ถอดบทเรียน SHA : การบริการด้วยหัวใจ ก้าวไกลถึงชุมชน


การบริการด้วยหัวใจ ก้าวไกลถึงชุมชน

สวัสดีค่ะเพื่อนสมาชิก gotoknow ที่รักและคิดถึงทุกท่าน การเขียนบันทึกครั้งนี้เป็นการหวลกลับมาบันทึกอีกครั้งในรอบเกือบสองปีที่ผู้เขียนห่างหายการบันทึกเรื่องราวในพื้นที่แห่งนี้ ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์  JJ ที่คอยสอบถามข่าวคราวเป็นระยะ และล่าสุดคือท่านอาจารย์ Wasawat Deemarn เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2554  ที่มากระตุ้นเตือน พรวนดินให้ แต่ผู้เขียนก็ไม่ได้ห่างหายไปเลยนะคะ ยังเข้าแวะเวียนอ่านเรื่องราวดีจากที่นี่ทุกวันเช่นกันกับใช้ช่องทางการสื่อสารอื่น เช่น การตรวจสอบ mail มีเชื่อมโยงข้อคิดเห็นผู้ติดตามบันทึกมาถึงทั้งใน gotoknow และ ใน Facebook  ยังได้เข้ามาร่วมตอบแบบสอบถามจากทีมผู้ดูแลเว็บ gotoknow จนได้รับเสื้อยืด gotoknow ตัวล่าสุดเป็นรางวัล  และอีกคนที่ชวนมาเข้าร่วมกิจกรรมที่พบกันใน Facebook ก็คือ คุณนาง...มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์ บอกชวนมาช่วยน้องพรหล้า ♥paula .`๏'- ที่ปรึกษาตัวน้อย.`๏'- หัวหน้าแก๊งค์เป็นผู้ก่อการดีร่วมกันถอดบทเรียน กลุ่ม SHA Fancies  คุณนางให้เข้ามาติดตามข่าวที่บันทึกน้องมะปรางเปรี้ยวกำลังประชาสัมพันธ์เชิญชวนมวลสมาชิกมาทำกิจกรรมดี ๆ ร่วมกัน จริง ๆ สนใจหลายหัวข้อ แต่จะมีปัญญาช่วยทุกทีมหรือไม่นั้นคงเป็นได้ยาก เหตุเพราะติดงานประจำมากมาย ท้ายสุดต้องตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มน้องพรหล้า ได้รับมอบหมายชงชาถอดบทเรียนคนที่ 4 ในหัวข้อ "การบริการด้วยหัวใจ  ก้าวไกลถึงชุมชน"  ผู้เขียนขอแบ่งเขียนบันทึกตาม keyword ออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การบริการด้วยหัวใจ  และ ตอนที่ 2 ก้าวไกลถึงชุมชน  เริ่มกันเลยนะคะ

ตอนที่ 1  การบริการด้วยหัวใจ

 

การถอดบทเรียนเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริการด้วยหัวใจ  ข้อมูลโดยส่วนใหญ่ได้มาจากผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีนิสัยชอบการบันทึกมาบอกเล่าเรื่องราวที่ได้ประสบพบด้วยตนเองและจากผู้ร่วมงาน   ซึ่งมักจะใช้วิธีการให้สะท้อนความรู้สึกแห่งความสุข ความปิติ ยินดี หัวใจลำพองโตด้วยเหตุแห่งความประทับใจที่ได้รับการชื่นชมจากผู้ใช้บริการอย่างจริงใจว่าเหตุใดกิจกรรมใดที่ทำให้ผู้ใช้บริการประทับใจเรา และถ่ายทอดให้คนอื่นได้รับรู้โดยการบอกเล่าหรือเขียนเล่าเรื่องพฤติกรรมการบริการที่ดี ๆ   เอาหละถึงคราวที่พวกเรามาทดลองชิมชา เรื่อง การบริการด้วยหัวใจกันเลยดีกว่า  ตอนนี้ขอเริ่มด้วยคำนิยามของการบริการด้วยหัวใจกันก่อนเลยนะคะ

 

"การบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์" เป็นคำที่ลึกซึ้งกินใจสำหรับผู้ที่ทำงานด้านการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นงานประเภทใด หากทุกคนได้ทำหน้าที่ด้วยใจรักในงานบริการนั้นๆ เราจะสัมผัสได้ถึงความสุขที่แท้จริง  เริ่มง่ายๆ ด้วยการทักทายปราศรัย "สวัสดีค่ะ/ครับ" ยิ้มให้เป็น ไม่ใช่เค้นยิ้มแค่ยิงฟัน แต่เป็นยิ้มอย่างจริงใจนั่นเอง”

http://gotoknow.org/blog/007/227627

 

  จากบล็อก PCT  ศัลยกรรม โรงพยาบาลบำราศนราดูร  โดย  คุณ  น.ส. surg BI  ได้ถอดบทเรียนจากการอ่านผู้ให้บริการระดับผู้ช่วยเหลือคนไข้ว่าการบริการด้วยใจในความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นคิดอย่างไร จากนั้นให้เขาเขียนตอบ  ซึ่งทำให้ทราบความคิดที่พวกเขาเขียนเกี่ยวกับการบริการด้วยหัวใจ  อาทิเช่น 

"การบริการผู้ป่วยด้วยใจ   คือ  หัวใจของผู้ให้บริการ   เริ่มจากเมื่อผู้ป่วยก้าวเข้ามาในสถานบริการ เราผู้ให้บริการยิ้มรับด้วยความเต็มใจ เริ่มให้คำแนะนำกับผู้ป่วยก่อนเพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจและอบอุ่นเป็นกันเอง ไม่สร้างความกดดันให้กับผู้ใช้บริการ ให้ถือว่าผู้ใช้บริการมาเยือนเรา โดยไม่ทราบข้อมูลอะไรมาก่อนเลย"

"การให้บริการแบบเชิงรุกโดยให้คำแนะนำและบริการแบบเป็นกันเองดุจญาติมิตร ดั่งเสมือนว่าผู้ใช้บริการเป็นญาติของเราคนหนึ่งของผู้ให้บริการ  คือ ไม่แสดงอาการรังเกียจ  มองผู้ใช้บริการด้วยสายตาที่เป็นมิตร ไม่แบ่งแยกผู้ป่วย ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา ยิ้มน้อมรับฟังอย่างตั้งใจในข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อบกพร่องของตนเองและพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองเมื่อมีข้อติชมจากผู้ใช้บริการ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า  ”เราใส่ใจ”

“พฤติกรรมการบริการของผู้ให้บริการ คือ ใส่ใจต่อผู้ใช้บริการโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอให้มีการร้องขอเกิดขึ้น หากมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการก็พร้อมที่จะขอโทษ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่อาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นอีก ทั้งพร้อมที่จะให้เหตุผลกับสิ่งที่เกิดขึ้น อีกทั้งผู้ใช้บริการเป็นบุคคลที่สามารถทำให้ผู้ให้บริการได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ พัฒนาศักยภาพ ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป"

http://gotoknow.org/blog/ipdsurgbi/179595

"เราในฐานะผู้ให้บริการทำอย่างไรจึงจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้ หน้าที่ของบุคลากรที่ให้บริการด้านรักษาพยาบาลเป็นหน้าที่ที่มีความละเอียดอ่อน ซึ่งจะต้องมีใจรัก เมตตาธรรมสูงมาก การให้บริการที่แสดงออกมาจะต้องออกมาจากความรู้สึกที่แท้จริง อันเกิดมาจากความเมตตา สงสารเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บป่วย การยิ้ม พูดจาไพเราะ เป็นห่วงเป็นใยช่วยดูแลเสมือนผู้ป่วยเป็นญาติของเราคนหนึ่ง ต้องแสดงออกมาจากใจของเรา ก็จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ ลดความกังวลใจลง การเจ็บป่วยก็จะบรรเทาน้อยลงทางด้านจิตใจ ในด้านการรักษาเป็นหน้าที่ของแพทย์ แต่การให้บริการหรือใกล้ชิด ดูแลเราจะมีเวลาอยู่กับผู้ป่วยมากกว่า  เพราะฉะนั้นการบริการด้วยใจนั้นมีจุดเป้าหมายอยู่ที่ผู้ป่วยคือ ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยเกิดความประทับใจ พึงพอใจในการให้บริการของเราแล้วอยากกลับมาใช้บริการของโรงพยาบาลเราอีก เราต้องให้การบริการหรือการดูแลต้องทำจากใจ อย่านิ่งดูดาย ต้องมีรอยยิ้ม ทั้งหน้าตา ท่าทาง กริยามารยาท การพูดจาไพเราะ รู้จักกาลเทศะ แม้แต่การแต่งตัวต้องดูสะอาดเรียบร้อยและการให้บริการต้องรวดเร็วทันใจของผู้ป่วยจึงจะประทับใจไม่รู้ลืม ถ้าเราทุกคนรู้จักทำหน้าที่ของเราให้ได้ผลดีแล้ว สิ่งดีๆก็จะตามมา เพราะเราทำออกมาจากใจนั้นเอง

                ยิ้มแย้มแจ่มใส  ตั้งใจสนทนา

                เจรจาไพเราะ  สงเคราะห์เอื้อเฟื้อ

                (คือหัวใจของการให้บริการ) "

http://gotoknow.org/blog/ipdsurgbi/180747

สรุปบทเรียนสำหรับตอนนี้

การบริการด้วยหัวใจ เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้ให้บริการทุกคนที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญเพื่อให้ผู้ใช้บริการประทับใจและพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับ ซึ่งความพึงพอใจของผู้ใช้บริการดังกล่าวนั้น คือ ดัชนีชี้วัดคุณภาพและความสำเร็จในการจัดบริการ

การบริการด้วยหัวใจ  เป็นทักษะส่วนบุคคลของผู้ให้บริการที่สามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ของผู้ให้บริการที่รู้เขารู้เรา และจริงใจในการให้บริการโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ที่จะช่วยเยียวยาให้ผู้ใช้บริการได้รับการบริการดูแลรักษาที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยได้มาตรฐานวิชาชีพจนเป็นที่พึงพอใจ มั่นใจอยากกลับมาใช้บริการอีก และเมื่อยามเจ็บป่วยก็สามารถฝากผีฝากไข้ได้

พฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจที่ทำให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจประทับใจ มีทักษะที่สำคัญที่ผู้ให้บริการควรรับรู้เพื่อนำไปปรับใช้ ก็คือ

  1. ทำหน้าที่ด้วยใจรักในงานบริการนั้นๆ
  2. ทักทายปราศรัย "สวัสดีค่ะ/ครับ"
  3. ยิ้มให้เป็น ไม่ใช่เค้นยิ้มแค่ยิงฟัน แต่เป็นยิ้มอย่างจริงใจ
  4. ยิ้มน้อมรับด้วยความเต็มใจ
  5. ให้คำแนะนำกับผู้ป่วยก่อนเพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจและอบอุ่นเป็นกันเอง
  6. ไม่สร้างความกดดันให้กับผู้ใช้บริการ ดูแลผู้ใช้บริการดุจญาติมิตร
  7. ให้ถือว่าผู้ใช้บริการมาเยือนเราโดยไม่ทราบข้อมูลอะไรมาก่อนเลย
  8. ดูแลให้บริการผู้ใช้บริการแบบเป็นกันเองดุจญาติมิตร ดั่งเสมือนว่าผู้ใช้บริการเป็นญาติของเราคนหนึ่ง
  9. ไม่แสดงอาการรังเกียจ  
  10. มองผู้ใช้บริการด้วยสายตาที่เป็นมิตร
  11. ไม่แบ่งแยกผู้ป่วย ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา 
  12. ฟังอย่างตั้งใจในเสนอแนะเกี่ยวกับข้อบกพร่องของตนเอง
  13. พร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองเมื่อมีข้อติชมจากผู้ใช้บริการ
  14. แสดงให้ผู้ใช้บริการเห็นว่า ”เราใส่ใจ” ใส่ใจต่อผู้ใช้บริการโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
  15. พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอให้มีการร้องขอเกิดขึ้น
  16. หากมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการก็พร้อมที่จะขอโทษ
  17. เมื่อเกิดสถานการณ์ที่อาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นอีก ทั้งพร้อมที่จะให้เหตุผลกับสิ่งที่เกิดขึ้น 
  18. ให้ถือเสมือนว่าผู้ใช้บริการเป็นบุคคลที่สามารถทำให้ผู้ให้บริการได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ พัฒนาศักยภาพ ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป

บทบาทของเราในฐานะผู้ให้บริการด้านรักษาพยาบาล

  1. ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้
  2. ให้บริการด้วยความละเอียดอ่อน
  3. ต้องมีใจรัก เมตตาธรรมสูงมากในการให้บริการ
  4. แสดงออกจากความรู้สึกที่แท้จริง อันเกิดมาจากความเมตตา สงสารเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บป่วย
  5. ยิ้ม พูดจาไพเราะ เป็นห่วงเป็นใยช่วยดูแลเสมือนผู้ป่วยเป็นญาติของเราคนหนึ่ง
  6. ต้องแสดงออกมาจากใจของเรา
  7. ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ
  8. ลดความกังวลใจลง การเจ็บป่วยก็จะบรรเทาน้อยลงทางด้านจิตใจ
  9. ให้บริการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด 

ผู้เขียนขอสรุปตามผู้เขียน คุณน.ส. surg BI จากโรงพยาบาลบำราศนราดูร   

"บริการด้วยหัวใจนั้นมีจุดเป้าหมายอยู่ที่ผู้ป่วย คือ ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยเกิดความประทับใจ พึงพอใจในการให้บริการของเราแล้วอยากกลับมาใช้บริการของโรงพยาบาลเราอีก เราต้องให้การบริการหรือการดูแลต้องทำจากใจ อย่านิ่งดูดาย ต้องมีรอยยิ้ม ทั้งหน้าตา ท่าทาง กริยามารยาท การพูดจาไพเราะ รู้จักกาลเทศะ แม้แต่การแต่งตัวต้องดูสะอาดเรียบร้อยและการให้บริการต้องรวดเร็วทันใจของผู้ป่วยจึงจะประทับใจไม่รู้ลืม ถ้าเราทุกคนรู้จักทำหน้าที่ของเราให้ได้ผลดีแล้ว สิ่งดีๆก็จะตามมา เพราะเราทำออกมาจากใจนั้นเอง"

ตอนที่ 2  การบริการด้วยหัวใจ ก้าวไกลถึงชุมชน

การบริการด้วยหัวใจ ก้าวไกลถึงชุมชนจะเป็นจริงได้นั้นโรงพยาบาลทุกแห่งจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ปรัชญา ค่านิยม เป้าหมายที่ชัดเจนในการนำแนวทางปฏิบัติการให้บริการทางสุขภาพด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ครอบคลุมทั้งด้านร่างกายจิตใจ สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณ  และมีการพัฒนาระบบบริการทุกด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ทั้งยังจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในองค์กรเพื่อให้มีการจัดกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนการบริการสุขภาพในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง 

ตอนที่ 2 ขอเกริ่นไว้เท่านี้ก่อนนะคะ กำลังอ่านเพิ่มเติมเพื่อหาตัวอย่างที่ดีเหมาะสมมาให้ได้เรียนรู้กันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

กัญญา

  

 

หมายเลขบันทึก: 434872เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2011 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ประการแรกคือ ...ยิ้มให้เป็นใช่มั้ยครับคุณไก่

อ่านแล้วยิ้มหน้าจอเลยค่ะ

การบริการที่คนไข้ปรารถนา การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เยี่ยมค่ะ

พี่ไก่คะ ถอดบทเรียนได้ยอดเยี่ยมคะ

ยิ้มไว้ก่อนนะคะ ส่งข่าว พี่ไป่ไปเยี่ยมแม่มะเดี๋ยวด้วยนะคะ ห้อง 8 พิเศษ 6 ก คะ

เก่งมากค่ะ พี่มาเชียร์และปรบมือให้ดังๆๆ

สวัสดีค่ะพี่ไก่

ยอดเยี่ยมเลยค่ะพี่ 

ตามมาส่งกำลังใจกันและกัน  ในฐานะทีมย่อยเดียวกัน  อิอิ

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะพี่

เป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความรู้และประสบการณ์จริงๆ

ดีมากเลยค่ะ อ่านแล้วหนูเข้าใจมากขึ้นอีกทั้งลึกซึ้งมากค่ะ

เป็นบทความที่ดีมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท