สาเหตุที่น้ำท่วมและเสียหายหนัก ที่อำเภอสิชล...


ชาวบ้านถูกปล้น 2 รอบ

ภาพที่ ๑ สวนสาธารณะ(ทุ่งท่าลาด)

เนื้อที่ทั้งหมด 1,600 กว่าไร่ น้ำท่วมคันดิน(ถนนรอบสวน)ที่เป็นเขื่อนกั้นรอบสวนฯสูง 2 เมตร ทำให้สวนสัตว์เสียหาย สัตว์ในสวนสัตว์ตาย และสูญหายจำนวนมาก ปลานับแสนตัวออกไปสู่คู คลอง หนอง  บึง จรเข้หายไปหลายตัว หญ้า สวนไม้ดอก ไม้ประดับ เสียหายยับเยิน

ส่วนเหี้ย(แลน) ซึ่งเทศบาลเลี้ยงไว้หลายตัว จะตาย หรือหายไปบ้างหรือไม่ ไม่มีใครกล่าวถึง

 

 

ภาพที่ ๒ ในเขตเทศบาลจมน้ำกันถ้วนหน้า

 

 

 

ภาพที่ ๓ ทุ่งท่าลาด บริเวณพุทธภูมิ น้ำท่วมท้าวจตุราม-ท้าวรามเทพฯ ที่เฝ้ารักษาพระพุทธองค์อยู่ด้นหน้า

 

 

ภาพที่ ๔ ทางเข้าสนามบิน (ทางลัดเข้า-ออกด้านหลัง ใกล้เทศบาลท่าแพ)ซึ่งคนนครใช้ทางนี้ เนื่องจากเป็นทางลัด

 

 

ภาพที่ ๕ มุมหนึ่งของสวนสาธารณะ จรเข้หาย-แต่จรกาโผล่ที่ทำเนียบ

  ๐ภาพข้างต้น เป็นเพียงน้ำท่วมในเขตเมืองนคร แม้ผู้คนจะเดือนร้อน แต่ในชนบท ในเทือกสวน ไร่ นา น้ำป่าทะลักมาอย่างรวดเร็ว ทำลายเรือกสวนไร่นา บ้านเรือน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และทรัพย์สินอื่นๆ หายวับไปกับตา

เมื่อวานผมขับรถออกจากเมือง ผ่านไปทางท่าศาลา -สิชล แม้น้ำจะลดแล้ว แต่ร่องรอยความเสียหายที่หลงเหลืออยู่ก็มองเห็นได้ถึงมวลน้ำมหาศาล  นำเอาท่อนไม้ ท่อนซุง หิน ดิน โคลน ทับถมถนนหนทาง สะพานชำรุด เสาไฟฟ้าหักโค่น บ้านเรือยพังพินาศไปหลายหลัง

ความเสียหายที่รุดแรงที่สุด เริ่มตั้งแต่บ้านหิน ต.เปลี่ยน ต.เทพราช บ้านนาแล บ้านเขาคา บ้านต้นเหรียง ต.เสาเภา บ้านท่าเชียว บ้านทุ่งคา ต.ทุ่งปรัง อ.สิชล จ.นครศรีฯ

สิ่งที่ผมประมวลภาพและตั้งข้อสังเกตุ หลังจากสอบถามชาวบ้านในละแวกนั้น ทราบว่าน้ำสูงท่วมหัว  ไหลมาแรง และทะลักมาอย่างรวดเร็ว ไม่เคยเป็นอย่างนี้มาก่อน ที่ไมเคยมีน้ำก็มีน้ำผ่าน ใครจะรู้ได้ใครจะตั้งตัวทัน

ลึกเข้าไปข้างในบ้านเทพราช บ้านฉลอง พังกำ น้ำฉา บ้านเผียน ฯลฯ บ้านเรือน สวนยาง สวนปาล์ม สวนผลไม้ เสียหายย่อยยับ

มีผู้รู้ด้านชลประทานบอกผมว่า เขื่อนท่าทน ซึ่งอยู่เหนือบ้านเทพราชขึ้นไป อยู่บนภูเขาสูงทางทิศตะวันตกของบ้านเทพราช   ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จมาได้ 2-3 ปี แตก

น้ำจึงเททะลักมาทำลายชีวิต ทรัพย์สินชาวบ้าน ย่อยยับ อับปาง ดั่งที่เห็น

5-6 ปีก่อน กรมชลประทานได้บังคับ(ต่อรอง)ซื้อที่ดิน และรายใดไม่ขายให้ก็ออกกฎหมายเวณคืน การเวณคืนเพื่อสร้างเขีอนดังกล่าว ทำให้หลายครอบครัวสูญเสียที่ทำกิน ต้องหาที่ทำกินใหม่ แต่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าทำให้คณะกรรมการบางชุดที่ทำหน้าที่สำรวจผลอาสินที่จะเวณคืน  รวยไปหลายคน เนื่องมาจากมีการจัดสรรแบบ กรรมการครึ่งหนึ่ง-วัดครึ่งหนึ่ง ตามธรรมเนียมไทยๆ

ผมทราบจากท่านผู้รู้ว่า การสร้างเขื่อนดังกล่าวไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากเป็นเขื่อนดิน การลดทอนวัสดุ การวางฐานคันดิน ไม่เป็นไปตามแบบที่ควรจะเป็น จึงทำให้เขื่อนแตก เกิดความเสียหายรอบสอง แก่ชาวบ้าน

รอบแรก ชาวบ้านโดนปล้นที่ดินไปสร้างเขื่อน

รอบสอง เขื่อนส่งน้ำมาปล้นชาวบ้านอีกรอบ

ในฐานะนักกฎหมาย หากรัฐบาลไม่ชดเชยความเสียหายให้ได้สมน้ำสมเนื้อกับทรัพย์สินที่เสียหายไปจริงๆ

ผู้เสียหายจากกรณี "เขื่อนท่าทน" แตก น้ำ ดิน โคลน ทะลักมาท่วม ทำลายเรือกสวน ไร่ นา บ้านเรือนพังพินาศ สัตงืเลี้ยงตายแทบทั้งหมด ผู้ได้รับความเสียหายสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมชลประทานได้ครับ

แต่ต้องรีบเก็บพยานหลักฐาน ข้อมูลต่างๆไว้แต่เนิ่นๆ เพราะพวกช่างเทคนิค ก็ดี นักกฎหมายก็ดี นักการเมืองก็ดี เป็นแบบเดียวกันครับกับโจรใส่สูตร มักมีข้อมูลเหนือกว่าชาวบ้าน พูดดำให้เป็นขาวได้นะครับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อกรมชลประทาน ได้ดำเนินการปล้นที่ดินของชาวบ้านไป มิหนำซ้ำปล่อยปละละเลยให้เขื่อนยแตกมาทำลายชีวิต ทรัพย์สินของชาวบ้านอีกรอบ ชาวบ้านก็มีความธรรมที่จะขอความปรานีจากศาล เพื่อขอค่าสินไหมทดแทน จากการทำละเมิดบ้าง หากไม่มีทางเลือกอื่นใด

ให้หน่วยงานราชการนี้ รู้เสียหน่อยว่า รังแกผู้รับเหมาก็ขอให้ทำไป หากรังแกชาวสิชล เห็นทีจะยอมกันไม่ได้

ถ้าจะเรียกว่าหัวหมอก็น่าจะใช่ แต่จะให้หัวอ่อนไม่ยอมเป็นอันขาด

เสียชื่อ "คนคอนเหม็ด"

--------------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 433809เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2011 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ปัญหาคอร์รับชั่นนอกจากทำให้ประเทศไม่พัฒนาแล้วยังทำให้ชาวบ้านสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน  ชาวบ้านหมดเนื้อหมดตัวแล้วจะเอากำลังที่ไหนไปสู้คดีกับกรมชลประทาน

สวัสดีท่านทนาย

พอชาวบ้านเรียกร้องสิทธ์อันชอบธรรมก็ ว่าหัวหมอ พันปรือก็ดีกว่าหัวอ่อน เพื่อประโยชฯชาวบ้าน ต้องช่วยทวงสิทธิ์

What evidence do we have that supports "poor dam work causes or aggravates flooding"? We need to collect "engineering data, pictures and materials" and have qualified engineers' assessment...

This is not going to be easy. We have not prepared for this -- like we have not prepared for everything else. After the event (of destruction) it is easy to blame someone but it is very hard to reconstruct the cause.

If we are serious about getting justice, perhaps we should take pictures of the dam wall now so we can compare with pictures of the wall when it was finished/openned. The pictures may suggest the quality of the work on the dam. And from there ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท