ประวัติ "สวัสดี"


    ในประวัติศาสตร์ สวัสดี เป็นคำที่เกิดใหม่  เพิ่งจะเริ่มใช้กันเมื่อประมาณ  ๕๐ กว่าปีมานี่เอง  คือ พ.ศ. ๒๔๘๔  ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรี  มีนโยบาย ที่จะนำประเทศไปสู่ความรุ่งเรืองให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศ  จึงบัญญัติตั้งวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ ขึ้น เพื่อผลักดันชาติให้พัฒนาสถาพร  มีการปลูกสร้างค่านิยมแบบใหม่ๆ ขึ้น ในส่วนผู้บริหารหรือรัฐบาลเองก็จัดตั้งรัฐนิยม  เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน  และในด้านภาษาศาสตร์  ก็มีการปรับปรุง  เช่นบัญญัติศัพท์ใหม่ๆ  เพื่อกระตุ้นเตือนใจคนไทยในชาติให้กระตือรือร้น คิดปรับปรุงตนเอง  แม้คำทักทายเมื่อพบปะกันก็ต้องใช้ให้แสดงถึงความมีวัฒนธรรม   อย่างฝรั่งก็มี "กู๊ด กู๊ดนั่นกู๊ดนี่ ซึ่งก็แปลว่าดีนั่นเอง ผู้บัญญัติศัพท์สำหรับทักทายของคนไทยก็คงจะอาศัยเหตุนี้เป็นหลัก จึงเลือกเอาสำเนียงเสียงว่า ดี ดี อย่างสวัสดี, มีดี, ยินดี, มาเป็นแบบ

    

    ทราบว่า...ผู้บัญญัติคำนี้  ท่านเป็นครูเก่า  มียศเป็นขุนนาง  คือ  พระยาอุปกิตศิลปสาร  (นิ่ม  กาญจนชีวะ)  เป็นผู้คิดคำว่า  "สวัสดี"  ขึ้นใช้ทักทายยามพบปะกัน  เมื่อแรกราว  พ.ศ.  ๒๔๗๗-๒๔๗๘  และ  ได้มอบคำว่า  "สวัสดี"  นี้ให้นิสิตอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ทักทายครูก่อน  เมื่อพบครูครั้งแรกไม่ว่าที่ไหน  โปรดกล่าวคำนำหน้าว่า  "สวัสดี"  ครูจะปลาบปลื้มเป็นทวีคูณ

 

                                ที่สุดครูฝากคำประจำชาติ

                         ใช้เป็นพากษ์ปราศรัยในทุกที่

                          ถ้าพบครูหรือใครไขวจี

                          "สวัสดี" ปราศรัยทั่วไปเทอญ

 

      คำว่า  "สวัสดี"  จึงเป็น "มนต์ประจำตัว" ที่ศักดิ์สิทธิ์  มีฤทธิ์ทางเสริมสร้างเสน่ห์และไมตรีจิตมิตรภาพต่อกัน  หลังจากนั้นกรรมการชำระปทานุกรม  และกรรมการโปรแกรมวิทยุกระจายเสียงก็นำไปใช้ด้วย  เป็นเหตุให้คำนี้เป็นที่นิยมใช้กันจนติดปาก และแพร่หลายไปทั่วประเทศ  สืบมาจนทุกวันนี้

     ซึ่งนับว่าท่านบัญญัติได้ดีมาก  และสังคมไทยก็ยินยอมน้อมรับมาจนทุกวันนี้  คำว่า  "สวัสดี"  ได้กลายเป็นถ้อยคำฮิตติดปากของคนในเมืองไทย  แม้ในวงการภาพยนตร์สร้างสิ่งบันเทิงก็ยังใช้เป็นชื่อภาพยนตร์  เช่น  "สวัสดีคุณครู"  เป็นต้น ทำให้มองเห็นว่า  "สวัสดี"  คำนี้  คงจะสืบเนื่องซาบซึ้งและตรึงตราอยู่ในสำนึกของคนไทยไปอีกนานฯ

   

  • อ้างอิงจากเทศนาวาไรตี้ พระพิจิตรธรรมพาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) วัดประยุรวงศาวาส

หมายเลขบันทึก: 431021เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ข้อมูลน่าสนใจมากครับพระคุณเจ้า

ขอบคุณคุณโยม เบดูอิน ที่ผ่านมาเยี่ยมชม

นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

  • คำว่า "สวัสดี" เป็นคำพิเศษจริง ๆ ค่ะ
  • เป็นคำที่มีเสน่ห์  หากใช้ประกอบท่าทาง พนมมือไหว้ด้วยความอ่อนน้อม แล้วกล่าวคำว่า "สวัสดีค่ะ" ก็จะยิ่งเพิ่มเสน่ห์อีกหลายเท่า
  • หลายครั้งที่ครูอิงรู้สึกว่า ผู้หลักผู้ใหญ่ไม่ค่อยพอใจเรา มีทิฐิต่อเรา ครูอิงก็ทำไม่รู้ไม่ชี้(ภาษาวัยรุ่น เค้าเรียกว่า ทำเนียน ค่ะ ) เดินเข้าหา ประนมมือ ค้อมศรีษะเยอะ ๆ หน่อย กล่าวคำว่าสวัสดีค่ะ พร้อมกับเผยยิ้มน้อย ๆ เท่านี้ทิฐิของท่านก็ลดลงแล้วค่ะ
  • ขอบพระคุณ พระคุณเจ้าค่ะ สำหรับกระทู้งดงาม "สวัสดี"

 

ขอบคุณคุณครูที่แวะมาอ่านเรื่อง "สวัสดี"

นมัสการพระมหาค่ะ

แวะเข้ามาอ่านประวัติ...ของคำว่า "สวัสดี"...ได้ความรู้เพิ่มค่ะ..

  • กราบนมัสการ  พระมหาวินัย
  • แวะมาอ่านประวัติคำ  "สวัสดี" ซึ่งหมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญ
    ยิ่งพูดบ่อย ๆ พรนั้นก็ย้อนเข้าตัวเอง
  • กราบขอบพระคุณเรื่องราวดี ๆ ที่แบ่งปัน 
    รวมทั้งกราบขอบพระคุณที่เมตตาแวะไปให้กำลังใจงานเขียนของธรรมทิพย์เสมอค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท