แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.4 (1)


แผนการ แผนงาน เป็นการวางแผนการทำงาน เพื่อเป็นการวางระบบขั้นตอนการทำงาน เพื่อประสิทธิภาพของผลสำเร็จ

         ขอนำแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมปีที่ 4 มาเขียนไว้ในบันทึกนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  เขียนไว้คร่าวๆเพื่อปรับปรุงแก้ไข  ก่อนใช้จริงมันยังมีส่วนที่บกพร่องบ้าง ลองดูก่อนนะคะ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พืชรอบตัวเรา

รายวิชา.สาระวิทยาศาสตร์                                                                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  

แผนการเรียนรู้ที่ 1  โครงสร้างของพืช                            เวลา 3 ชั่วโมง

 

ว 1.1  : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

 ตัวชี้วัดชั้นปี / จุดประสงค์การเรียนรู้    มฐ.ว 1.1(1) / ว 8.1 (1) - (8)

  1. สามารถระบุหน้าที่ของท่อลำเลียงและปากใบของพืชได้

        2.   ทดลองและอธิบายหน้าที่ของราก และลำต้นได้

         3. ทดลองและอธิบายหน้าที่ของปากใบของพืชได้

ชิ้นงาน / ภาระงาน

-  ใบงานทดลองเรื่องหน้าที่ของรากและลำต้น

สาระการเรียนรู้

        - โครงสร้างของพืช

4. กิจกรรมการเรียนรู้

-    กิจกรรมที่ 1  หน้าที่ของรากและลำต้น 

ชั่วโมงที่ 1

 

 กิจกรรมนำสู่การเรียน

             ขั้นนำ                                     

  1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ

  2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน

  3. ครูให้นักเรียนดูต้นพืช 2 ชนิด  (ต้นเทียน  ต้นเฟริ์น หรือต้นอื่นๆ )  จากนั้นช่วยกันบอกโครงสร้างของต้นพืชว่ามีอะไรบ้าง และเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างของพืชทั้ง 2 ชนิดว่ามีโครงสร้างเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้

                  ขั้นดำเนินการสอน

  1. ครูจัดกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 4 คน คละเพศ และความสามารถ

  2. ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่าผลงานของนักเรียน คือผลงานของกลุ่ม

  3. ทุกคนในกลุ่มดำเนินการ   ดังนี้

 1   อ่านใบความรู้  และใบงาน

 2   รับอุปกรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลการทดลอง

  3   ทำการทดลอง ทำกิจกรรม

  4    มอบหมายสมาชิกคนใดคนหนึ่ง บันทึกผลการทดลอง ช่วยกันตอบคำถามตอบคำถาม

  1. ครูมอบหมายภาระงานให้ทุกกลุ่มปฏิบัติ ดังนี้

-     ศึกษาข้อมูลจากใบความรู้ เรื่องรากและลำต้น

-     ทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 โดยคาดคะเนผลที่เกิดขึ้น

-     ทำการทดลองตามกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2 ใบงานเรื่อง หน้าที่ของรากและลำต้น

 ชั่วโมงที่ 2

 
  1. ครูนำการทดลองตามกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1 ที่ครูทำไว้ล่วงหน้ามาให้นักเรียนดูหลังจากที่แต่ละกลุ่มคาดคะเนผลแล้ว จากนั้นแต่ละกลุ่มบันทึกและสรุปผล

  2. สมาชิกแต่ละกลุ่มปฏิบัติตามหน้าที่ของตน โดยร่วมกันทำภาระงานที่ครูมอบหมาย 

  3. ร่วมกันอภิปรายผลการทดลอง เพื่อสรุปเป็นข้อมูลของกลุ่ม และบันทึกผล

 ชั่วโมงที่ 3

 
  1. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทดลอง ซึ่งควรได้ผลดังนี้ ก่อนแช่ต้นเทียนในน้ำสีแดง ลำต้นของต้นเทียนมีสีเขียวใส แต่เมื่อแช่ต้นเทียนลงในน้ำสีแดงทิ้งไว้ 30 นาที รากของต้นเทียนเริ่มมีสีแดง  และลำต้นมีสีแดงด้วย

  2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า เมื่อเฉือนลำต้นตามแนวขวางแล้วสังเกตเห็นอะไร และสิ่งนั้นมาจากไหน

  3. นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปผลการทำกิจกรรมได้ว่า รากทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารขึ้นสู่ลำต้น ส่วนลำต้นมีหน้าที่เป็นทางลำเลียงน้ำและธาตุอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช

 ขั้นสรุป

  1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปได้ว่า ภายในลำต้นของพืชจะมีท่อลำเลียงเพื่อลำเลียงน้ำและอาหาร

  2. ครูให้นักเรียนอ่านหนังสือ (หน้า 7) และทำกิจกรรมพัฒนาการคิดข้อ 2 (หน้า 14)

  3. ครูชมเชยผู้เรียนที่ร่วมมือกันทำกิจกรรมทดลอง และอธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ

  4. ครูตรวจการบันทึกข้อมูลและผลการทดลอง ตามกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1-2 ของผู้เรียน    แต่ละกลุ่ม และชมเชยกลุ่มที่ทำได้ดีที่สุด และให้กำลังใจ และคำแนะนำกับกลุ่มที่ต้องปรับปรุง

 กิจกรรมเสริมความรู้

  1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ  เพื่อขยายความเข้าใจ

  2. ครูมอบหมายให้นักเรียนทำกิจกรรมบูรณาการสร้างสรรค์เพื่อประเมินตนเอง  โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำรายงานเรื่องหน้าที่ของราก ลำต้น และใบ แล้วครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดเวลาส่งผลงาน

 สื่อและแหล่งการเรียนรู้

  1. สื่อการเรียนรู้ ต้นพืชในท้องถิ่น  2-3 ชนิด

  2. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

  3. แว่นขยาย   สีผสมอาหารสีแดง  มีดเหลาดินสอ

  4. วัสดุและอุปกรณ์ตามใบงาน

6. การวัดและประเมินผล

     6.1 หลักฐานการเรียนรู้ (ชิ้นงานสุดท้ายที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้รวบยอด)

           - รายงานเรื่อง หน้าที่ของราก ลำต้น และใบ

6.2 วิธีการวัดและประเมินผล

  1. ตรวจรายงาน

  2. ประเมินทักษะการปฏิบัติการทดลอง

  3. ประเมินกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

  5. สังเกตพฤติกรรมในระหว่างเรียนและการปฏิบัติกิจกรรม

  6. สังเกตพฤติกรรมในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน

6.3    เครื่องมือวัดและประเมินผล และเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ )

  1. แบบประเมินรายงาน

  2. แบบประเมินทักษะการปฏิบัติการทดลอง

  3. แบบประเมินกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  4. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม                    

  5. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์

  6. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้าน

  7. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ด้าน

หมายเลขบันทึก: 439755เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2011 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะพี่สอนIco64 ที่คิดถึง

ขยันจังเลยพี่สาวเรา... ประโยชน์ตกกับเด็กๆ อย่างแท้จริง

คิดถึงมากๆ มายค่ะ

หม่ำข้าวเย็นหรือยังคะ เอาน้ำพริกปลาทูมาฝากค่ะ

 

วันนี้ได้ทราบข้อมูลเพิ่ม จากดร.ต้อม แห่งรพ.อภัยภูเบศร์ ที่เผยแพร่เรื่องสมุนไพรในวิทยุ สวท.กทม. ว่า อัญชัน บำรุงสมอง และบำรุงสายตาด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะน้องครูใจดี

  • ตอนปิดเทอมพี่วิเคราะห์หลักสูตรใหม่  จัดทำแผนอ้วน  แล้วแตกย่อยเป็นแผนรายชั่วโมง  ที่นำมาเขียนเป็นแผนอ้วน 3 ชั่วโมง  ที่ฝึกเขียนครั้งแรก  นำมาลงในบันทึกเพื่อให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆและหลายๆคนช่วยวิจารณ์  จะได้นำไปปรับปรุง 
  • อยากได้คำแนะนำค่ะ /ขอบคุณน้องมากๆค่ะ

ดอกอัญชัน  มีประโยชน์มากมายจริงๆค่ะ

จะแวะไปอ่านความรู้เพิ่มจากในบันทึกคุณกานดาบ่อยๆค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ครูสอน มาเยี่ยมคนขยันในการงานครูมืออาชีพจริงๆค่ะ ไม่พักผ่อนเลยนะคะ เป็นแผนที่ดีมากค่ะ ดีใจที่เผยแพร่ให้ได้เรียนรู้ค่ะ วันนี้น้องถูกประเมินภายใน จากทีม สพม. กรรมการให้สู้ต่อไป ประมาณ กลาง ต.ค. นี้ สมศ. จะเข้าประเมิน รอบ 3 ค่ะ

ไม่มีอะไรมาแลกเปลี่ยนกะเขานะ

แวะมาทักทายตามประสาคนคุ้นเคยและคิดถึง...

   เป็นแผนที่ยังไม่เต็มรูปแบบ  แค่เรียกน้ำจิ้มค่ะ

  •   เพราะอยากให้ทุกคนช่วยวิเคราะห์ค่ะ  ตอนนี้กำลังแตกแผนอ้วนเป็นแผนรายชั่วโมง  และจัดกิจกรรมตามกระบวนการสืบสวนสอบสวน  กระบวนการกลุ่ม  กระบวนการวิทยาศาสตร์  ฯลฯ  ให้มีกิจกรรมที่หลากหลายและครบถ้วน  รอให้สมบูรณ์จำนำมาเผยแพร่ใหม่
  • ต้องตรวจสอบตัวชี้วัดให้ตรงกับมาตรฐาน......ๆๆๆ  อีกหลายมาตรฐาน
  • ขอบคุณค่ะ

 

    แค่มาดูไม่ได้  ต้องช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

  ขอคำแนะนำจากคศ.3 วิทยาศาสตร์ด้วยนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

  สวัสดีค่ะท่านเบดูอิน

  •  บอกเลยได้ไหม ทำไมเขียนไว้แค่นี้ อย่าลืมมาบอกนะคะ
  • จะรอฟังค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท