นักทำลายโลก เขาคิดได้แค่นี้เอง


ถ้ามีตะกอนลำน้ำมาเพิ่มให้กับนาน้อยลง เขาจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น

วันนี้ผมดูรายการทีวีเกี่ยวกับปัญหาการสร้างเขื่อนในลำน้ำโขง ที่ส่งผลกระทบถึงปริมาณตะกอนดิน ที่จะไหลไปทับถมแถวบริเวณปากน้ำโขง ในประเทศเวียตนาม

ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเสมอๆ ในการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำทุกแห่ง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ขนาดไหน

ผมได้มีประสบการณ์ตรงกับเขื่อนลำตะคองที่บ้านผมเอง

ก่อนหน้านี้ นาที่บ้านผมจะเป็นนาที่ยั่งยืนในเชิงผลผลิต ที่มั่นคงดีมาก

จนทำให้เกิดระบบหน่วยนับระดับ "ผลิตภาพของที่นา" มากกว่าจะเรียกเป็นขนาดพื้นที่ดิน

เช่น เวลาคุยกัน พ่อของผมจะบอกว่า เรามีนา ๒๕๐

ที่แปลว่า นานี้จะได้ผลผลิตประมาณ ๒๕๐ ถัง ทุกปี ยกเว้นปีแล้งจัด หรือน้ำท่วม

และการตีราคานา จะว่าไปตามระดับผลผลิต โดยแทบไม่พูดถึงขนาดที่นาว่าเป็นพื้นที่เท่าไหร่

 นาตืนบ้าน นาตืนป้า ก็จะแพงกว่าเพื่อน เพราะให้ผลผลิตดี สม่ำเสมอ

แต่หลังจากการสร้างเขื่อนลำตะคอง เงื่อนไขและวิธีคิดก็เปลื่ยนไป

จะต้องมีการใช้ปุ๋ยคอกจึงจะได้ผลผลิตเท่าเดิม และต้องใช้มากขึ้นๆ

ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยคอกมีไม่พอ และต้องใช้มากขึ้นๆ อีกเช่นกัน

ทำให้หน่วยนับผลิตภาพของที่ดินหมดความหมาย เพราะระบบธรรมชาติที่สนับสนุนอยู่ได้สูญหายไปแล้ว

และในช่วงที่มีมาก ก็ไม่มีใครคิดจะเก็บกัก หรืออนุรักษ์ไว้ พอหมดไปหรือน้อยลง ก็หันไปพึ่งปัจจัยภายนอก

ดังนั้น ปัญหาดินตะกอนที่ลดน้อยลง จนทำให้เกิดปัญหากับผลิตภาพของดินจึงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด

ชาวนาทุกคนที่มีนาโคก หรือ นาข้างบ้าน ก็จะใช้วิธีการนี้ดักตะกอนจากชายป่า หรือตะกอนดินจากหมู่บ้าน เพื่อการปรับปรุงนาของตนเอง เรียกว่า "นาตืนป่า" หรือ "นาตีนบ้าน" ที่มักดีอยู่นาน

แต่ปัจจุบันไม่มีทั้งป่า และแทบไม่มีทั้งตะกอน "ดีๆ" จากหมู่บ้าน

นาแทบทุกแห่ง "โทรมพอๆกัน"

ความรู้ชุดเดิมนั้น ไม่สามารถใช้ได้ "ตรงๆ" อีกต่อไป

ต้องนำความรู้ที่มี มาปรับใช้ใหม่

ถ้าอยากได้นาตีนป่า ก็สร้างป่าในนาของตนเอง

ถ้าอยากได้นาตีนบ้าน ก็ใช้ขยะอินทรีย์ที่หาได้ใส่ลงในนา

นี่คือสิ่งที่จำเป็นต้องปรับใช้ ให้สิ่งที่บรรพบุรุษเคยใช้ เคยมี ให้ยังคงอยู่เท่าเดิม

แต่ นักทำลายโลก เขาจะมองเชิงใช้ประโยชน์อย่างเดียว

ถ้ามีตะกอนลำน้ำมาเพิ่มให้กับนาน้อยลง เขาจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น

เขาคิดได้แค่นั้นเอง

น่าสงสารมาก

และต้องขอแสดงความยินดีกับบริษัทค้าปุ๋ยเคมีทั้งหลาย ที่ท่านทำให้เขาเป็น "ทาส" ทางความคิดของท่าน และเป็นลูกค้าที่ "ซื่อสัตย์" ต่อท่าน จนวันตาย

เขาน่าจะช่วยให้ท่านร่ำรวยจนตลอดอายุขัยของเขา

เขาจะรวยเหมือนท่านบ้างไหมนั้น เราก็รู้กันอยู่แล้วว่า "เป็นไปแทบไม่ได้"

ทางเดียวที่เป็นไปได้ ที่จะให้เขามีชีวิตที่ "ร่ำรวย" ก็คือ เลิกสวามิภักดิ์ต่อระบบการพึ่งผู้อืน แต่อาจต้องพึ่งเป็นครั้งคราวได้

แต่วิบากกรรม ข้อมูลที่มี และความรู้ความเข้าใจ ของนักทำลายโลกนั้น หนักหนาสาหัส

ไม่ง่ายที่จะแก้ไข ไม่ง่ายที่จะเปลี่ยน

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมครับ

มันเป็นเช่นนั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 440956เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2011 02:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

ดอยทางภาคเหนือกลายเป็นไร่ข้าวโพดไปหลายดอยแล้ว ปีนี้เกิดเหตุการณ์ใหม่ คือน้ำท่วมหน้าแล้งสูงถึงอกถึงคอ

ในอนาคตคงเป็นเหมือนภาคใต้ เพราะถางป่าเป็นไร่ข้าวโพดส่งโรงงาน

กรรมใดใครก่อ ชาวบ้านต้องมารับผลของกรรมนั้น

หรือว่าเงินมีอำนาจมากจนกรรมตามไม่ทันคะ

ผมเข้าใจว่าเป็นวิบากกรรมที่สร้างร่วมกันครับ

แม้จะไม่ร่วมสร้างก็ร่วมรับผลประโชน์

หรือไม่ก็กรรมจากความรู้ไม่พอใช้ในการตั้งบ้านเรือน

อาจารย์ผมสอนว่า "นกจะสร้างรังมันยังดูต้นไม้"ครับ

เราสมองใหญ่กว่านกนะครับ

"กรรม" น่าจะมีที่มาสักอย่างครับ

มาเยี่ยมท่านอาจารย์อีกครั้ง

สวัสดีค่ะอาจารย์

พอเข้าสู่หน้าฝนที่บ้านของหนูก็เริ่มเตรียมการในการทำนาปลูกข้าวกันแล้วค่ะคุณแม่บอกว่าปีนี้ฝนตกดีเกือบทุกวันเลยค่ะลูก ๆ บอกไม่ให้แม่ทำนาแล้วกลัวว่าแม่จะเหนื่อย แม่ก็ไม่ยอมค่ะบอก ว่าข้าวแพงถึงแม้จะว่าจ้างให้คนอื่นช่วยยังดีกว่าซื้อข้าวทานค่ะแต่ทุกปีแม่ก็ไม่เคยขาดทุนค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ที่นาของหนูเป็นนาข้างบ้าน และ นาโคกค่ะ พอเปรียบเทียบระหว่างนาบ้านกับนาโคก นาบ้านจะได้ผลผลิตมากกว่าค่ะอาจจะเป็นเพราะว่าใส่ปุ๋ยคอกเพียงพอ ที่บ้านจะเลี้ยงวัวเลี้ยงควายด้วยตอนหนูยังเเป็นเด็ก คุณตาจะทำคอกวัวคอกควายไว้ไต้ถุนบ้านค่ะแต่ตอนนี้คุณพ่อจะแยกไปต่างหากที่ ที่นาและจะสร้างเถียงนาเฟื่อนอนเฝ้าค่ะ ก็เลยมีปุ๋ยคอกเพียงพอค่ะ และจะติดถนนด้วยค่ะหนูเห็นคุณพ่อเขาทำคูกั้นน้ำเพื่อให้น้ำไหลเข้าไปในนาด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะอาจารย์สำหรับบันทึกที่ให้ความรู้และให้ข้อคิด

อาจารย์ครับ

นาอีกแบบหนึ่งที่ เป็นแหล่งรวมตะกอนเเม่น้ำ เราจะเรียกว่า "นาตีนน้ำ" ได้ไหมครับ??

เขาเรียกว่า "นาหนอง" หรือ "นาน้ำท่วม" ครับ แล้วแต่ขนาดพื้นที่

อย่างแถวกรุงเทพฯ ก็เป็นนาน้ำท่วมมาแต่เดิมครับ

วันก่อนคุยกับยายแถวๆหลักสี่ บอกว่าเเถวนี้เป็นนาลุ่ม เเถวสนามบินดอนเมืองเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ต้องพายเรือกัน ยายเป็นคนเก่าแก่ที่นี่ เล่าเรื่องที่น่าสนใจให้ฟังเยอะเลยครับ

ก็เลยดูว่าเเถวหลักสี่เป็น นาหนองด้วยเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท