อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

ข้อพึงระวังในการจัดทำผลงานวิชาการ


นวัตกรรมที่สร้างขึ้นไม่ได้วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดสร้างขั้นตอนพัฒนาที่ชัดเจน ดำเนินการสอนโดยอาศัยกิจกรรมที่คัดลอกตัวอย่างต่อๆกันมา



ข้อพึงระวังที่มักจะเข้าใจผิดในการจัดทำผลงานวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

1 นวัตกรรมที่สร้างขึ้น ไม่ว่าแบบฝึกเสริมทักษะ บทเรียนสำเร็จรูป หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดการสอน  ฯลฯ ไม่ได้วิเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดสร้างขั้นตอนพัฒนาที่ชัดเจน ดำเนินการสอน โดยอาศัยกิจกรรมที่คัดลอกตัวอย่างต่อๆกันมา

2 ขั้นตอนพัฒนาได้มาจากการศึกษา หลักการทฤษฎีและอาศัยงานวิจัยที่สอดคล้อง เช่น จะสอนการเขียนเรียงความ  สภาพการสอนปกติสอนอย่างไร ถ้ายังสอนโดยวิธีเดิมๆหรือวิธีปกติโดยทั่วไปไม่เรียกว่านวัตกรรม แต่ค้นพบวิธีใหม่ในการเขียนเรียงความ โดยยึดหลักฝึกฟัง พูด ก่อน อ่านเขียน และสอนจากภาพไปสู่จินตนาการโดย

                                ขั้นที่ 1 ฟังเรื่องราวแล้วพูดเล่าเรื่อง

                                ขั้นที่ 2 พูดเกี่ยวกับภาพ

                                ขั้นที่ 3 พูดในเรื่องที่ตนสนใจ

                                ขั้นที่ 4 เขียนคำศัพท์เกี่ยวกับภาพ

                                ขั้นที่ 5 เขียนประโยคเกี่ยวกับภาพ

                                ขั้นที่ 6 เขียนข้อความเกี่ยวกับภาพ

                                ขั้นที่ 7เขียนบรรยายภาพ

ขั้นที่ 8 เขียนตามความนึกคิดหรือจินตนาการ

และ ได้นำขั้นตอนเหล่านี้ไปทดลอง ปรากฏได้ผลจริงนี่แหละ  องค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบ  อยากเห็น อยากให้เกิด มิใช่ทำเหมือนๆกัน

                3 ขั้นตอนแต่ละขั้นตอนมาจัดทำกิจกรรมย่อยๆ ในการฝึกลำดับจากง่ายไปหายาก แต่ละขั้นพิจารณาตามความเหมาะสมไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไปก็จะไม่เกิดทักษะ

                4. นวัตกรรมจึงเป็นสื่อที่เกิดจากขั้นพัฒนาดังกล่าว จากนั้นนำหลักการสร้างแต่ละลักษณะของนวัตกรรมมาพิจารณาดำเนินการ เช่น การเลือกกิจกรรม การวาดภาพประกอบให้เหมาะสม

                5. ขั้นตอนการพัฒนา นอกจากนำไปเป็นแนวทางการสร้างสื่อการเรียนรู้หรือนวัตกรรมแล้ว ต้องนำไปจัดกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้อง

                6. น่าเสียดายที่จัดทำนวัตกรรมของครูไม่ได้เกิดจากการศึกษาค้นคว้าหลักการและทฤษฎีใดๆหากแต่ไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่นต่อๆกันโดยที่ไม่ทราบหลักการ แนวคิดทฤษฎีที่มา

                7. น่าเสียดายที่จัดทำนวัตกรรมการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้เพียงเล็กน้อยไม่อาจเชื่อว่า พัฒนาทักษะภาษาไทยได้จริง เช่น บางคนทำเพียง 3-4 ชุด สอนเพียง 4-5 แผน ควรพิจารณาจัดทำให้เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และกลุ่มเป้าหมาย  จึงจะสรุปได้ว่าเกิดผลจริง

                8. น่าเสียดายที่นวัตกรรมเต็มไปด้วยการทดสอบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์รวม- ทดสอบย่อยก่อนเรียน ยกตัวอย่างแบบฝึกเสริมทักษะ 8 ชุดมีทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน แต่ละชุดมีทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน รวมแล้วนักเรียนทดสอบถึง  18  ครั้ง และกิจกรรมก็ยังสร้างเหมือนการทดสอบ เด็กไทยถูกทดสอบมากเกินไปหรือไม่  ในที่สุดไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย

                9. แผนการจัดการเรียนรู้ของครูพึงระวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ครูบางท่านกลับนำเอากิจกรรมในแบบฝึกกิจกรรมท้ายหนังสือเสริมประสบการณ์ หรือกิจกรรมในบทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ซึ่งเป็นกิจกรรมย่อยๆไปเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้    ไม่ครอบคลุม เช่น

                                X       1. นักเรียนสามารถเติมอักษรที่ขาดไปได้ถูกต้อง

                                X       2. นักเรียนสามารถโยงเส้นจับคู่ข้อความกับภาพ

ลืมจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการพัฒนาการอ่าน การเขียน การฟัง การดู พูด หลักเกณฑ์ทางภาษาหรือวรรณคดี ตามตัวชี้วัดและมาตรฐานหมดสิ้น

                10. แผนการจัดการเรียนรู้ แผนที่ 1 ควรเป็นแผนปฐมนิเทศชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ แนะนำวิธีเรียน โดยใช้นวัตกรรมแนะนำนวัตกรรม ชี้แจงความจำเป็นที่ต้องทดสอบก่อนเรียนแล้วจึงจะทดสอบก่อนเรียนและจุดประสงค์การเรียนรู้ ก็มิใช่เขียนแผนที่ 1 เพื่อทดสอบก่อนเรียน

                11. แผนการจัดการเรียนรู้ ต้องมีกิจกรรมขั้นนำสู่การเรียน ขั้นดำเนินกิจกรรมและขั้นสรุป และมิใช่จัดกิจกรรม โดยอ้างอิงกิจกรรมในแบบฝึกหรือนวัตกรรม  หากแต่ต้องนำขั้นตอนการพัฒนาตามลำดับ มาจัดกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้ เช่น ถ้าขั้นตอนการพัฒนา เริ่มจากให้เรียนรู้ความหมายคำศัพท์ก่อน แผนที่ 2 ต่อจากแผนปฐมนิเทศ ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้ความหมายคำศัพท์และต้องสอดคล้องกันกับนวัตกรรม มิใช่กิจกรรมทุกแผนมีเพียง...

                                1. ทดสอบนักเรียนก่อนเรียน

                                2. นร.รับแบบฝึก....ฯลฯไปทำ

                                3. ครูตรวจสอบแบบฝึกและสรุปร่วมกับนักเรียน

                                4. ทดสอบหลังเรียน เป็นต้น  ถ้าเขียนแบบนี้ไม่ได้กระบวนการฝึกแต่อย่างไร

                12. แบบทดสอบ แบบบันทึกรายการ แบบสอบถามไม่ใช่ สื่อการเรียนรู้

                14. การเขียนเกณฑ์การประเมินคุณภาพ (Rubrics) พึงระวังดังนี้

                                1. ไม่เขียน Rubrics โดยไม่ได้เขียนจุดประสงค์การเรียนรู้เรื่องนั้นๆ เช่น มี Rubrics เรื่องการทำงานกลุ่มความตั้งใจเรียน แต่จุดประสงค์การเรียนรู้ไม่มี

                                2. การเขียน Rubrics เหมารวม ทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติในแบบเดียวกัน ควรแยกสร้างเกณฑ์ประเมินแต่ละด้านให้ชัดเจน

                                3. เขียน Rubrics ไม่ชัดเจน เช่น ใช้คำว่า ทำอะไร ดีเยี่ยม ดีมาก ปานกลาง ต้องระบุให้ชัดว่า ทำอะไร ทำอย่างไร จึงจะเรียกว่า ดีเยี่ยม ดีมาก ปานกลาง

                15. การบันทึกผลหลังการสอน ต้องบันทึกผลตามจุดประสงค์กรเรียนรู้ ไม่ควรเขียนโดยฟอร์ม แล้วรายงานว่าทดสอบก่อนเรียนได้เท่าไร ทำกิจกรรมได้เท่าไหร่ คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ ให้นำจุดประสงค์

แต่ละข้อไปรายงานว่า นร. ผ่านหรือไม่ผ่านกี่คน จะเขียนร้อยละควรมีนักเรียนมาก 20 -30 คนขึ้นไป แต่จำนวนนักเรียนเพียง   6 – 7 คนไม่ต้องคิดร้อยละบอกจำนวนก็พอ  ถ้านักเรียนไม่ผ่าน มีปัญหาอะไร อย่างไรนำไปเขียนในปัญหา  และมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาควรเขียนให้สอดคล้องกับสื่อที่ตนเองกำลังพัฒนา ไม่ควรเขียนว่าเรียกนักเรียนมาพบแล้วตักเตือน  หรือแก้ปัญหาโดยให้การบ้านเพิ่มขึ้น ไม่ถูกต้อง

                กรณีที่นักเรียนทำได้หมด ไม่มีนักเรียนทำผิดเลยแสดงว่าแบบทดสอบหรือแบบฝึกเสริมทักษะ ง่ายเกินไปหรือไม่ ควรพิจารณาแก้ไขให้เหมาะสม  อย่างน้อยเด็กเก่งทำได้ เด็กเรียนอ่อนน่าจะทำได้ไม่เท่ากับเด็กเก่ง     

16. ประสิทธิภาพของแบบฝึกหรือบทเรียนสำเร็จรูป คะแนนที่ได้เยอะเกินไป มีสองนัย อาจเป็นคะแนนที่ไม่จริงหรือคะแนนจริงแต่ว่าง่ายเกินไป ต้องระมัดระวัง

           

คำสำคัญ (Tags): #ผลงานวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 450758เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2011 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ไพรินทร์ เสนหล้า

เห็นด้วยกับความคิดเห็นของอาจารย์ค่ะ เพราะบทความต่างๆที่ได้อ่านมักจะเป็นนวัตกรรมที่คนอื่นๆได้คิดขึ้นและมีการใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเพียงแค่การพิสูจน์การใช้นวัตกรรมเท่านั้น ไม่ได้มีการพัฒนาหรือทำให้แปลกไปจากที่มีอยู่เดิมเลย และการวัดผลก็มักจะมีแต่การทดสอบว่าจำความรู้ได้มากแค่ไหน ซึ่งในความเป็นจริงเราสามารถวัดความสามารถของนักเรียนได้ในหลายวิธี (คงเป็นเรื่องยาก เพราะมีคนทำน้อย เลย Copy มาทำไม่ได้)

อ่านบทความของอาจารย์แล้วทำให้ตาสว่างมากขึ้น เพื่อจะได้นำมาใช้ในการวิจัยในเทอมหน้าค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ไพรินทร์ เสนหล้า รหัส 53856257

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ)

น.ส.จุไรรัตน์ อัมรักษ์ (51171408 กป51.ค5.2)

ได้รับความรู้ถึง ข้อพึงระวังที่มักจะเข้าใจผิดในการจัดทำผลงานวิชาการ เพื่อการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ ข้าราชการครูในอนาคต เป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่ได้สำหรับการทำจัดทำผลงานทางวิชาการ เมื่อทคราบดังนั้นแล้ว ดิฉันจึงพึงระมัดระมังขึ้นอีกเป็นเท่าตัว และหลักการสร้างผลงานที่ดี ที่ควรนำเป็นแบบอย่าง ด้วยเหตุนี้ดิฉันจึงขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้นำคึวามรู้ใหม่ๆ มาเผยแพร่ให้ได้อ่านมา ณ ที่นี้ด้วย

นางกันตพัฒน์ ก่อเกียรตินพกุล

มีความรู้มาขึ้น  หากเรานำนวตกรรมมาพัฒนานักเรียนตามแนวทางจริงจะเป็นผลดีกับนักเรียนมาก  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท