๘๓.เทคนิคการทำสงครามที่ทำให้ขุนเจืองชนะข้าศึกและได้ใจคน


ในเรื่องดังกล่าวนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเหตุการณ์ศึกหิรัญเงินยางและสถานการณ์การทำศึกสงครามของขุนเจืองธรรมิกราช ตลอดไปจนถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้พระองค์ทรงอยู่เหนือข้าศึก นี้ว่า..........

๒.๒.หลักการทำสงคราม

                เมื่อดูตามหลักการดังกล่าวนี้ขุนเจืองได้จัดเตรียมตามหลักการ  ๓  ประการดังนี้ [1]

                ๑) หลักการเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์  คือเตรียมรถศึก , ม้าศึก และรถขนสัมภาระให้มาก ในกลยุทธซุนวูกล่าวไว้ถ้าจะให้ดีต้องมีมากถึงอย่างละ  ๑,๐๐๐  คัน

                ๒) หลักการเตรียมทหาร คือมีการฝึกซ้อมทหารให้มีการพร้อมในการรบอีกนับแสนนาย และในจำนวนทหารเหล่านี้พร้อมที่จะส่งเสบียงไปไกลถึง ๑,๐๐๐  ลี้ ได้

                ๓) หลักการเตรียมเงินสำรองท้องพระคลัง คือการใช้จ่ายทั้งในการข่าวกรอง, ยุทธภัณฑ์, การซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น  ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีศึกแกวประชิดเมืองหิรัญเงินยางนั้น  ขุนเจืองได้จัดกระบวนทัพและส่งหน่วยข่าวกรองออกไปดังนี้

-                   สร้างอุดมการณ์ ขุนเจืองได้รับทราบข่าวที่ขุนชินผู้เป็นลุงแจ้งความประสงค์มาก็ทรงดีพระทัยที่จะได้ออกรบตามอุปนิสัย ๑  ดีพระทัยที่จะได้เมืองเพิ่มขึ้นมา ๑  ดีพระทัยที่จะได้สร้างรัฐพะเยาให้เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ๑  (ตามตำนานกล่าวถึงตอนนี้เอาไว้ว่า พระองค์ทรงดีพระทัยเสมือนพระอินทร์จักได้รมไอศวร อะไรประมาณนั้น)

-                   ส่งหน่วยข่าวกรอง จรชน ขุนเจืองได้ส่งนันทเสนาขุนศึกคู่พระทัยเดินทางเป็นทัพหน้าไปกับหมื่นพิจิตร  เพื่อไปส่งข่าวบอกขุนชินผู้เป็นลุงว่าให้ตรึงกำลังและให้ต่อสู้อย่างห้าวหาญเข้มแข็งก่อน  ประมาณ  ๑  เดือนทัพจากภูกามยาวจะไปถึง ในการนี้ยังได้ศึกษาการจัดทัพและประเมินกำลังข้าศึกไปด้วย

-                   ระดมพลจากเมืองต่าง ๆ ทรงเรียกระดมไพร่พลทั้งเมืองพะเยา หรือภูกามยาวอันเป็นศูนย์กลางแห่งรัฐ,   เมืองลอ,   เมืองเทิง,   ชะลาว,   เชียงแรง,   เมืองหงาว,  เมืองออย,  พราน(พาน) , งาว,  แช่เลี่ยง,  เชียงแช่คิด,  หนองขวาง,  แช่หลวง,  แช่ห่ม และ เมืองวัง  เป็นต้น

-                   จัดวางกำลัง-กองหนุน ทรงมอบภาระให้ขุนชองพระอนุชาดูแลรักษาบ้านเมือง

-                   รถศึก-รถเสบียงพร้อม ทรงมีกำลังพลประมาณ  ๓๐,๐๐๐  นาย  ช้างศึก  ๑,๐๐๐  เชือก  ม้าศึก  ๑๐,๐๐๐  ตัว

-                   กองทัพพร้อม เมืองหนองหลวง  เมืองฟืม  จัดรี้พลมาสมทบอีก  ๓๓๓,๐๐๐  นาย,  ช้างศึก  ๗,๐๐๐  เชือก,  ม้าศึก  ๓๐,๐๐๐  ตัว

 

.๓.เหตุปัจจัยทำให้ขุนเจืองธรรมิกราชชนะศึก

     การศึกในแต่ละครั้งขุนเจืองได้รับชัยชนะอย่างต่อเนื่อง การประสบความสำเร็จนั้นมิใช่จะเกิดจากอภินิหาริย์  แต่เป็นเหตุปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้ว  นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังมีเหตุปัจจัยอีก  ๓  ประการ กล่าวคือ 

     ๑) ทรงผูกใจคนท้องถิ่น หรือประเทศนั้น ๆ เช่นมีการผูกพันเป็นพี่เป็นน้อง ขุนเจืองทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีวิสัยทัศน์ดี พระองค์ทรงมีสัจจะสามารถผูกใจคนท้องถิ่นให้มาเป็นสมัครพรรคพวกได้โดยการอาศัยเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เป็นตัวกำหนด นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังทรงเป็ฯนักการทูตที่ดีเยี่ยมสามารถนำทัพออกไปตีเมืองต่าง ๆ โดยมีกองกำลังหนุนช่วยตลอดทางอันได้แก่เผ่าพันธุ์ในรัฐนั้น ๆ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้พร้อมใจกันสนับสนุนพระองค์ในการทำศึกสงคราม

     ๒) ทรงปลดปล่อยและทรงต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบ คือการปลดปล่อยทาส แม้ในยุคพะเยาโบราณจะเป็นสังคมที่มีศึกสงครามแต่พระองค์ก็ทรงใฝ่สันติภาพ  โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของกลุ่มชนด้วย  เช่นมีการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยทาสในล้านช้าง  และเมื่อชนะแกว หรือเวียดนามตอนเหนือแล้วยังได้ส่งคนพะเยาให้กลับถิ่นเดิมอีกด้วย ซึ่งข้อนี้ทำให้ชนเผ่าต่าง ๆ นับถือพระองค์ว่าเป็นผู้ปลดปล่อยและกอบกู้เอกราชของชนเผ่าต่าง ๆ

     ๓) ทรงมีบุคลิกเป็นแบบผู้นำที่ชอบใจของผู้คน หรือการเป็น Hero  นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นที่ประทับใจและภาคภูมิใจของชนเผ่าต่าง ๆ จนเป็นเหตุให้พระองค์มีชื่อเสียงเกียรติยศมากมายถึง  ๓๓  พระนามและมักอ้างพระนามของพระองค์เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ชนในเผ่า  หรือรัฐต่าง ๆ หึกเหิมเอาอย่างพระองค์

 

     ในเรื่องดังกล่าวนี้ จิตร  ภูมิศักดิ์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเหตุการณ์ศึกหิรัญเงินยางและสถานการณ์การทำศึกสงครามของขุนเจืองธรรมิกราช ตลอดไปจนถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้พระองค์ทรงอยู่เหนือข้าศึก นี้ว่า      

     ......ระยะนั้นขุนเจืองครองเมืองพะเยา, ขุนชินหรือลาวชิน

(ในมหากาพย์เรื่องท้าวฮุ่งเรียก ท้าวซึ่ม) ผู้เป็นลุงครองอยู่

เมืองเงินยางอันเป็นศูนย์กลางใหญ่  ได้ขอกำลังขุนเจือง

ไปช่วยรับศึกแกวประกัน (เวียดนามเหนือ) ขุนเจืองตีทัพ

แกวประกันแตกแล้วยกไปยึดอาณาจักรล้านช้าง  จากนั้นก็

ยกไปปราบเมืองแกวประกันได้เมื่อ  พ.ศ.๑๖๗๗ ,

ทางจีนถึงกับยอมรับรองอำนาจของขุนเจืองเหนือเมืองแกวประกัน

 สาเหตุใหญ่ที่ทำให้ขุนเจืองมีชัยชนะเหนือล้านช้างตลอดไป

จนถึงแกวประกันก็เพราะขุนเจืองดำเนินนโยบายผูกมิตรกับชนชาติข่า

  ในอาณาจักรล้านช้างนั้น  ชนชาติข่าคือชนพื้นเมืองที่มีอยู่มากกว่าลาว,

....ในยุคนั้นข่าถูกลาวเหยียดลงเป็นข้าทาส (ข่า ภาษาลาวแปลว่า ทาส)

 ต้องถูกเกณฑ์แรงงานมารับใช้ชนชั้นปกครองลาว, พวกข่าย่อมไม่พอใจ

(ในการนี้) ขุนเจืองใช้นโยบายเข้าผูกมิตรกับข่า  สาบานเป็นญาติ

พี่น้องกันโดยเฉพาะกับพวกข่าภูสูง(เหนือทุ่งไหหิน) 

จึงมีกำลังเพียงพอที่จะปราบล้านช้างและแกวประกัน

และการได้รับเกียรติเป็นคนเท่าเทียมกันนี่เองพวกข่าจึงนับถือขุนเจืองมาก

 และยังมีข่าที่นับถือผีเจืองอยู่จนบัดนี้และยังเชื่อว่าขุนเจืองจะมากอบกู้

ชนชาติข่าอีกในอนาคต เพราะเหตุนี้เอง เลยทำให้นักพงศาวดาร

บางคนคิดเลยเถิดไปว่าขุนเจืองเป็นกษัตริย์ของชนชาติข่า.......[2]

 

 

.เจืองธรรมิกราช ; มหาราชแห่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

 

.๑. คำนิยามแห่งเจือง

     เมื่อขุนจอมธรรมพระราชบิดาทรงครองราชย์ได้  ๒  ปีก็ได้พระราชโอรสผู้ทรงสง่างามพระองค์นี้ซึ่งประสูติปีกัดเหม้า  เดือน  ๗  เป็งเม็งวันอังคาร (๓) ไทยกดเส็ด  ยามแตรรุ่ง  ๑-๒-๗  อยู่เมษ  ราหูอยู่กุมภ  ๓  อยู่มังกร  ๕  อยู่กรกฎา  ๔-๖  อยู่ตุลย์, ล. อยู่มีน  ราชบัณฑิตจึงถวายพระนามให้พระโอรสองค์น้อยว่า  ขุนเจือง

     โหราจารย์             ทำนายว่าพระราชโอรสพระองค์นี้จะเป็นผู้มีบุญญาธิการ มีความเก่งกล้าสามารถและปราบพื้นพิภพ คือชมภูทวีปทั้งหมดนี้ได้ 

     มีผู้ขยายความตรงนี้เป็นตำนานเสริมสร้างพระบารมีเล่าสืบต่อกันมาว่าความรู้ความสามารถของขุนเจืองธรรมิกราชนั้นเก่งกาจสามารถสู้ศึกสงครามเดินนำลุยไฟได้หมด ยกเว้นแต่การบินขึ้นไปในอากาศเท่านั้น  [3]

     ในตำนานเวลาประสูติ  เทวดานำเครื่องทิพย์  ๓  ประการมาถวาย คือ  แส้ทิพย์  ดาบทิพย์  คทาทิพย์  นำมาวางไว้ข้างพระวรกายของพระราชกุมาร

     คำว่า ขุนเจือง  เป็นภาษาจีน  ซึ่งมีความหมายถึงกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งพระยาอนุมานราชธน ได้ให้ทัศนะในหนังสือเรื่อง “ไทยจีน”  ดังนี้  

     คำว่า ขุน พ้องกับคำในภาษาจีนว่า  กวัน  เป็นศัพท์ในอดีตที่มีความหมายว่ากษัตริย์ โดยปัจจุบันออกเสียงว่า  จวิน 

     ส่วนคำว่า เจือง  พ้องกับอักษรจีนว่า  จ่าง  จีนโบราณออกเสียงว่า  เจียง  ซึ่งหมายถึงประมุข, หัวหน้าใหญ่ของกลุ่มชน และจะใช้คำนี้ในกรณีที่ประมุข หรือหัวหน้าใหญ่ของชนเผ่าที่มิใช่คนจีน [4]  และในเรื่องดังกล่าวนี้ยังได้อ้างถึงท้าวหุมพัน  แห่งสถาบันค้นคว้าวัฒนธรรม  กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่า คำว่า เจือง ในชื่อท้าวเจือง  นั้นเป็นภาษาเวียดนามและมีนิยามว่า  อาวุโส และหัวหน้า ซึ่งภาษาเวียดนามนี้ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาจีนอีกที่หนึ่ง   [5]

                ขุนเจือง ทรงได้พระนามว่า  ธรรมิกราช  หรือ ธรรมราชา  ซึ่งเป็นแนวคิดตามแนวพุทธศาสตร์ ทั้งนี้ระบบที่ขุนเจืองนำมาใช้คือ กษัตริยาธิปไตย  (Monarchy  Royalty)  ที่ทรงธรรมหรือราชาปราชญ์ (Philosopher-King) ซึ่งนักปราชญ์อย่างเพลโต,  อาริสโตเติล, ขงจื้อ  และซุนวู ต่างก็มีแนวความคิดในเรื่องดังกล่าวมานี้คล้าย ๆ กัน  [6] แม้จะต่างยุคต่างสมัยกันก็ตาม


[1] อดุลย์  รัตนมั่นเกษม (แปล).  พิชัยยุทธ์ชุนวู.  (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์, ๒๕๓๘).  หน้า  ๓๔.

[2] จิตร  ภูมิศักดิ์.  เสียมกุก กองทัพสยามที่ปราสาทนครวัด.  (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๕). หน้า  ๒๓.

[3] พระธรรมวิมลโมลี. ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๓๙).หน้า ๓๕๕.

[4] ยรรยง  จินะนคร. บทความเรื่อง “ความเป็นมาชื่อขุนเจืองและท้าวเจือง”  ศิลปวัฒนธรรม.  ฉบับที่  ๗  ปีที่  ๑๗  เดือนพฤษภาคม  ๒๕๓๙.  หน้า  ๑๙๒.

[5] เรื่องเดียวกัน  หน้า  ๑๙๓.

[6] ประยงค์  สุวรรณบุบผา. รัฐปรัชญาแนวคิดตะวันออก-ตะวันตก. ( กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๑). หน้า  ๒๔๐–๒๔๑.

หมายเลขบันทึก: 443683เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท