รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

ปริศนาธรรมหลังการตายกรณีไทยพุทธภาคใต้ : (๓) การผูกศพ


ขอบพระคุณแรงบันดาลใจจากพระมหาวินัย ภูริปญฺโญ ทิวาพัฒน์ จากกระทู้ธรรม "มางานศพพบอะไรใครรู้บ้าง เพียงเห็นร่างคนตายแล้วใจหาย มองดีดีคิดให้ซึ้งถึงความตาย คือความหมายของ"ครู"ผู้แสดง"

           

เมื่อนุ่งห่มให้ซากศพแล้ว เอาด้ายขาวผูกกรองมือ  กรองเท้า  แล้วโยงไป

ผูกไว้กับคอ  การผูกศพเช่นนี้ก็เป็นปริศนาธรรมหมายถึง "บ่วง ๓" ได้แก่  บุตร 

ทรัทย์ และภรรยา (ตรงส่วนนี้หากค้นในกูเกิล พอจะพบผู้บันทึกไว้บ้างแล้ว แต่

ไม่ชัดเจนนัก)ตรงกับภาษาบาลีว่า

ปุตโต  คีเว           บุตรคือบ่วงผูกคอ

ธนัง  ปาเท           ทรัพย์คือบ่วงผูกเท้า

ภริยา หัตเถ          ภรรยาคือบ่วงผูกมือ

และตรงกับบทประพันธ์บทหนึ่ง (จำที่มาไม่ได้แล้วค่ะ ใครทราบช่วยโพสเพิ่ม

เติมด้วยนะคะ)

"มีบุตรดุจบ่วงคล้อง             คอกระสันต์ อยู่ฮา

ทรัพย์ผูกบาทาพัน               แน่นไว้

ภรรยาเยี่ยงบ่วงขัน              ขึงรัดมือพ่อ

ใครตัดสามบ่วงได้                จึ่งพ้น สงสาร" 

เมื่อผูกศพเรียบร้อยแล้ว ให้เอาดอกไม้ ธูป เทียน  ซองหมากพลู ใส่มือให้

เชื่อว่าจะได้นำไปบูชาพระจุฬามณี อันเป็นพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุพระ

พุทธเจ้าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  หรือเพื่อแสดงว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา

ถ้าเป็นศพ คนมีเงินมีทอง มักเอาแหวนทองรูปพรรณใส่ในปากศพ หมาย

ถึงว่า "ทรัพย์สมบัติเป็นของส่วนกลางสำหรับโลก แม้จะปกครองยึดถือได้ก็เพียง

ชั่วคราว เมื่อตายแล้วใส่ปากให้ก็เอาไปไม่ได้  ติดตัวไปได้ก็แต่บุญกุศลเท่านั้น

หรือบางท้องที่ใช้ใบพลูปิดหน้าศพ  บางรายที่มีฐานะดีอาจใช้ทองปิดหน้าศพ

โดยนัยธรรมะ ถือว่าการตายเท่ากับถูกแผ่นดินกลบหน้า ให้คนที่ยังไม่ตายถือ

เป็นคติรีบสร้างกุศล

แหวนหรือทองรูปพรรณที่ใส่ปากศพ  เป็นของเสียสละ เจ้าภาพมิได้คิด

เอาคืน มักตกแก่สัปเหร่อ

เมื่อกรองมือเท้า นุ่งห่มเสร็จแล้ว เอาผ้าขาวห่อศพทบไปมาหลาย ๆ ชั้น

ผูกตราสังด้วยด้ายขาวเป็นเปลาะ ๆ ให้แน่นหนาตั้งแต่หัวจรดเท้า แล้วจึงนำศพใส่

โลง  การตราสังแน่นหนานั้นมิได้มีนัยธรรมะแต่ประการใด(เท่าที่ครูอิงศึกษามา)

เพียงแต่ประสงค์มิให้ศพอ้ามืออ้าแขนเป็นท่าน่าเกลียดขณะเผาศพ เนื่องจาก

สมัยก่อนนั้นที่เผาศพจะทำเป็น "เชิงตะกอนชั่วคราว" ไม่มิดชิดเหมือนกับกา

เผาศพในสมัยนี้ ซึ่งในการทำเชิงตะกอนชั่วคราว ก็มีปริศนาธรรมที่ควรบันทึก

เอาไว้เช่นกัน  ต้องติดตามอ่านปริศนาธรรมตอนต่อ ๆ ไปนะคะ

                   

ตอนต่อไป ปริศนาธรรมหลังการตายกรณีไทยพุทธภาคใต้

: (๔) การตั้งศพ สวดศพ เผาศพ

หมายเลขบันทึก: 424224เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2011 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

                  มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว       พันคอ

                มีทรัพย์ผูกบาทาคลอ       หน่วงไว้

                ภรรยาเยี่ยงบ่วงปอ           รึงรัด   มือนา

                สามบ่วงใครพ้นได้           จึ่งพ้นสงสาร

หรือสำนวนอิสาน ว่า..

     "...ตัณหาฮักลูกคือจั่งเชือกผูกคอ ฮักเมียคือจั่งปอผูกศอก ฮักวัตถุข้าวของคือจักปอกสุบตีน สามอันนี้ มาขีนขวางไว้จึงบ่ให้ได้ถึงนีรพาน..."  ที่อิสานเรียกการผูกศพว่า "มัดตราสัง" มัดที่ คอ มือ ขา สมัยก่อน ผู้ที่ทำศพจะตัดเส้นเอ็นในระหว่างข้อพับทุกแห่ง เพราะแต่ก่อนเผาด้วยฟืน เขาเรียกว่า "กองฟอน" หรือ "เชิงตะกอน" เวลาศพถูกเผาไฟ เส้นเอ็นเหล่านั้นจะทำการหดตัว จากนั้นก็จะเหยียดออก ดูแล้วไม่สวยไม่งาม  ประโยชน์ของตราสังจึงมีเพื่อการนี้ด้วย และยังมีไม้ข่มเหงอีก ไม้ที่ใช้ค้ำยันหรือข่มโลงศพและกองฟอนนั่นเอง..

 "...ตัณหาฮักลูกคือจั่งเชือกผูกคอ ฮักเมียคือจั่งปอผูกศอก ฮักวัตถุข้าวของคือจั่งปอกสุบตีน สามอันนี้ มาขีนขวางไว้จึงบ่ให้ได้ถึงนีรพาน..."

     

แวะมาหาความรู้ค่ะ  ขอบคุณค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้าIco48ค่ะ

  • ขอบพระคุณที่นำข้อมูลปริศนาธรรมหลังการตาย ของทางภาคอิสานมาให้อ่าน
  • แสดงว่า วิถีชีวิตของภาคอิสาน กับภาคใต้ ไม่ต่างกันเท่าไหร่นะคะ
  • ต่างกันก็ตรงภาษาที่สื่อออกมา นอกนั้นก็คล้ายคลึงกันมาก
  • กระทู้ธรรมของพระคุณเจ้าทำให้เกิดบันทึกหลาย  ๆ บันทึกเลยค่ะ
  • คิดว่าคงจะอีกสองบันทึก ก็น่าจะจบเรื่องปริศนาธรรมหลังการตายได้แล้วหล่ะค่ะ

สวัสดีค่ะครูนายIco48

  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมชาวภาคใต้
  • มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ
  • สวัสดีครับ ครูอิงจันทร์
  • มาเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรม ต่อจากตอนที่แล้วครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ภาพน้ำตกสวยๆ มาฝากครับผม

พอดีแต่งกลอนลงในบันทึกดอกไม้ริมทาง ถ้าผ่านไปทางนั้นคุณครูก็แวะไปให้คำชี้แนะด้วย เรื่องปริศนาธรรมเกี่ยวกับศพของคนอิสานนี่มีมากมาย ว่างๆจะนำเสนอให้ได้อ่านครับ.

ได้ความรู้เพิ่มพูนปัญญา

มาชวนไปเดินเล่นบนสะพานเทพสุดา กาฬสินธุ์ด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูฐานิศร์Ico48

  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาอ่าน มาติดตาม
  • มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ

นมัสการพระคุณจ้าค่ะIco48

  • แวะไปอ่านมาแล้วค่ะ บทกลอนมีความหมาย และมีความไพเราะที่ทรงคุณค่ามากค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

มามอบดอกไม้ให้กับบันทึกที่เล่าเรื่องภูมิปัญญา พ่อเฒ๋าที่ได้ทำได้เล่าไว้ให้ลูกหลานได้สืบกันเป็นทอดๆ

ได้เห็นศพคือพบธรรมความจริงแท้     ไม่เปลี่ยนแปรอนิจจังทุกข์ทั้งหลาย

มีเกิดขึ้นตั้งอยู่สู่ดับไป                      มีอะไรให้เป็นสุขทุกข์ทั้งเพ

มองคนตายให้สติมิประมาท              หากผิดพลาดการเป็นคนวนหักเห

ต้องเวียนว่ายสังสารว้ฏอยู่ยันเต        ใครทุ่มเทปฏิบัติธรรมนำพ้นไป

วิปัสสนาคือปัญญาพาพ้นออก           พุทธองค์ทรงบอกออกทางไหน

ที่สุดแท้คือนิพพานท่านนำไป            ผู้หลงไหลกิเลสยั่วมัวหลงวน

รักโลภโกรธหลงเข้าพงหนาม            บ่วงทั้งสามผูกมัดศพพบสับสน

ผู้ยึดติดไม่ตัดวางทางมืดมน             พุทธชนตามรอยบาทพระศาสดา      

สวัสดีค่ะ

ส่วนใหญ่แล้วพี่คิมไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับวัตรเหล่านี้เลยนะคะ  ขอขอบคุณค่ะ  ตาลมีความรู้ดีจังเลย

สวัสดีค่ะคุณครูอรวรรณIco48

  • สะพานสวยมาก ๆ เลยค่ะ
  • ชอบจัง  ขอบพระคุณนะคะที่นำมาฝาก

สวัสดีค่ะท่านพี่วอญ่าIco48

  • ถือเป็นหน้าที่ของพวกเราแล้วหล่ะค่ะ ที่จะต้องบันทึกเรื่องราวแห่งภูมิปัญญา
  • ของพ่อเฒ่าแม่เฒ่า  เอาไว้  นับวันคนเฒ่าคนแก่ตายจาก ภูมิปัญญาเหล่านั้นก็ตายจากไปด้วย
  • ครูอิงจะพยายามดึงเอาภูมิปัญญาเหล่านั้นมาบันทึกไว้วให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ
  • มีอะไรที่สงสัยก็จะปรึกษาท่านพี่ เพราะท่านพี่ทำงานพัฒนาชุมชน ย่อมมีประสบการณ์ มากกว่าครูอิง
  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาส่งกำลังใจกันเสมอ ๆ

สวัสดีค่ะท่านวิโรจน์

  • ปริศนาธรรม หลังความตาย ให้ธรรมะ
  • รู้สัจจะ แห่งชีวิต  เตรียมจิตพร้อม
  • เกิด แก่ เจ็บ ตาย แม้มิยอม
  • พร้อมมิพร้อมก็ต้องตายวายชีวา
  • เร็วหรือช้ามีอาจคาดกาลได้
  • เตรียมเสบียงสะสมไว้คงดีกว่า
  • เสบียงบุญ เสบียงธรรม ฉ่ำอุรา
  • เมื่อถึงครา ทรัพย์สินใด  เอาไปมิได้เลย

สวัสดีค่ะพี่คิมIco48

  • พี่คิมคะ  ไม่ได้เก่งอะไรเลยค่ะ
  • เคยเป็นลูกมือคุณพ่อทำโลงศพบ้างในบางครั้ง
  • เวลามีศพหลาย  ๆ ศพ พร้อมกัน เช่นอุบัติเหตุรถชน พ่อก็ทำไม่ทันค่ะ
  • พ่อก็เป็นคนทำพิธีกรรมเกี่ยวกับงานศพด้วยค่ะ
  • พอเรียนปริญญาโท ก็เรียนคณะศิลปศาสตร์ ก็เกี่ยวกับเรื่องของประเพณีวัฒนธรรมของภาคใต้ล้วน ๆ ค่ะ
  • ทำได้ทุกเรื่อง ว่าบทหนังตะลุง  โนราห์  เพลงบอก  ต้องทำให้ได้ค่ะ
  • พอทำปริญญานิพนธ์ ก็ต้องศึกษาวัฒนธรรมรอบชีวิต ของชาวมอญ ยิ่งรู้ซึ้งเลยค่ะ
  • เรียกว่าไม่ได้เก่งอะไร แต่บังเอิญ มีประสบการณ์มากกว่าค่ะ
  • จำได้ตอนไปฝึกสอนสมัยเรียนปริญญาตรี วันแรกที่ไปถึงหมู่บ้าน มีคนถูกฟ้าผ่าตาย
  • พวกเราครูฝึกสอน ถูกเกณฑ์ให้ไปจัดดอกไม่หน้าหีบศพค่ะ อิ..อิ...อิ...
  • พอเป็นครูสอนระดับมัธยม ก็เปิดสอนให้เด็กทำดอกไม่จันทน์เป็นรูปดอกกุหลาบอีกค่ะ โหยิ่งพูดยิ่งยาว  ขอบพระคุณพี่คิมค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยือน

แวะมาหาความรู้จากบันทึกพี่ครูอิงจันทร์ค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีน่ะค่ะ การตัดทั้ง 3 บ่วงนั้นถือเป็นเรื่องยากทีเดียวค่ะ ^__^

ปุตโต คีเว : มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว พันคอ

ธนัง ปาเท : ทรัพย์ผูกบาทาคลอ หน่วงไว้

ภริยา หัตเถ : ภรรยาเยี่ยงบ่วงหนอ รึงรัด มือนา

สามบ่วงใครพ้นได้ จึ่งพ้นสงสาร....

เครดิต Sittichai Khammee

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท