เก็บตกจากเวที "ประสบการณ์ Facilitator” (อีกรอบ)


ภาคบ่าย (๒๐ มีนาคม ๒๕๕๔) : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเหล่าบรรดาบล็อกเกอร์ หรือกระบวนกร (Facilitator) ถูกเปิดประเด็นด้วยเรื่อง “การเขียน”  เป็นการจัดเสริมเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากมีการถกคิดนอกรอบในวงข้าวของมื้อเที่ยง

 

บรรดา Facilitator ต่างมีมุมมองที่เหมือนกันเกี่ยวกับการเขียน ดังว่า 

  • การเขียน  เป็นเครื่องมืออันสำคัญของการเป็นผู้นำกระบวนกร  เพราะการเขียนจะเป็นกระบวนการของสื่อสารในสิ่งที่เกิดจากการฟังอย่างฝังลึก ฟังเพื่อจับประเด็น หรือแม้แต่ผลของการสรุปใจความสำคัญเพื่อนำพามาสู่การสื่อสารในสิ่งที่ค้นพบ หรือ “บทเรียน”  ดังนั้นการเขียนที่มีพลัง ย่อมทะลุพรมแดนแห่งการสื่อสารไปอย่างกว้างไกล
     
  • การเขียน ก็เป็นเสมือนกระบวนการของการ “เพ่งมองย้อนกลับเข้าหาตัวเอง” (สำรวจตัวเอง) ชำระวิถีคิดและมุมมองของตัวเอง รวมถึงการมีสถานะของการ “แก้ปมตัวเอง” ในเรื่องบางเรื่อง จนเป็นที่เข้าใจอย่างกว้างขวางว่า การเขียนมีสถานะของการ “บำบัด” และยกระดับจิตวิญญาณของการเป็นมนุษย์

 

ด้วยเหตุนี้  วงสนทนาจึงปิดประเด็นของการเขียนด้วยแนวคิดที่แน่นหนักว่า การเขียนเป็น “ทักษะ” หรือ “เครื่องมือ” อันสำคัญที่ Facilitator ต้องมีเป็น “อาวุธ” ประจำตัว


Facilitator ทุกคนเชื่อว่า “การเขียน”  ฝึกฝนกันได้  โดยเริ่มต้นจากการ “ลงมือเขียน”  ไม่ใช่คิดและวาดฝันอยู่ตลอดเวลาว่า “จะเขียนๆ”  แต่ไม่ก็ไม่ “ลงมือเขียน”  สักที  เข้าข่ายผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ  

ดังนั้น Facilitator จึงมองว่าขั้นตอนที่ง่ายที่สุดก็คือ “...เขียนจากเรื่องใกล้ตัว เขียนในสิ่งที่ตนเองรู้ หรืออยากรู้  ยิ่งหากสามรรถเขียนในเรื่องราวที่ผ่านพ้นมาแล้ว  ยิ่งจะช่วยให้ตนเองเกิดแรงพุ่งทะยานไปสู่อนาคต เพราะมันเหมือนการได้ “ทบทวน” และ “กระตุ้น”  ให้เกิดพลังชีวิตในตัวตนของตัวเอง...”   

 

นอกจากนั้นยังพ่วงแถมว่า “การอ่าน”  ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ Facilitator เกิดทักษะในการเขียนที่ดีได้ เพราะการอ่านคือการเปิดชีวิตไปสู่การเรียนรู้โลกในทางลัด เมื่ออ่านมากย่อมมีโอกาสได้เห็นมุมชีวิตของโลกใบนี้กว้างและหลากหลายขึ้น  สิ่งที่เห็นจะกลายเป็นแรงบันดาลใจของการเขียนไปโดยปริยาย

 

 

ถัดจากการเขียน  Facilitator ก็สนทนาตามประสาคนคุ้นเคยต่อยอดกันไปเรื่อยๆ ซึ่งพอจับประเด็นสำคัญๆ ได้บ้าง (กระมัง) ว่า...

  • Facilitator  ต้องเชื่อในอำนาจของ “เรื่องเล่า” โดยเฉพาะเรื่องเล่าอันเป็นมุขปาฐะ เพราะนั่นคือสายธารประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์

 

  • Facilitator ต้องไม่ทำตัวเป็นผู้รู้ในเรื่องที่เขากำลังเล่า จนทำให้ผู้เล่าเกิดความเคอะเขิน ไม่กล้าเล่าอย่าง “เปิดเปลือย” หรือรู้สึกว่าผู้เล่าไม่มีความสำคัญ และไม่มีตัวตนอยู่ตรงนั้น
     
  • Facilitator ต้องเป็นผู้ฟังเร็ว จับประเด็นเร็ว สะท้อนเร็ว หรือแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉับไว

  • Facilitator ต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “ประสบการณ์” ของผู้คน เรียนรู้ที่จะจัดเก็บความรู้ไว้ให้มากที่สุด เพราะความรู้เหล่านั้นจะกลายเป็นเครื่องมือที่นำกลับมาใช้ในการจัดกระบวนการในครั้งต่อๆ ไป

  • Facilitator  ต้องมีศิลปะการตั้งคำถาม  (และต้องไม่ด่วนตอบคำถามดีๆ ด้วยคำตอบแบบห่วยๆ) 

  • Facilitator  ต้องฉลาดพอที่จะ “ทิ้งประเด็น” ไว้ให้เกิดการต่อยอดมากกว่าการแสดงจุดยืนถึงการสรุป “ปิดประเด็น” แต่ต้องทำตัวเสมือนผู้คอยทำหน้าที่ช่วยเติมฟืนสุมไฟให้ลุกโชนอยู่ตลอดเวลา

  • Facilitator ต้องเชื่อมั่นว่า กระบวนการ AAR และการถอดบทเรียน เป็นกระบวนการสร้างความเป็น FA ที่ดี

  •  Facilitator ต้องศรัทธาต่อกระบวนการของการเรียนรู้ให้ความสำคัญต่อการลงมือทำอย่างจริงจังมากกว่าการทำเพราะเป็น “ตัวชี้วัด” ดังนั้น Facilitator ที่ประสบความสำเร็จ  จึงมีคุณลักษณะของความเป็น Facilitator ที่ชัดเจนทั้งอยู่ที่บ้านและที่ทำงาน 
     
  • Facilitator ต้องเชื่อในการทำงานเป็นทีม ไม่แบกรับคนเดียว  จนอ่อนแรงทำให้ “จิตตก”  ต้องมีผู้ช่วยชงช่วยตบ ช่วยสังเกต ช่วยประเมินและกระตุ้นเป็นระยะๆ ร่วมกัน

  • Facilitator  ต้องรู้จักประยุกต์คตินิยมแบบไทยๆ หรือวิถีพุทธมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกระบวนการที่จัดขึ้น   เช่น อิทธิบาท 4 เป็นต้น

  • และที่สำคัญที่สุดก็คือ Facilitator ต้องมี “ความสุข” กับสิ่งที่ทำ  มีความสุขกับวงสนทนาที่อยู่ตรงหน้าของตัวเอง

  

ครับ, นี่คือส่วนหนึ่งที่ผมเก็บเกี่ยวออกมาได้จากวงสนทนาตรงนั้น  เชิญทุกท่านต่อยอดกันดูแล้วกันนะครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 432190เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณ คุณพนัสมากๆครับ ที่ช่วยจับประเด็น เป็นประโยชน์มากๆครับ ในส่วนของ detail อื่นๆ ผมให้น้องทางหาดใหญ่จัดการถอดเทปออกมาก่อน เเล้วค่อยนั่งเชื่อมร้อย เขียนหนังสือ

 

 

มีประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ..คงต้องทบทวนและพัฒนาตัวเองอีกเยอะ ..ขอบคุณค่ะ..^_^

 

และFa ต้องมีความมั่นใจ แข็งแกร่งดุจภูผา เบาบางดุจขนนก ในการหยิบยกฉวยอาวุธ ที่เตรียมมา จัดการกับปัญาได้ทันท่วงที

Facilitator  ต้อง ... ที่เขียนมานะครับ ชอบและมีประโยชน์มากครับ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้เพื่อ "บำบัดความไม่รู้" ค่ะ  มีมากมายที่พี่คิมต้องพัฒนา

ขอขอบคุณค่ะ 

มาเก็บความรู้ไปใช้คะ Facillatator ที่ดี  ชอบนะคะ Fa  ต้องมีความสุขกับสิ่งที่ทำ

"Facilitator ต่างจากยอดฝีมือตรงไหน?"

เฉลย

"สุดยอดฝีมือต้องไร้ใจ แต่ fa ต้องรวยน้ำใจ ใจใหญ่"

ขอ กด  Like ให้ comment อ.สกล สัก 100 ครั้งค่ะ ^_^

  • แวะมาเก็บตกประเด็นที่ทำหล่นไว้ครับ
  • ประจักษ์แล้วว่า คุณแผ่นดินข้อเขียนคมคำ วาจาคมคาย 
  • เอ..ชักจะติดมานิดๆแล้วนะนี่
  • สุขสันต์วันคล้ายวันเกิดด้วยนะครับ คุณแผ่นดิน

ทำไมต้องเชื่อมั่นในการ "ถอดบทเรียน" เพื่อเป็น Fa ที่ดีคะ?

สวัสดีครับ

มีประโยชน์มากครับ

ใกล้แค่นี้ยังไม่ได้ไป

อาจารย์มาตั้งไกล ยังมาได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท