดี รื่นเริงบันเทิงมี บันลือลั่นสนั่นดัง"

  • ดีมาเลยครับ..ลืมไปแล้ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท