ภาพประดับผนัง "จันทร์กระจ่างฟ้า" จากเศษผ้าไหม


เศษผ้าไหมที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้ามักเป็นเศษผ้าชิ้นค่อนข้างใหญ่ที่จะทิ้งก็น่าเสียดาย แต่เก็บไว้ ก็นำไปใช้งานไม่ใคร่ได้ การนำมาเพ้นท์ด้วยสีอะคริลิค เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า และเพิ่มมูลค่าให้กับเศษผ้าได้เป็นอย่างมาก

อุปกรณ์

ผ้าไหมสีอ่อนขนาด 15*18 นิ้ว

สีอะคริลิค Jo Sonja’s (หรือของยี่ห้อใดๆที่สีใกล้เคียงกัน) สี Purple Madder, Sap Green, Indian Yellow, Titanium White,Cadmium Yellow Light และ Diox Purple

พู่กันแบน Raphael รหัส 8796 เบอร์ 4 สำหรับเพ้นท์พื้นที่เล็ก เบอร์ 2 สำหรับการทำรอยหยักที่ปลายกลีบดอก และเบอร์ 8 สำหรับเพ้นท์พื้นที่กว้าง ,พู่กันตัดเส้น Pyramid รหัส 91014 เบอร์ 00 และพู่กันกลมเล็ก รหัส 8314 เบอร์ 1

แผ่นผสมสีทำจากกระดาษไขรองเค็ก ตัดเป็นขนาดประมาณ 5*12 นิ้ว ทบครึ่ง วางทิชชูม้วนประมาณ 2-3 ทบชิดรอยทบ แล้วพับเป็นซองจดหมายที่มีทิชชูอยู่ตรงกลาง เวลาใช้งาน รินน้ำใส่ในซอง พับปิด ทิชชูเปียกน้ำจะส่งผ่านความชื้นผ่านกระดาษไขมายังสี ทำให้ใช้สีได้นานหลายชั่วโมง

กระดาษลอกลาย

กระดาษคาร์บอน (แบบเดียวกับที่ช่างตัดเสื้อใช้ สีใกล้เคียงกับสีที่จะเพ้นท์ เช่น ใบ ใช้สีเขียว ดอก ใช้สีเหลือง)

ดินสอดำ

เข็มโครเชต์เบอร์ 6 หรือปากกาที่หมึกหมดแล้วสำหรับการลอกลาย

กระดาษรองหลังชิ้นงานเพื่อรองรับสีส่วนเกินจากการเพ้นท์และกันสีเลอะเปื้อนหน้าโต๊ะ

แก้วน้ำสำหรับล้างพู่กัน

ผ้าชิ้นเล็กๆสำหรับซับพู่กัน

วิธีทำ

ลอกลายลงผ้าด้วยกระดาษคาร์บอน ใบลอกด้วยกระดาษสีเขียว ดอกลอกด้วยสีเหลือง

ใบ

สีที่ใช้คือ

สี 1 =    Sap Green                   90%

            Purple Madder             10%

สี 2 =    SapGreen                    95%

            Purple Madder               5%

สี 3 =    Sap Green

สี 4 =    Sap Green                   80%

            Indian Yellow               20%

สี 5 =    Sap Green                   50%

            Indian Yellow               50%

สี 6 =    Sap Green                   40%

            Indian Yellow               40%

            Titanium White             20%

สี 6 =    Sap Green                   20%

            Indian Yellow               20%

            Titanium White             60%

สี 7 =    Sap Green                   10%

            Indian Yellow               10%

            Titanium White             80%

แบ่งสีเพ้นท์ใบเป็น 3 ชุด เพื่อให้ได้ใบสีอ่อนแก่แตกต่างกันออกไป

ชุด 1 คือสี 1 ,2 ,3 ,5 ,6 

ชุด 2 คือสี 3+2 ,3 ,4 ,6 ,7

ชุด 3 คือสี 3+2 ,4+3 , 5 , 6 , 7

1 .เริ่มเพ้นท์จากสีกลางก่อนจนเต็มใบด้วยสีที่ขีดเส้นใต้ในแต่ละชุด

                                            เพ้นท์ด้วยสีกลางจนเต็มพื้นที่

2.แต่งเงาด้วยสีที่อยู่ถัดจากสีกลางมาทางซ้ายมือ เงาตามแนวเส้นกลางใบ เมื่อปาดสีเงาแล้วไม่ต้องเกลี่ยสีเงาให้กลืนไปกับพื้นที่เดิม ปล่อยให้เห็นเป็นแนวชัดเจนไว้ (แสดงด้วยเส้นทึบ)ส่วนเงาภายในตัวใบ ปาดแล้วเกลี่ยขอบสีให้กลืนไปกับพื้นที่ที่เพ้นท์ไว้เดิม (แสดงด้วยเส้นประ)

              ทิ้งรอยปาดให้เห็นเป็นแนวเส้นกลางใบ

                              เกลี่ยขอบสีให้กลืนไปกับพื้นเดิม

3 .เติมสีที่แสดงพื้นที่ที่ถูกแสงด้วยคือสีที่อยู่ถัดจากสีกลางไปทางขวามือ โดยให้พื้นที่สีที่เติมลงไป อยู่ภายในพื้นที่สีกลางที่เพ้นท์ไว้เดิม แล้วเกลี่ยขอบสีให้กลืนไปกับสีพื้นที่ลงไว้แล้วในขั้นที่ 1

                             สีอ่อนที่เติม

4 .เพิ่มแสง โดยเกลี่ยสีภายในพื้นที่แสงเดิมด้วยสีที่อ่อนกว่า (คือสีขวาสุดของสีแต่ละชุด) เพื่อให้ดูสว่างขึ้น

5 .ลากเส้นใบด้วยสี 6

6 .เพิ่มเงา คือการเกลี่ยสีเงาที่เข้มขึ้นภายในพื้นที่เงาเดิม (คือสีแรกสุดของสีแต่ละชุด)เพื่อให้จุดที่เติมดูลึก หรือเข้มกว่าจุดอื่น

 

                                                     สีเงาที่เติม

7 .อาจจะลากเส้นสันใบบางช่วงด้วยสี 6 หรือ 7 เพื่อให้ขอบใบช่วงนั้นสว่างขึ้น

ดอก

สี 1 =    Diox Purple                    5%

            Cadmium Yellow Light  95%

สี 2 =    Cadmium Yellow Light 

สี 3 =    Cadmium Yellow Light  50%

            Titanium White             50%

สี  4 =   Cadmium Yellow Light  20%

            Titanium White             80%

1 .ปาดสี 2 รองพื้นจนทั่วดอกด้วยพู่กันแบนเบอร์ 8 ทิ้งให้แห้งประมาณ 20 นาที

                                                       เพ้นท์ด้วยสีกลางจนเต็มดอก

2.ลอกลายซ้ำลงบนดอกที่แห้งแล้ว หรือให้ดินสอชอล์ค วาดขอบกลีบดอกใหม่

                                                        ลายที่ลอกซ้ำลงบนดอกที่ลงสีรองพื้นแล้ว

3 .เพ้นท์ใจกลางดอกและเกสร

4 .เพ้นท์สีเพื่อแบ่งกลีบกลีบทีละกลีบด้วยพู่กันเบอร์ 4 โดยเปาดสี 2 ทับสีเดิมที่เพ้นท์ไว้แล้วก่อน ขอบของกลีบทิ้งรอยปาดให้เห็นชัดเจนเพื่อเป็นการแบ่งกลีบ แล้วเกลี่ยสีอีกขอบให้กลืนไปกับพื้นเดิม

เกลี่ยสีให้กลืนไปกับพื้นเดิม        ทิ้งรอยปาดไว้เพื่อให้เป็นเส้นขอบกลีบ 

                                                        สีเงาที่ปาดลงไป

แล้วจึงเติมเงาในส่วนที่เหลือของดอก

                                                      ทิ้งรอยปาดแสดงด้วยเส้นทึบ

                                              เกลี่ยสีให้กลืนไปกับพื้นเดิม แสดงด้วยเส้นประ

แล้วเกลี่ยสี 3 ลงตามตำแหน่งแสง (ตรงรอยต่อของสี ต่อเชื่อมด้วยการใช้พู่กันแตะสีทั้งสอง พลิกไปมาบนแผ่นผสมจนได้สีกลางระหว่างกัน เกลี่ยสีทั้งสองให้กลืน)

5 .ใช้พู่กันแบนเบอร์ 2 เกลี่ยสี 4 ภายในตำแหน่งสี 3 เดิม เพื่อให้ดูสว่าง และนูนขึ้น

                                                                 สีของเงาที่เพ้นท์ไว้เดิม 

                                                                    สีของแสงที่เติม

6 .ใช้พู่กันเบอร์ 2 เกลี่ยสี 1 ภายในสี 1 ที่เพ้นท์ไว้เดิม สีจะเข้มขึ้นอีกเล็กน้อย

                            เติมสีเงาลงภายในสีเงาเดิม

 

เติมสีของแสงภายในพื้นที่เดิม

หากต้องการทำขอบกลีบหยักไปมา ใช้พู่กันเบอร์ 2 แตะสี 1 ตวัดเบาๆตามขอบกลีบ แล้วตวัดสี 4 ต่อกัน ความต่างของสี จะทำให้เกิดการหยักไปมา

ทิ้งงานให้แห้งประมาณ 1 วัน จึงทำ Heat Fix แล้วนำไปใส่กรอบ

 

 



ความเห็น (9)

งานเก่าเก็บมาแล้วหลายปี

นำมาอัพบล็อคเสียหน่อยค่ะ

ดองบล็อคนานเกินไป เดี๋ยวจะเปรี้ยวเกิน ^_^

  • สวัสดีค่ะพี่ณัฐรดา สบายดีนะคะพี่ ผลงานยังงดงามเหมือนเดิมนะคะ =)

มาชื่นชมผลงานสวยๆของคุณณัฐค่ะ

ทำอะไรก็สวยไปหมด จริงๆนะคะ

สวยด้วย เพิ่มคุณค่าด้วย

ดูแล้วบอกได้คำเดียวว่าฝีมือครับ ฝีมือจริงๆ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

  • โอโฮ ทำได้ไงคะเนี่ย ต้องบอกเลยว่า " อึ้ง ทึ่ง " ค่ะ คุณยายปรบมือให้ดังๆเลยนะคะ

มาชม

เนียนในเนื้องานจริง ๆ นะนี่...

ลืมขอบพระคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมไป

นำรูปมาเพิ่ม จึงได้เห็นว่าตัวเองลืมไปจริงๆค่ะ

ขออภัยทุกท่านด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท