39 ชิ้นงานพัฒนา หรือ นวัตกรรม


เพราะเขาเป็นคนที่ไม่มองข้ามกับปัญหาเล็กๆน้อยๆที่พบในงานจะต้องพยายามหาทางแก้ไขและพัฒนาอยู่เสมอ

นวัต    แปลว่า    ใหม่ ทำใหม่ คิดใหม่ สร้างใหม่ กระบวนการใหม่  เกิดผลใหม่ 

กรรม   แปลว่า   การกระทำรวมถึงการให้เกิดผลอันใดอันหนึ่งขึ้น    

จึงมีผู้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม  ไว้มากมาย  แต่โดยรวมแล้วมีความหมายคล้ายกัน   ...

     นวัตกรรม     คือ  การนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนตามลำดับ คือ การคิดค้น การพัฒนา และนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา     หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย 

         โรเจอร์ส  (Rogers,  1983) ได้ให้ความหมายคำว่า  นวัตกรรม คือ ความคิด           การกระทำ หรือสิ่งที่บุคคลหรือคนกลุ่มหนึ่งยอมรับว่าเป็นสิ่งใหม่ โดยอาจเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าความคิดนั้นจะเป็นสิ่งใหม่นับตั้งแต่เริ่มใช้หรือถูกค้นพบครั้งแรกหรือไม่ก็ตาม ขึ้นอยู่กับการที่บุคคลรับรู้ว่าเป็นของใหม่หรือไม่ โดยความเห็นของบุคคลเองจะเป็นผู้ตัดสินการตอบสนองของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้น ถ้าบุคคลเห็นว่าความคิดนั้นเป็นสิ่งใหม่สำหรับตน ความคิด  นั้นก็เป็น “นวัตกรรม” 

            จากความหมายข้างต้นทำให้ผู้เขียนนึกถึง น้องยอม ( นางพะยอม  เพลิงบุตร)  ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่อนามัยทำงานที่แผนกทันตกรรม  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่     เพราะเขาเป็นคนที่ไม่มองข้ามกับปัญหาเล็กๆน้อยๆที่พบในงานจะต้องพยายามหาทางแก้ไขและพัฒนาอยู่เสมอ       และเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้แนวคิดและนำไปปรับใช้ในงาน เป็นการแบ่งปันและหมุนเกลียวความรู้ภายในองค์กรกันเอง  เวทีนี้จึงเปิดโอกาสให้ น้องยอมได้มีเล่าเรื่องราวดีๆที่น้องยอมบอกว่า  “อย่าเรียกว่า นวัตกรรมเลยค่ะ   เรียกว่า  “ชิ้นงานพัฒนา”  ก็แล้วกัน ”  ลองตามดูชิ้นงานพัฒนาของน้องยอมค่ะ  ว่าเขาทำอะไรบ้าง

 

น้องยอม ( นางพะยอม  เพลิงบุตร)

 

 ชิ้นงานที่ 1  กล่องไฟส่องตรวจความสะอาด เครื่องมือและส่องดูฟิล์มเคลื่อนที่ 

  

 

            น้องยอมเล่าว่า    อุปกรณ์ทำฟันนั้นมีขนาดเล็ก    การล้างอุปกรณ์ จะต้องถอดชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องมือที่จะนำล้างเพื่อขจัด หรือชำระคราบเลือดเนื้อเยื่อ  สิ่งสกปรกออกจากเครื่องมือ ทำความสะอาด  ชะล้างด้วยน้ำยาล้างจานและล้างด้วยน้ำสะอาด เมื่อสะอาดดีแล้ว จึงนำไปผึ่งให้แห้ง ตรวจส่องดูความสะอาดคัดแยกอุปกรณ์  อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดรักษาทางทันตกรรมหลายชนิดมีขนาดเล็กแหลมคม มีคมเกลียวเล็กมาก เช่นไฟล์  เข็มเย็บแผล  หัวเบอร์กรอฟัน   ดังนั้นหลังทำความสะอาดทุกครั้งจะต้องตรวจเช็ดความสะอาดพร้อมใช้ไม่หักไม่งอไม่ปนเปื้อนเศษเลือดหรือสิ่งสกปรกต่าง ๆของเครื่องมืออีกครั้ง ซึ่งใช้แว่นขยายตรวจดูความสะอาดค่อนข้างล่าช้าไม่สะดวก จึงพบปัญหาในการใช้แว่นขยายหมุนหาจุดมุมขยายที่ต้องการดูสิ่งปนเปื้อนทำให้เมื่อยล้าสายตา    มึนศีรษะตลอดจนเสียเวลาในการส่องดูเครื่องมือได้ที่ละน้อย 

        จากปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถช่วยลดเวลาในการทำงานป้องกันอุบัติเหตุของแหลมคม แยกอุปกรณ์ป     

          วิธีการใช้งาน  คือ ให้เปิดไฟทั้ง 2 หลอด (บน-ล่าง) เพราะจะทำให้การดูสิ่งปนเปื้อนอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ  แม้แต่เศษเลือดที่ติดอยู่ในรูเข็มเย็บแผล ไฟล์ ปลายหักงอ   เพราะแสงไฟฟ้าสะท้อนผ่านอุปกรณ์เครื่องมือสองด้านทำให้มองชัดเจน                                

ประโยชน์ที่ได้จากการใช้กล่องไฟส่อง   

        1.เพื่อลดเวลาการทำงานให้รวดเร็ว 

        2.แยกอุปกรณ์ปนเปื้อนสกปรกได้ชัดเจนเพื่อนำไปทำความสะอาด

           ตามขั้นตอน 

        3.ป้องกันการอุบัติเหตุจากของมีคม 

        4. ผลที่ได้โดยคาดหวัง    คือสามารถใช้ส่องดูฟิมล์เอ็กซเรย์ฟันเพื่อ  

           วินิจฉัยโรคฟันได้ชัดเจนขึ้น เวลาส่องดูฟิมล์ไม่ต้องใช้หลอดไฟฟ้า

           ส่องข้างบน

 

 

 

ชิ้นที่ 2 นวัตกรรมถุงประคบมือถือ 

         หลังผ่าฟันคุดทันตแพทย์มักให้ผู้รับบริการกลับบ้านได้     โดยให้กัดผ้าก๊อซ กดแผลเพื่อหยุดเลือด  ภายในระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง และแผลจะสามารถสมานตัวและหายได้ตามกระบวนการหายของแผล (Healing process)  อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดคุดจะพบภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้เช่น เลือดออกมากไม่หยุด  อาการปวดแผลหลังผ่าตัด    หนึ่งในหลายๆ ข้อที่แนะนำหลังจากผ่าฟันคุดนั้นก็คือ การประคบด้วยความเย็นประมาณ 30 นาที หลังผ่าตัด    เพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดฝอยหดตัวและทำให้การไหลเวียนของเลือดและของเหลวมายังแผลนั้นช้าลง  ยังผลให้ลดการคั่งของเลือดบริเวณแผลผ่าตัดและลดการเกิดภาวะเลือดไหลออกมาก      หลังจากนั้นควรทำการประคบร้อนหลัง จากผ่าตัดในวันที่สอง  เพื่อให้เส้นเลือดขยายตัว ยังผลให้ลดอาการบวมของแผลต่อไป    โดยทั่วไปแล้วผู้มารับบริการ จะรีบประคบเย็นโดยทันทีด้วยน้ำแข็งที่บรรจุด้วยถุงพลาสติกทำให้เกิดปัญหาถุงพลาสติกแตกง่ายและไม่สะดวก  ในบางครั้งการประคบเย็นจะทำโดยใช้น้ำแข็ง  ก้อนห่อผ้าขนหนูมาประคบ เมื่อเวลาผ่านไปน้ำแข็งละลาย และไหล ย้อย ทำให้เกิดความไม่สะดวก   จึงเป็นที่มาของแนวคิดของนวัตกรรม ถุงประคบเย็น-ร้อน นี้

 

ภาพสาธิตขณะกำลังประคบเย็น

 

ขั้นตอนการประดิษฐ์นวัตกรรม 

            หาอุปกรณ์ เช่น ขวดพลาสติกใส่ยาของห้องยาขนาด 120 cc  ซึ่งสามารถบรรจุน้ำทำประคบเย็นและร้อนพลาสติกขุ่นที่ใส่ยาน้ำ       

           วิธีทำ คือ

            1 บรรจุน้ำสะอาดใส่ลงไปให้เหลือพื้นที่ประมาณ  1 นิ้วเหนือคอขวด เนื่องจากให้เหลือพื้นที่ขณะที่น้ำจะขยายตัวเมื่อเป็นน้ำแข็ง วางขวดในแนวตั้งในช่องแช่แข็ง 

            2 นำถุงผ้ามาหุ้มไว้เพื่อเป็นฉนวนกันความเย็น / ร้อน ไม่ให้เกิดการปะทะกับผิวโดยตรง  กรณีที่ใช้บรรจุความร้อน ให้เทน้ำออกจากภาชนะเดิม เติมน้ำร้อนลงไปตามขีดที่กำหนด

 

การประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หาได้ง่ายในโรงพยาบาล และต้นทุนต่ำ

 

ประโยชน์ของการใช้ถุงประคบ 

1.  ผู้รับบริการได้รับความสะดวกสามารถประคบเย็นได้ทันทีหลังจากทันตหัตถการเพื่อลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเลือดที่ออกมากหลังจากการทำหัตถการ   เช่น ลดอาการบวม 

2. ใช้เป็นอุปกรณ์ประคบร้อน –เย็น ประจำบ้าน   กรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น  

ไฟไหม้  น้ำร้อนลวก  หรือแผลฟกซ้ำจากการได้รับแรงกระแทก    

 

 

ชิ้นที่ 3  แว่นตาป้องกันน้ำและแสงไฟส่องตาขณะทำฟัน 

 

         ด้วยเหตุที่เด็กที่มารับทางทันตกรรมมักมีปัญหาด้านพื้นฐานโดยส่วนใหญ่จะกลัวที่จะทำหรือขึ้นเก้าอี้ทำฟัน  อุปกรณ์ที่ในการบำบัดรักษาตลอดจนการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ  ที่มีเสียงดัง (เช่นที่ดูดน้ำลาย หัวกรอฟัน น้ำ)และอื่นๆ แม้กระทั่งแสงไฟส่องปาก ดังนั้นเพื่อที่จะลดความกลัว จึงหาสิ่งของที่มีสีสันสดใสสวยงามเช่นของเล่นต่างๆ  แว่นตามาเป็นรางวัลและเสริมกำลังใจ ในระหว่างทันตแพทย์ปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น

                                                      

                                                                                                                                                                                                      ใส่ใส่แว่นตาเด็กที่มีสีสันสดใส ให้เด็กขณะทำฟัน  หรือสวมแว่นตากันแดดให้สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ชอบ ผ้าปิดหน้า

 

 

 

ประโยชน์ของแว่นตาป้องกันน้ำและแสงไฟ 

1.ทันตแพทย์ทำงานได้สะดวกขึ้นไม่กังวลต่อการหล่นของวัสดุ และอุปกรณ์เข้าตา 

2. เด็กที่ตื่นเต้นให้ความร่วมมือดีขึ้น

 

 

ผู้ที่เข้าร่วมแบ่งปันในวันนั้น

 

 

 

 

 

           ทพ.หญิง ธนัชพร  รองประธาน CKO ศูนย์อนามัยที่ 10  มอบรางวัลในนามของหัวหน้างาน    ให้กับคนช่างคิดช่างทำ

 

 

 

 และจากผู้เขียนในนามของคณะกรรมการ KM  ที่รับผิดชอบจัดเวทีเรืื่องเล่าเร้าพลัง    ให้กับคนช่างเล่าและแบ่งปัน

 

หลังได้ฟังน้องยอมเล่าแล้ว  ทำให้นึกถึงคำสอนของท่าน ว.วชิรเมธี  ที่ว่า....

เวลาเรามองอะไร...

ให้หัดสังเกต    คือ มองอย่างมีสติ

ให้หัดสังกา      คือ ตั้งคำถาม

ถ้าสังเกตและสังกาเป็น  ก็จะได้ปัญญาทุกครั้ง

และ  จะเป็นคนที่ลึกซึ้ง

" โชคดีของห้องฟันที่มีน้องพยอม"

  

หมายเลขบันทึก: 450733เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2011 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

แวะมาเยี่ยมยามครับ

ตามมาให้กำลังใจพี่ ทั้งนวัตกรรมและชิ้นงานก็มีประโยชน์ทั้งคู่เลยครับ...

เยี่ยมมากค่ะ ทำได้ง่าย ต้นทุนน้อย ได้ผลเกินคาด

สวัสดีค่ะพี่เขี้ยวเพิ่งได้เข้ามาเยี่ยมค่ะ เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ ขอชื่นชมค่ะ

อยากมาชิม พิชซ่าเห็นหลายคน ยอว่าหรอย

งานพัฒนา-งานสร้างสรรค์-นวัตกรรม..

โดยส่วนตัว ผมมองเป็นเรื่องเดียวกัน..

ผมเองก็บุกเบิกงานนวัตกรรมในองค์กร ตั้งใจตั้งมาเป็นศูนย์เลยด้วยซ้ำไป แต่ตอนนี้มีน้องๆ มารับช่วงต่อแล้ว..

ยุคนี้ น่าจะพูดว่าเป็นยุคแห่งนวัตกรรมกันอย่างจริงๆ จังๆ ได้แล้วกระมังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท