เรื่องของพ่อหิ่ง...หมอเป่าสมุนไพรบ้านไพรปันลา


ชาวบ้านบางกลุ่มยังมีความเชื่อความศรัทธาในการรักษาแบบดั้งเดิมของชุมชน

1.

 คาถาก่อนออกจากบ้าน

      พุทธังมาปิด ธัมมังมาปิด

สังฆังมาปิด พระเจ้าแผลงฤทธิ์ อิติปิโส ภควา

พุทธังแคล้วคลาด         ธัมมังแคล้วคลาด

สังฆังแคล้วคลาด พระเจ้ายังบาท   อิติปิโส ภควา

พุทธังคลาดแคล้ว ธัมมังคลาดแคล้ว

สังฆังคลาดแคล้ว พระเจ้าเกิดแล้ว อิติปิโส ภควา

 

2.

     เก็บข้อมูลจากปราชญ์ชาวบ้านในตำบลสำโรง จังหวัดสุรินทร์

     หมอสมุนไพรท่านนี้ชื่อพ่อหิ่ง ขอจงสุข (นามสกุลเพราะเชียว)

     พ่อหิ่งอายุ ๗๗ ปีแล้ว (เกิด พ.ศ.๒๔๗๗)

                  

      งานเก็บข้อมูลในครั้งนี้ได้มีผู้ใหญ่บ้านและคนในหมู่บ้านไพรปันลา* แนะนำพ่อหิ่งซึ่งเป็นบุคคลที่ชาวบ้านนับถือและภูมิใจในความสามารถในการรักษาอาการเจ็บป่วย นอกจากคนในหมู่บ้านแล้ว คนบ้านอื่นก็เคยมีเดินทางมาให้พ่อหิ่งรักษาอาการเจ็บป่วยให้อยู่บ่อยๆ

      *(ไพรหมายถึงป่า ปันลาหมายถึงหนาม = ป่าหนาม : แต่ก่อนหมู่บ้านนี้มีป่าหนามเยอะ เลยมีชื่อเป็นภาษาถิ่นว่า บ้านไพรปันลา) 

       พ่อหิ่งเล่าว่า เริ่มแรกเรียนวิชามาจากพระ เนื่องจากเคยติดตามพระมาก่อน ตั้งแต่อายุประมาณ ๒๑ ปี ตอนนั้นได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีรักษาต่างๆ เช่น การรักษาสารพัดพิษงูกัด แมลงกัดต่อย ผีเข้า ปอบเข้า เป็นต้น

     อยู่กับพระประมาณ ๗ ปี แล้วก็เริ่มรักษาผู้ป่วย โดยเริ่มรักษาคนในหมู่บ้านไพรปันลาก่อน จากนั้นก็มีคนต่างหมู่บ้าน ต่างจังหวัดเข้ามารักษา ใช้สมุนไพรในการรักษาพร้อมกับคาถาและการเป่า

     อาการที่พ่อหิ่งรักษามีตั้งแต่แมลงกัดต่อย งูกัด ไปจนถึงผีเข้า ลักษณะของคนผีเข้าพูดไม่รู้เรื่อง ตาแดง ไม่พูดไม่จา บางคนจะดูซึมๆ บางคนโดนยาสั่งมา คืออาจไปกินเหล้า ข้าวปลาอาหารที่เขาเสกไว้ เขาสั่งให้ทำอะไรก็ทำโดยที่เราไม่รู้สึกตัว ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

    แต่ละอาการ มีการใช้สมุนไพรและวิธีการแตกต่างกันไป ขอยกตัวอย่าง การรักษาสัตว์มีพิษกัดต่อย มีสมุนไพรที่ใช้ คือ เดิมจังฮูย(ภาษา เขมร)  หมากแข็ง ใช้ราก และยาสูบ อย่างละ ๗ ชิ้น วิธีการรักษาพ่อหมอจะนำสมุนไพรทั้ง ๓ อย่างมาเคี้ยว เสกคาถา แล้วก็เป่าใส่ ณ แผลบริเวณที่ถูกงูกัดนั้น แมลงสัตว์กัดต่อยก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน

      ปัจจุบันนี้ก็ยังมีคนมารักษาทุกวัน จำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากอุบลราชธานี โคราช หนองคาย

      การถ่ายทอดวิชาการรักษา พ่อยังไม่ได้สอนใคร เพราะคนที่มาขอเรียนเป็นคนกินเหล้า เลยไม่สอนให้  ใจจริงก็อยากสอนวิชาต่อไป แต่ลูกหลานส่วนมากกินเหล้า การรักษาเป็นเคล็ดที่ไม่ให้วิชาแก่คนที่ดื่มเหล้าเพราะจะเกิดอันตรายแก่ผู้นั้น เช่นตาบอด คนที่มาเรียนถ้าบวชมาก่อนจะดี มีพระอยากมาเรียนด้วย แต่สอนไม่ได้เพราะเป็นพระอยู่ ต้องสึกมาก่อนถึงจะสอนได้ 

      เรื่องราวของพ่อหิ่งมีเส้นทางที่คล้ายคลึงกับหมอสมุนไพรท่านอื่นๆ ที่ได้พูดคุย คือส่วนใหญ่จะได้เรียนวิธีการรักษามาจากพระหรือจากครูสมุนไพร

       มีเงื่อนไขเหมือนกันคือ การเรียนวิชานั้นถ่ายทอดกันให้แก่คนที่ถือศีล ประพฤติดีเท่าันั้น และส่วนใหญ่ยังไม่ได้ถ่ายทอดให้ใครสืบต่อวิชาความรู้ที่มี

      ในทุกวันนี้แม้ชาวบ้านจะเข้าถึงการรักษาพยาบาลแบบสมัยใหม่ได้ในโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย แต่ก็ยังมีชาวบ้านบางกลุ่มที่ยังมีความเชื่อความศรัทธาในการรักษาแบบดั้งเดิมของชุมชน มีความเคารพนับถือพ่อหมอผู้อาวุโสของหมู่บ้าน ที่มีคาถาปลุกเสกปัดเป่าโรคร้ายที่เป็นภาษาท้องถิ่น (ภาษาเขมร) และใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมารักษาอาการเจ็บป่วยให้หาย

1. 

       ก่อนกลับ พ่อหิ่งยังใจดีให้คาถาบทหนึ่ง เป็นคาถาก่อนออกจากบ้าน ให้ท่องทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตราย  เหมือนกับว่าเป็นการให้เราเตือนสติ เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมก่อนที่จะทำอะไร.... 

หมายเลขบันทึก: 423422เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาไทย  ยิ่งใหญ่และต้องทำให้ยั่งยืน

 เป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่ง  

           ในมวลมนุษยชาติ  

           ตั้งแต่มนุษย์เกิด จนถึงตายไป  

             ได้เก็บความรู้   ประสบการณ์ ทักษะ ความคิดคำนึง 

      จนเป็นภูมิปัญญาติดตัวอยู่ 

              เมื่อถึงเวลาตายไป 

           หากมิได้เผยแพร่ภูมิปัญญา  

                  ให้อนุชนรุ่นหลัง 

          ก็เปรียบเสมือนได้ขโมย   

      ตำรา และภูมิปัญญาจากโลกมนูษย์ไป 

          นับเป็นเรื่องสูญเสียโอกาส 

             ของมนุษย์ที่เกิดมาทีหลัง   เป็นอย่ายิ่ง  ..........

                      พงศา

                      ป่าไม้

                       สายน้ำ

                       ชีวิต   http://gotoknow.org/blog/bangheem/325089

 เป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่ง  

           ในมวลมนุษยชาติ  

           ตั้งแต่มนุษย์เกิด จนถึงตายไป  

             ได้เก็บความรู้   ประสบการณ์ ทักษะ ความคิดคำนึง 

      จนเป็นภูมิปัญญาติดตัวอยู่ 

              เมื่อถึงเวลาตายไป 

           หากมิได้เผยแพร่ภูมิปัญญา  

                  ให้อนุชนรุ่นหลัง 

          ก็เปรียบเสมือนได้ขโมย   

      ตำรา และภูมิปัญญาจากโลกมนูษย์ไป 

          นับเป็นเรื่องสูญเสียโอกาส 

             ของมนุษย์ที่เกิดมาทีหลัง   เป็นอย่ายิ่ง  ..........

                      พงศา

                      ป่าไม้

                       สายน้ำ

                       ชีวิต   http://gotoknow.org/blog/bangheem/325089

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท