ต้นไม้กับระบบเกษตรยั่งยืนในเขตร้อน


ถ้าไม่มีต้นไม้จะไม่สามารถพึ่งตนเองและนำไปสู่ความยั่งยืนได้

ในระยะประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ผมได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับตันไม้มากขึ้นโดยลำดับ

ทำให้ผมได้เห็นความสำคัญของต้นไม้ในหลายมิติมาก

ตั้งแต่

  • การเป็นร่มเงา ทำให้ร่มเย็น ร่มรื่น
  • เป็นพืชผัก ผลไม้ สมุนไพร แบบไม่ต้องกังวลกับปริมาณฝน หรือฤดูฝน
  • เป็นอาหารสัตว์ในเขต หรือช่วงแล้ง
  • ใบร่วงเป็นปุ๋ยบำรุงดิน กิ่งก้านเป็นฟืน เป็นถ่าน
  • ต้นเป็นไม้ก่อสร้าง
  • รากคอยดักจับน้ำอาหารในดิน ไม้ให้ถูกชะล้างพังทะลาย
  • สังคมต้นไม้เป็นที่พักพิงของสัตว์นานาชนิด ที่ช่วยดูแลระบบนิเวศ และเป็นอาหาร

แต่เมื่อมีการพัฒนาการเกษตรเลียนแบบเขตอบอุ่น ก็เน้นการตัดต้นไม้ออก โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้เครื่องจักรทางการเกษตรขนาดใหญ่

  • ทำให้ดินและสภาพแวดล้อมขาดต้นไม้ดูแล
  • ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมในแทบทุกมิติ

ต้องมีการใช้ปุ๋ย ใช้สารเคมีฆ่าหญ้า สารปราบศัตรูพืช ที่ยิ่งทำให้ดินเสื่อมโทรมลงไปอีก

  • ขาดทั้งแหล่งธาตุอาหาร แหล่งปุ๋ยอินทรีย์ ระบบสำรอง และระบบนิเวศ
  • ที่ไม่มีทางแก้ไขได้โดยระบบเคมี

เพราะขาดระบบสำรอง ระบบเก็บกัก และระบบอนุรักษ์ ยิ่งใช้สารเคมีมากยิ่งทำให้ดินเสื่ิอมโทรม 

พอพูดถึงต้นไม้ ก็มีคนไปสับสนกับไม้เกษตรยืนต้น เช่นยางพารา ไม้ผล ที่ไม่มีระบบการทำงานในเชิงระบบนิเวศดังกล่าวข้างต้น

แม้จะมีบ้างก็ไม่ครบ หนำซ้ำต้นไม้เหล่านี้ยังมักเอาตัวไม่รอด ยังต้องพึ่งปุ๋ยพึ่งยา ที่นำไปสู่ความเสื่อมโทรมเหมือนกับพืชล้มลุก

พืชยืนต้นเหล่านี้จึงไม่สามารถทำหน้าที่แบบ "ต้นไม้ป่า" ได้

และไม่สามารถทำให้เกิดระบบเกษตรยั่งยืนได้

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า

ถ้าไม่มีระบบ "ต้นไม้" จะไม่สามารถพึ่งตนเองและนำไปสู่ความยั่งยืนได้

เพราะต้องพึ่งปัจจัยภายนอกมาก ที่มักนำไปสู่การขาดทุนและความเสื่อมโทรมในที่สุด

ดังนั้น เกษตรยั่งยืนในเขตร้อน ขาดระบบต้นไม้ไม่ได้ครับ

เพราะต้นไม้อยู่กับเรามายาวนาน

แต่ก่อนเราพึ่งพาป่าธรรมชาติได้ ปัจจุบันเราต้องสร้างเอง ในพื้นที่ของเราเอง

ขณะนี้เครือข่ายปราชญ์กำลังศีกษาอย่างจริงจัง ว่า

  • ต้นไม้ชนิดใด เหมาะกับระบบเกษตรแบบไหน
  • ระยะห่าง และระบบการปลูกแบบใดที่จะสามารถดูและพื้นที่ได้อย่างพอเพียง
  • ระบบการจัดการและดูแลต้นไม้ให้เกิดประโยชนต่อทั้งคนและระบบนิเวศมากที่สุด

งานนี้ทางราชการยังหาเจ้าภาพไม่ได้เลยครับ

ต่างคนต่างเกี่ยงกัน ว่าไม่ใช่หน้าที่ตน

ที่สำคัญ ได้ผลงานช้า ไม่ทันเลื่อนตำแหน่ง

ข้าราชการและระบบราชการก็เป็นเช่นนี้เอง

ชอบอยู่กับอะไรที่ง่ายๆ เร็วๆ แบบบะหมี่สำเร็จรูป

ชาวบ้านคงต้องหาทางพึ่งตนเองไปเรื่อยๆ

งบวิจัยและพัฒนา มีไว้ทำตามกิเลสของนักวิชาการ คงอีกนานจะตื่นจากความเพ้อฝัน

ประเทศ "กำลังพัฒนา" คงเป็นเช่นนี้เองครับ

หมายเลขบันทึก: 440078เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2011 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

และนโยบายอยู่เหนือเหตุผลเสมอ...ปลาใหญ่..ชนะปลาเล็ก

เราต้องเข้าไปเขียนนโยบายครับ

ผมกังวลกับความรู้เป็นพิษจากสายวิชาการมากกว่าครับ

และพวกมากลากไปอีกด้วยครับ

ผมกำลังพยายามปลูกในที่นาตนเอง ครับ ให้มีดอนหัวนาเเหมือนสมัยคุณปู่ คุณตา ท่านไม่ได้ขี้เกียจ แต่ท่านเก็บไว้ เพื่อเป็นที่เลี้ยงสัตว์ในฤดูทำนา ป่าไผ่เอาไว้หาหน่อไม้ ฯลฯ ทุกวันนี้ลูกหลานมีเครื่องทุ่นแรงมาก รถไนดาวน์ถูก วิ่งเต็มทุ่งนาเลย โพน (จอมปลวก) ก็ไม่เหลือ เลื่อยโซ่ถูกกฎหมาย 12 นิ้ว ป่าใกล้หมดแล้ว คนไปขายข้าวเหนียวที่กรุงเทพกลับมากรุกป่ามาก ต้นไม้ที่เคยมีตามหัวไร่ปลายนา สวนมันสำปะหลัง ป่าเห็ด (ที่ดิน สปก.หรือป่าติด สปก. ) เงินมากจากยางพารา และต้องการปลูกเพิ่ม ใบสั่งเลื่อยไม้จึงเยอะแม้แต่น้ำเกี้ยง (รัก) ก็ไม่รอดครับ ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ กลึงทำสากตำส้มตำ ถ้าฝนตกเหมือนภาคใต้จนน้ำท่วมล่าสุด จะน่ากลัวมากทีเดียว

นี่คือความรู้ที่เป็นพิษ กำลังระบาดในทุกระดับครับ

ต้องช่วยกันหน่อยครับ

ขืนปล่อยไป "ทุกคน" ลำบากแน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท