งานส่วนตัวกับส่วนรวม อะไรควรมาก่อน


ถ้าลูกประสบอุบัติเหตุที่โรงเรียน ในขณะที่กำลังจะเข้าห้องบรรยาย ท่านจะเลือกไปพาลูกเข้าโรงพยาบาลหรือจะสอนหนังสือสักชั่วโมงหนึ่งก่อน

เรื่องนี้ฟังดูแล้วเหมือนจะตัดสินใจได้ง่าย


แต่ก็ดูคล้ายๆเส้นผมบังภูเขา

เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น
ลำดับความสำคัญในการบริหารจัดการก็ยังเป็นประเด็นสำคัญว่าควรจะเลือกทำสิ่งใดก่อน

แท้ที่จริงก็คือ
ความจำเป็นต้องทำนั่นเอง

เช่น
เราควรจะอาบน้ำแต่งตัวให้เรียบร้อย ก่อนการไปทำงานไหม ข้อนี้คงไม่น่าสงสัยอะไร
เพราะการอาบน้ำแต่งตัวไปทำงานก็เหมือนกับการให้ความสำคัญกับส่วนรวมในทีอยู่แล้ว



หรือ ที่ชัดกว่า เช่น
ถ้าลูกประสบอุบัติเหตุที่โรงเรียน ในขณะที่กำลังจะเข้าห้องบรรยาย ท่านจะเลือกไปพาลูกเข้าโรงพยาบาลหรือจะสอนหนังสือสักชั่วโมงหนึ่งก่อน



หรือ
ท่านจะยอมทนทำงานเพิ่มอีกสักสองสามชั่วโมง แทนการไปรับประทานอาหาร และพักผ่อน



ก็ขึ้นอยู่กับว่าท่านให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากกว่า


ผมเคยเห็นอาจารย์ท่านหนึ่งประสพอุบัติเหตุทางถนน
หน้าแตกคิ้วแตกเย็บหลายแผล แต่ก็รีบกลับมาเข้าร่วมประชุมในงานสัมมนางานหนึ่งที่
(ผมรู้สึกว่า) ไม่สำคัญมากนัก เพราะคนอื่นจากที่ทำงานเดียวกันก็ยังมี

ที่ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องให้ความสำคัญกับงานนี้มากขนาดนั้น
(ผมรู้สึกว่า)อาจจะต้องการอวดว่าตัวเองเสียสละทุ่มเทให้กับงานนี้ แต่จากบาดแผลที่หน้า
ดูแล้วทั้งสมเภท และกระดักกระเดิดพอสมควร

ถ้าเป็นผม
ผมคิดว่าคงจะนอนพักที่โรงงพยาบาล หรือที่บ้าน
แล้วให้คนอื่นประชุมแทน น่าจะดูดีกว่า

เพราะผมคิดว่า
คนอื่นที่เห็นบาดแผลคงจะไม่สบายใจเท่าไหร่

ดังนั้น
หลักคิดของผมก็คือ

ตัวเองควรเอาตัวให้รอดเสียก่อนที่จะคิดช่วยคนอื่น
แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยกับการเห็นแก่ตัว ที่คอยแต่จะเอาตัวรอดเพียงอย่างเดียว
แต่ควรรีบทำตัวให้รอดพอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้มากกว่า

และผมยังคิดว่า
การทำงานนั้นเพื่อชีวิต ชีวิตจึงต้องรอด แต่ไม่ควรถือว่า “ใช่ชีวิตเพื่องาน”

หรือ
ยอมตายแบบไม่ให้เสียงานนั้น ในสภาวะปกตินั้น ผมว่าน่าจะมากเกินไป

หมายเลขบันทึก: 439025เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 06:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

Life or Work?

Self or Environment?

Perhaps there are levels of importance depending on situation and time.

For examples:

when nature calls for (toilet) relief, we just have to answer the call; or

when life is threatened, we just have to flee; but

when someone is in danger, we may wait to see that helping does not put ourselves in danger too; or

when we act on 'something', we see some (greater) returns in the future; ...

It is not that clear-cut (in black and white) what we should do.

You, I, all of us are much the same, we make decisions based on what we know and believe.

And somrtimes our actions look very selfish and at times not -- depending on what other people know or believe ;-)

ผมว่าน่าจะมีหลักการที่เข้าใจได้

ทั้งพื้นฐานความคิด และหลักจริยธรรมครับ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

น่าจะเลือกใช้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสมนะคะ 

คือการไม่ฉกฉวยโอกาสให้แก่ตนเองจนเกินความจำเป็น   งานส่วนตัวไม่บกพร่อง  งานส่วนรวมเต็มความสามารถ  และเป็นผลที่เกิดกับส่วนรวม  ไม่นำอคติไปตัดสินงานในหน้าที่หรือส่วนรวม

ขอขอบพระคุณที่ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมชอบที่อาจารย์ เน้นว่า "ในสภาวะปกติ" เพราะบางที สภาวะไม่ปกติ เราก็ต้องเลือกอะไรที่มันสุดโต่งเหมือนกัน

การทรงตัวอยู่บนเส้นลวดที่ขึงอยู่ระหว่าง ส่วนตัว และ ส่วนรวม บางทีมันก็ไม่ง่าย

คำว่าส่วนตัว อาจจะเทียบได้กับตัวเอง(และครอบครัว)

แต่คำว่าส่วนรวม บางทีมันก็คลุมเครือนะครับ

อาชีพที่เราทำถือว่าเป็นงาน "เพื่อ" ส่วนรวมได้ไหม? ถ้าใช่? แล้วถ้าเรามาทำงานด้วยความไม่พร้อม เพราะชีวิตส่วนตัวไม่พร้อมก็คงทำได้ไม่ดี แต่คำว่า "พร้อม" และคำว่า "พอ" กับชีวิตส่วนตัวแต่ละคนก็มีมาตรฐานต่างกัน

หรือคนบางคนที่(อ้างว่า)ทำงานเพื่อส่วนรวม แต่ยิ่งทำก็ยิ่งถอยเข้าคลอง ยิ่งตัดสินใจ ก็ยิ่งจะผลาญเงินประเทศชาติ แบบนี้ ถือว่าเอางานส่วนรวมมาเป็นเรื่องส่วนตัว

สำหรับผมคำว่าส่วนตัวหมายถึงเราคนเดียว และส่วนรวมหมายถึงคนอื่นๆ ไม่ว่าจะคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน คนในสังคม นกหนูแมลง และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นะครับ

ผมเดาเอาว่ามันคงคล้ายๆ กับหลักของความ สันโดษ ในพุทธศาสนาเรานั้นเองใช่ไหมครับอาจารย์

ขอบพระคุณครับ

ถ้าจะใช้ธรรมะ ก็เพียง "อย่าเห็นแก่ตัว"

แต่บางทีเราก็อ้างอย่างหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งครับ

พฤติกรรมแอบแฝงยังมีเป็นปกติในสังคมปัจจุบันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท