คอมมิว~มิว~หนิเค๊ซั่น


การสื่อสาร ภาษา วัฒนธรรม

ถอด นาฬิกา แหวน ออกเจ๊า...

 

พ่อรีบทำตามคำสั่งอย่างว่านอนสอนง่าย

 

ถอดเข็มขัดด้วยเจ๊า!!

 

“เอ่อ..เอ่อ.. มันจะดีหรือครับ”

 

"เพื่อควมปลอดภัยเจ๊า" ยิ้มหวานจากคนสวย

 

“อืม ไม่เจ๊า ก็ข้อยหล่ะ สถานการณ์อย่างนี้ มันอันตรายนะน้องถ้าเข็มขัดหลุดจากเอวแล้วเนี่ย” พ่อรำพึงในใจก่อนถามคำถามออกไป

 

“ขอถอดเป็นชิ้นสุดท้ายนะครับสำหรับเข็มขัด ผมไม่ถอดอีกแล้วนะ คนมันเยอะเกิน คนน้อยว่าไปอย่าง”

 

“โด้ย!!” พนักงานสาวยิ้มอย่างรู้ทัน

 

“ขอปี้ หน่อยเจ๊า!!”

 

“เฮ๊ย !!! กลางสนามบิน ท่ามกลางคนหมู่มากแบบนี้นะครับ”

 

“โด้ย” สีหน้าเปลี่ยนเป็นคำถาม ประมาณพี่จะอะไรกันนักกันหนา คนเขารอท่าอยู่หลังเจ้าตั้งร้อยกว่าคนแล้วนะ!!!

 

“เอ๊า!! ปี้ ก็ ปี้ วะ!!!” พ่อตัดสินใจล้วงกระเป๋า เอาบางอย่างออกมาโชว์

 

เห็นปี้ยนต์ (ตั๋วเครื่องบิน) น้องเขาถึงยิ้มออก

 

จากเหตุการณ์ที่ Luang Prabang airport ทำให้พ่อรู้ว่า การสื่อสาร ภาษา วัฒนธรรม แม้ดูจะเหมือน แต่ก็ไม่คล้ายกันซะทีเดียว

 

สื่อสารผิดนิดเดียว ความหมายอาจเป็นคนละเรื่อง บางสถานการณ์อาจสร้างความเสียหาย หรือร้าวฉานใจกันได้ง่าย ๆ

 

จากสถานการณ์ดังกล่าว พ่ออยากจะสอนให้กล้อง และ หอมทราบว่า การสื่อสาร นั้นสำคัญมาก

 

เราต้องศึกษาข้อมูลของประเทศหรือเมือง ก่อนที่เราจะเดินทางไปล่วงหน้า

แล้วเอาข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับการสื่อสารระหว่างตัวเรากับผู้รับสาร

 

ประมาณว่า รู้เขา รู้เรา สื่อสารร้อยครั้ง ก็เข้าใจกันทุกครั้ง

ผลพลอยได้แบบเข็มขัดสั้น ตัวเราอาจจะได้หัวใจเขามาเลยก็ได้นะพ่อว่า..อย่างเช่นพ่อสื่อสารกับแม่แอ๋มไง แฮ่ม!

 

เช่น ไปเมืองฝรั่ง ถ้าหอมพูดว่า I’m hot! แม้อากาศจะร้อนแทบตับแตก หอมก็พูดไม่ได้

 

หรือคำว่า I’m fool กับ I’m full ถ้าออกเสียงผิด

 

 คู่สนทนาก็อาจสวนกลับ I’m not fool, I’m clever ก็ได้

 

ที่เมืองหลวงพระบาง หากไปตามร้านขายของชำ แล้วกล้องพูดว่า “ขอซื้อของหน่อยครับ” แม่ค้าคนสวยอาจจะค้อนงอน หรือแจ้งตำรวจจับได้ กล้องต้องบอกว่า “ซื้อเครื่องหน่อยครับ”

 

แต่อย่างไรก็ตามในนามผู้เข้าร่วม international conference ครั้งนี้ ด้วยความอัมพาตที่ไม่ถึงขั้นพิการทางภาษาอังกฤษของพ่อ

พ่อก็มักเผลอออกอังกฤษสำนวนไทยแบบ

 

 I go to the market yesterday อยู่ออกบ่อย

 

อาจจะเป็นเพราะพ่อติดเล่นกับคำ รวมทั้งเล่นกลับคำกับบางคนจนเขางอนก็มีบ้าง   บางค้างคาว(ฮา)

 

แต่บางอย่าง บางคำ ก็ทำให้เราจดจำจนวันตายนะ เช่นเวลาทักทายลูกน้อง  “อ้าว !! ยังอยู่ดีอยู่เร๊อะ!!!”

 

 ทั้ง ๆ ที่อยากจะถามว่า ยังสบายดีอยู่ไหม? แต่สื่อสารคำผิด คนฟังคิดเลยเถิด  จนผูกคอตาย ก็เป็นได้

 

จมูกนั้น เอ๊ย!! ดังนั้น พ่อ จึงอยากจะให้กล้อง กับ หอม ศึกษาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอื่น ๆ เพื่อการสื่อสาร ติดต่อกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองอย่างชำนาญ และเชี่ยวชาญ

 

ส่วนวิชาอื่น ๆ นั้น เช่น คณิตศาสตร์ ให้ไปศึกษาจากชีวิตจริง เช่น การซื้อของ(ใช้ได้เพราะกลับไทยแล้ว) แม้กระทั่งซื้อเลขเอาเด้าลูกซายหล่า และ ลูกสาวหล่าสุ๊ดของพ่อ

 

ฮักลูกแฮ๊ง แฮง อีหลี อีหลอ ฮักกะด้อ กะเดี้ย

หมายเลขบันทึก: 433118เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2011 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท