เทคนิคการดูพระเนื้อสำริดแก่ทองคำ (๒)


ต้องดูการวาวในเนื้อ สนิมแดงในเนื้อ การกร่อน และสนิมหยก

ในระยะหลายวันที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสทบทวนการแยกพระสำริดแก่ทองออกจากพระโรงงาน ที่เดิมคิดว่าดูได้ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจในเชิงมวลสาร และวิวัฒนาการของการสร้างพระค่อนข้างมาก

ที่ในสมัยโบราณ

  • การหลอมโลหะน่าจะทำเพียงในระดับให้โลหะหลอม แบบข้นๆ เทลงพิมพ์ได้ ความร้อนไม่สูงพอที่จะทำให้โลหะเป็นของเหลวเข้ากันได้ดีแบบในปัจจุบัน
  • ที่น่าจะเป็นปัญหาของการสร้างพระโลหะขนาดใหญ่
  • เช่น กรณีของการสร้างพระพุทธชินราช สมัยสุโขทัย ที่เททองไม่สำเร็จตั้งหลายครั้ง
  • จนถึงกับต้องมี "ตาปะขาว" มาช่วย จนเททองได้สำเร็จ
  • ที่น่าจะมาจากระดับความร้อนในการหลอมโลหะที่ไม่พอ ที่จะทำให้โลหะทอง เงิน ทองแดง หลอมรวมกันไหลไปตามพิมพ์ที่ทำไว้
  • ปัญหาระดับความร้อนต่ำนี้ ทำให้เกิดการแยกเนื้อโลหะออกจากกัน และไปรวมกันเป็นที่ๆ ไม่สม่ำเสมอทั้งองค์

ประเด็นนี้เอง ที่เป็นตัวสำคัญในการแบ่งแยก "โลหะโบราณ" ที่มีความหลากหลายในเนื้อกับ "โลหะใหม่" ที่สม่ำเสมอ กลมกลืน ในเนื้อ

  • ที่ยังต้องพิจารณาเชื่อมโยงกับการวิวัฒนาการ
    • การเกิดสนิมยากง่าย และ
    • การกร่อนหลุดไปของโลหะต่างๆ โดยเฉพาะ ทองคำ เงิน ทองแดง และโลหะอื่นๆที่ปะปนมา
    • ตามอายุ ตามการเก็บรักษา และตามการใช้งานอีกด้วย

ในการพิจารณาดูเนื้อพระ "กรุ"ยังต้องอาศัยแสงสว่างส่องเข้าไปในเนื้อพระ และกล้องกำลังขยายสูง ร่วมกับการสังเกต ในประเด็น

  • ต้องดูความวาวในเนื้อ ที่ดูเป็นเม็ดๆ แวววาว หลากหลายแบบ เพราะเป็นเนื้อโลหะเก่า ได้อายุที่ตกผลึก จนมีจุดทึบจุดใสในเนื้อ 

  •  
    • ในขณะที่พระโรงงาน เนื้อจะดูใหม่ๆ มีเนื้อทึบๆ ด้านๆ แบบเดียวกันทั้งองค์
  • มีสนิมแดงเป็นเม็ดๆ อยู่ในเนื้อทอง ตามที่อยู่ของเม็ดทองคำในเนื้อที่แววาวนั้น ที่จะพบทั้งส่วนที่นูนและส่วนที่เป็นหลุม ถ้ามีโลหะเงินผสมอยู่ด้วย ก็จะมีจุดดำๆ แบบสนิมตีนกา ตรงจุดที่เม็ดเงินปรากฏอยู่ หรือถ้ามีทองแดงก็จะมีสนิมหยกบางๆที่ผิว

สนิมที่หลากหลาย และตรงตามชนิดโลหะ (ใต้จุดสีแดงมีพรายทอง ใต้จุดสีดำเป็นพรายเงิน) ที่ยังทำไม่ได้ในพระโรงงาน

  •  
    • ในขณะที่พระโรงงาน จะทำผิวทองแบบผิวกะไหล่ทอง หรือชุบทอง แล้วทำสนิมหลอกๆ โดยใช้สีแดงโทนเดียวกับสนิมทองทาที่ผิวเป็นแถบๆ หรือจุดๆ โปะอยู่ภายนอก และสีที่ทามักเกาะได้ดี อยู่ในหลุมเป็นจุดๆ 
  • การกร่อนของผิวเป็นหลุมๆ มักพบว่ามีสนิมหยก คราบกรุ หรือมวลสารธรรมชาติอยู่ในหลุม 
    • ในขณะที่พระโรงงานอาจใช้วิธีชุบทอง ลงสี ที่มักไม่ค่อยมีหลุม แม้มีหลุมบ้างก็จะไม่พบคราบสนิมหยกจากในเนื้อ แต่อาจเป็นสนิมโปะจากด้านนอก
  • การเกิดสนิมหยก ที่มีประปรายบางๆตามผิว
    • ในขณะที่พระโรงงานอาจใช้วิธีเอาสีเขียวน้ำเงินของจุนสี "โปะ" มีความเขรอะ และหนา
  • ความหลากหลายของเนื้อที่ผิว ที่หลักๆ มักมีทองคำ เงิน และทองแดง ที่หนาแน่นมากน้อยเป็นจุดๆ กระจัดกระจายทั่วๆไป ทำให้มีเนื้อและสนิมสีต่างกัน ในส่วนต่างๆขององค์พระ แต่ก็กลมกลืนกัน 
    • พระโรงงานมักมีเนื้อเดียว แต่ทำสนิมหลายชั้น แต่ดูแล้วมักเป็นสีเดียว

  • ถ้ามีรอยขีดข่วนที่ผิว ให้สังเกตการเกิดสนิมแดงของทอง และดำของเงินในร่องที่ข่วน หรือในเนื้อทองในระดับลึก (ตามรูปพระด้านหลัง ข้างบน)
    • พระโรงงานมักมีผิวเรียบร้อย ถ้าบังเอิญมีรอยข่วน ก็จะเห็นเนื้อในว่าเป็นอะไร ที่มักไม่มีสนืมแดงในเนื้อของทอง อย่างมากก็ใช้สีแดงๆทาหลอกเอาไว้
  • การเกิดผิวทองเป็นเม็ดๆแวววาวในร่องกร่อน ที่มักมีสนิมหยก แบบเดียวกับผิวปรอทในพระเนื้อเงิน
    • ลักษณะนี้จะไม่พบในพระโรงงาน
  • หลังจากนั้นก็พิจารณาพิมพ์ ความละเอียด อ่อนช้อยของศิลปะ ตรงตามลักษณะของยุค และของกรุต่างๆ
  • โดยไม่ต้องกังวลกับ "ตำหนิ" มากนัก เพราะของแค่นี้ ช่างฝีมือโรงงานทำพระขาย เขาทำได้หมดแล้ว ถ้าแค่ตำหนิยังทำไม่ได้ เนื้อที่ยากกว่าร้อยๆเท่า ย่อมทำไม่ได้แน่นอน

หลังจากดูทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ควรนำไปให้ร้านทองที่ไว้ใจได้ตรวจสอบเนื้อทองคำอีกครั้งหนึ่ง

เพราะพระโรงงานมักไม่ใช้ทองคำ อย่างมากก็กะไหล่ทอง หรือชุบทอง ก่อนการโปะสีชั้นต่างๆ ที่มักดูแล้วเลอะเทอะ ไม่เป็นระบบแบบธรรมชาติ

ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

หมายเลขบันทึก: 437914เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2011 01:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วงการพระน่าเป็นห่วงเรื่องลวงโลก       วิปโยคโศกเศร้าเราได้เห็น

แค่โรงงานปลอมพระไม่น่าเป็น            แต่คนเข็นเป็นเซียนใหญ่ใช้สั่งทำ

ทั้งตำหนิเอกลักษณ์วางไว้หมด            เหล่าคนคดชูชุปอุปถัมภ์

ปั่นกระแสแผ่ตำราพามืดดำ                คนถลำตกเป็นเหยื่อเซียนเถือเอา

ขอแชร์กลอนบทนี้ นะครับ....โดนจริงๆ

เป็นการเรียนรู้ที่น่าทึ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท