สิ่งมหัศจรรย์ของเด็ก


การจัดการเรียนการสอนที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง

      ปีการศึกษาใหม่  เป็นความโชคดีของคุณครูที่โรงเรียนทุกคน  เพราะมีครูออกก่อนเกษียณไปหลายคน  แล้วไม่มีครูใหม่เข้ามา   ทุกคนจึงได้สอนตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 1 ไม่ต้องมีชั่วโมงว่าง  สอนเต็มที่  เต็มวัน  งานพิเศษต้องนำกลับมาทำที่บ้าน  แต่เด็กตัวเล็กๆก็ทำให้ครูทุกคนมีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้น  ครูเกษร  ต้องสอนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้น ป.2-ป.6  สนุกสนานมากๆ

       สัปดาห์แรกของการเปิดเรียน  ชั่วโมงแรก เอาแผนการเรียนรู้มาอ่านเตรียมพร้อม

 แผนการเรียนรู้ที่ 1  การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์

ว 1.1 ป.2/1    -   ทดลองและอธิบายน้ำ แสง เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อ

                           การดำรงชีวิตของพืช

ว 1.1 ป.2/2    -  อธิบายอาหาร น้ำ อากาศ เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อ

                         การดำรงชีวิต และการเจริญเติบโตของพืช และสัตว์

                          และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

                     -   บูรณาการสู่การจัดการเรียนการสอน

        อ่านถึงตอนนี้ต้องหยุด   แล้วเราจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร ในเมื่อยังไม่ได้ปลูกพืชเลย  พืชที่ปลูกได้รวดเร็ว  คงหนีไม่พ้นต้นถั่วเขียว..  เพราะตามโครงสร้างของวิชา ใช้เวลาสอนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง  โอ้โห....  พบกับเด็กสัปดาห์ละครั้ง...เด็กยังอ่านเขียนไม่คล่อง  หลายคนมาก  ...ตั้งใจว่า...ลองสักตั้ง....อิๆๆๆ

        เข้าพบนักเรียนในชั่วโมงแรก  เห็นแต่ลูกกะตา  ใสแจ๋ว  ทักทาย  ร้องเพลง   จนสนิทกัน  ชวนพูดเรื่องการปลูกต้นถั่วเขียวในภาชนะที่ไม่ใช้แล้วและหาได้ง่าย  เช่น ขวดน้ำ  กระป๋อง  แก้วพลาสติกใส ถุงใส่ของ  ฯลฯ   ครูแจกถั่วเขียวไปคนละ 30- 50 เม็ด  ให้มานับด้วยตัวเองที่โต๊ะครูหน้าห้อง   ( บูรณาการแล้วนะ )  แล้วให้เพาะในดินเหนียว  ดินร่วน  ดินทราย  (ทบทวนความรู้เก่า)

          มีหลายคนต่อรองว่า หนูขอปลูกกระป๋องเดียวได้ไหมครู  บางคนก็ขยันกว่าเดิมว่าหนูเพาะมา 4 กระป๋องเลย  แต่ไม่ปลูกในดินเหนียวนะ  มันงอกช้า  ..รู้มากซะด้วย..

         กว่าจะตกลงกันได้  ก็เกือบหมด 2 ชั่วโมง  แนะนำวิธีการเพาะ  ให้ทำตาราง..วาดภาพ..การเจริญเติบโตของต้นถั่วเขียวในแต่ละ วัน   จนครบ 5  วัน  แล้วพาถั่วงอกมาในสัปดาห์หน้า  แล้วจะได้เรียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ต่อไป...

         สัปดาห์ที่สอง ได้เจอกัน  ตั้งแต่วันจันทร์ (สอนวันพฤหัสบดี)  เขาจะรายงานด้วยวาจา ตลอดว่าถั่วเขียวเขาเป็นอย่างไร   เจอกันทุกวัน ก็รายงานทุกวัน  ถึงวันพฤหัสบดี เขาตื้นเต้นทั้งผู้ปกครอง(ที่ต้องนำต้นถั่วเขียวมาส่ง)  และนักเรียน ผลัดกันเล่าประสบการณ์การปลูกอย่างสนุกสนาน (ตอนเช้า)   ตั้งแต่ตกแต่งภาชนะที่ใช้เพาะ ไปดำน้ำหาดินเหนียว  และดินทรายที่คลอง       แสดงว่า ครู  ผู้ปกครองและนักเรียนได้สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน (มีการย้ำว่าครูอย่าลืมไปสอนนะ)   ชั่วโมงแรกเขาเรียนคณิตศาสตร์  ครูประจำวิชาบอกว่าเขาไม่ยอมเรียน  นั่งเฝ้าต้นถั่วเขียวทั้งชั่วโมง  ครูต้องเอาต้นถั่วเขียวมาเป็นสื่อการสอน เหตุการณ์จึงสงบ   สมประสงค์ของครู   

          ผลงานที่นำมาส่งครูมีดังนี้

 
 

    ต้นถั่วเขียวผมมันยังไม่งอกครับ  เพิ่งปลูกได้ 2 วันเพราะลืมครับ                             ครูขา...ดูของหนูค่ะ  มันจะยาว  ผัดกับหมูได้แล้ว

 
 

                ถั่วเขียวของผม เป็นอย่างนี้ครับ   แต่เพื่อนผมยังวาดรูปไม่เสร็จ  ครับ         ของหนูครบ  ค่ะแต่ทำไมถั่วเขียวเขาจึงเรียกถั่วงอกค่ะครู

 
 

                       ผมนั่งดูมันงอกทุกวันเลยครับ                                                                    นำมารวมเป็นกลุ่ม     

 
 

                   รวมกันแล้วก็ผลัดกันชม                                                       ผมไม่อยากนำไปรวมกับใครเลย   

 
   

    หลังจากชื่นชมผลงานของทุกคน    ตรวจภาพวาดการเจริญเติบโตของต้นถั่วเขียว   ให้คะแนน (ไม่ให้ไม่ได้  คนไม่นำมาก็ต้องให้ 0        มิฉะนั้นจะเกิดการทะเลาะ แน่นอน )  นำมารวมกันแล้วแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 4 กลุ่ม  แล้วใช้ในการทดลองปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโต  ของพืชต่อไป   

    - นักเรียนกลุ่มที่ 1 ทดลองเรื่อง...อาหาร  (สังเกต ต้นที่ใส่ปุ๋ยและไม่ใส่ปุ๋ย) 

   - นักเรียนกลุ่มที่ 2 ทดลองเรื่อง..น้ำ (สังเกต ต้นที่รดน้ำและไม่รดน้ำ) 

  - นักเรียนกลุ่มที่ 3 ทดลองเรื่อง...อากาศ  (สังเกต ต้นที่ใส่ในขวดมีฝาปิดสนิท และต้นที่ไม่มีฝาปิด )

-  และนักเรียนกลุ่มที่ 4  ทดลองเรื่อง...แสงแดด   (สังเกต ต้นที่วางไว้ในกล่องดำ และต้นที่ได้รับแสงแดด )  

     นักเรียนจัดการหาอุปกรณ์ในห้องวิทยาศาสตร์  และหาที่วางตามแผนที่ได้ตกลงกันในกลุ่ม  แบ่งหน้าที่  เฝ้าสังเกตเป็นเวลา 5 วัน และวาดรูปการเปลี่ยนแปลง  (เพราะยังเขียนไม่ถนัด  ต้องมาแปล  สรุปในชั่วโมงต่อไป)  

        สัปดาห์หน้าเจอกันคงมีเรื่องมาเล่าให้ครูฟังอีกมากมาย  สนุกจริงๆค่ะ  การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงของเด็กๆ สิ่งที่เขาค้นพบ..คือสิ่งมหัศจรรย์....

       

หมายเลขบันทึก: 442528เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2011 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอตามดูกระบวนการที่ครูออกแบบ และกระบวนการที่หนูๆ เรียนรู้นะคะ ^_^

มาดูต้นถั่วเขียวของเด็ก

เติบโตสูงยาวน่าสนใจจริงๆ 

ขอบคุณค่ะ Ico48

       แปลกแต่จริงตอนบันทึก  มันบอกว่าบันทึกไม่ได้

       พี่เลยไม่ได้ตรวจสอบเลย  ภาพยังมีปัญหา

      แต่ก็ขอบคุณที่มาให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์Ico24

 ให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ รู้สึกอบอุ่นจริงๆค่ะ

คุณครูวิทยาศาสตร์เก่งจัง นักเรียนเลยเก่งตาม

ยอดเยี่ยมเลยจ้า

สอนวิทยาศาสตร์สนุกนะคะ ครุดาหลาชอบสอนวิทยาศาสตร์ แต่ผอ.ไม่ให้ค่ะ

ปีนี้เขาให้สวมหัวโขนเป็นครูแกนนำภาษาไทยของโรงเรียนค่ะ นั่งปรับแผนสุดแสนโหด

แทนที่เด็กจะได้เรียนอย่างมีความสุข แต่ครูกลับต้องมาเครียดเรื่องกลัวว่าจะสอนไม่ตามแผน เฮ้อ...

Ico48  ขอบคุณค่ะน้อง

            สอนวิทย์เพราะใจรัก  ศรัทธาในอาชีพ

           ผลสัมฤทธิ์...(o-net)..แล้วแต่จะเมตตา....อิๆๆ

Ico48   คุณครูดาหลา  เป็นคนเก่ง  เขียนกลอนก็เก่ง  เหมาะสมกับครูแกนนำภาษาไทยค่ะ

             ครูสอนแต่งกลอนไม่เป็น   คงไม่เก่งเท่าคุณครูค่ะ  ขอบคุณที่ให้กำลังใจ ค่ะ

สวัดีค่ะคุณครู

จัดการสอนได้น่าสนุกมากค่ะ

Ico48   สวัสดีค่ะ

            ขอบคุณที่มาทักทายค่ะ

สวัสดีค่ะพี่สอนมาเยี่ยมค่ะ นานๆมาทางนี้ พี่สบายดีนะคะ คิดถึงเสมอค่ะ เด็กๆน่ารักมากชอบในกิจกรรมการเรียนรู้จังเลย เยี่ยมๆ

สวัสดีค่ะ

"...สนุกจริงๆค่ะ การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงของเด็กๆ สิ่งที่เขาค้นพบ..คือสิ่งมหัศจรรย์....ไ

ข้อความนี้ยืนยันกับคุณครูได้เลยว่าเด็กสนูกกับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

ขอบคุณเรื่องเล่าดีๆนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท