จันทร์ ตอน ๔


จันทร์เอ๋ย คนเรานั้น จะต้องรู้จักเลือกคบคนที่ดี เพื่อนที่ดี ในการอยู่ร่วมกันนั้น จะต้องเอาใจเขาไปใส่ใจเรา คนที่อยู่รวมกันหมู่มากนั้นจะต้องรู้จักทำใจ เพราะว่าคนเราที่มาอยู่รวมกันจำนวนมาก มีทั้งคนดีไม่ดี บางคนก็มีอัธยาสัยหยาบ บางคนก็มีอัธยาสัยละเอียด เพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎระเบียบข้อบังคับ สำหรับเป็นสิ่งควบคุมคุมควมประพฤติของคนในสังคม

 

 

 

 

                

                 สักวาฉลองนั้นท่านกล่าวไว้      เป็นกำไรเพิ่มพูนบุญกุศล

            ใครผ่านมาผ่านไปได้ยินยล          เชิญผู้คนโมทนาสาธุการ

            ประเพณีที่ดีมีมาก่อน                  ได้สะท้อนดวงจิตคิดสืบสาน

            ให้คงอยู่คู่คนไทยไปอีกนาน         เป็นตำนานนับเนื่องเรื่องบุญเอย 

                                                                                     ๔ ก.พ.๕๔   

   

      “**เรื่องการฉลองนี้มีมาช้านานแล้ว จะเรียกว่าคู่กับโลกก็ว่าได้ ในครั้งพุทธกาลเมื่อนางวิสาขาสร้างบุพพารามมหาวิหารเสร็จแล้วก็จัดฉลอง ๓ วัน ๓ คืน ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเมื่อสร้างเชตวันมหาวิหาร เสร็จแล้วก็จัดการฉลองสิ้น ๗ วัน ๗ คืน  ต่อมาเมื่อสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์แล้ว ทรงฉลองนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน” มีผู้ถามว่าทำอะไรเสร็จแล้ว จะไม่ฉลองได้ไหม ตอบว่าไม่ฉลองก็ได้ แต่ฉลองนั่นแหละดี เหมือนกับว่าถ้ารับประทานอาหารคาวแล้วจะไม่รับประทานของหวานอีกก็ได้  แต่รับประทานนั่นแหละดีจะได้อิ่มอย่างสมบูรณ์แบบ

        “การฉลองนั้นจัดว่าเป็นบุญประเภทกำไร เพราะเป็นการเพิ่มบุญให้มากขึ้นเป็นทวีตรีคูณ เป็นการประกาศความสำเร็จ เป็นการชักชวนให้ผู้อื่นมาอนุโมทนาทำบุญร่วมกัน เป็นการรักษาประเพณีที่ดีเอาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญไป**.....”(เรื่องฉลอง มาในหนังสือ เก็บเล็กผสมน้อย  ฉบับสมบูรณ์  หน้า ๒๑๔   นับขึ้นบรรทัดที่   ๙  ของพระพุทธวรญาณ วัดประยูรวงศาวาส  กรุงเทพฯ)

          พอท่านเจ้าคณะตำบลเทศน์เสร็จ ก็เป็นเวลาฉันภัตตาหารเพลพอดี ชาวบ้านช่วยกันยกสำรับกับข้าวที่เตรียมไว้มาถวายพระสงฆ์ ก่อนที่จะฉันท่านเจ้าคณะตำบลก็อนุโมทนาเป็นภาษาบาลี  จากนั้นจึงได้ลงมือฉัน  อาหารที่ชาวบ้านเตรียมไว้ทำบุญในวันนี้ ก็มี แกงปลาแห้งใส่ใบผักหวาน  ย่างปลา ข้าวปุ้นน้ำยาปลาแห้ง   ตำมะละกอ ลาบเทา  และก็ของคาวอื่นๆอีกตามที่มีชาวบ้านอื่นทำมาร่วมทำบุญด้วย สำหรับของหวานก็มี ข้าวหมก ลอดช่อง ข้าวต้มมัด ข้าวตอกแตกผสมน้ำผึ้งและเนื้อมะพร้าวอ่อน (ข้าวเปลือกที่เอาไปคั่วไฟ)  เท่านี้ก็ถือว่าเป็นอาหารที่ประณีตมากแล้วในสังคมชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ  หลังจากที่พระฉันเสร็จ ชาวบ้านก็รับประทานอาหารร่วมกันอย่างมีความสุข และอร่อย

    พอถึงตอนเย็นคณะรำวงที่ตกลงว่าจ้างเอาไว้ในราคาอนุโมทนาบุญ เพื่อหารายได้เข้าวัด และเพื่อความสนุกสนานก็เริ่มการแสดง  ในคณะนี้มีสาวรำวงชาวบ้านร่วมสนุกด้วย จันทร์ก็เป็นสาวรำวงคนหนึ่งในจำนวนนั้น เพราะเธอเองก็เป็นสาวสวยหน้าตาดี  ในการรำวงนี้ สาวรำวงจะนั่งอยู่บนเก้าอี้ข้างล่าง รอเวลาที่หนุ่มๆจะเอาพวงมาลัยไปคล้อง หนุ่มๆที่มาเที่ยวงานก็มีหลายคนที่ชื่นชมในความสวยของจันทร์ ต่างคนก็อยากจะซื้อพวงมาลัยไปมอบให้จันทร์ ราคาพวงมาลัย พวงละ ๑๐ บาท เมื่อหนุ่มคนไหนอยากฟ้อนรำกับสาวคนใดที่ตนเองพอใจ ก็จะซื้อพวงมาลัยไปมอบให้กับสาวคนนั้น เมื่อถึงเวลาที่นักร้อง ๆ เพลงสาวคนที่ได้รับพวงมาลัยก็จะต้องลุกขึ้นไปฟ้อนรำกับหนุ่มคนนั้น เป็นเวลา  ๑ เพลง  รายได้ที่ได้จากการขายพวงมาลัยส่วนหนึ่งก็จะนำมาถวายวัด เพราะเป็นเรื่องการกุศล ช่วงที่ฟ้อนรำจะเป็นช่วงที่ชายหนุ่มหญิงสาวได้มีโอกาสใกล้ชิดกัน  ได้มีโอกาสพูดคุยกันบ้างตามประสาหนุ่มสาว โดยที่พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็ไม่ได้ว่าอะไร วิถีชีวิตของคนในชนบทส่วนมากจะเป็นไปในทำนองนี้   ชายหนุ่มหญิงสาวที่รักใคร่ชอบพอกัน ถึงเวลาตอนเย็นหลังจากกินข้าวกินปลาเสร็จแล้ว ฝ่ายชายก็จะไปจีบฝ่ายหญิงที่บ้าน  โดยทั้งหมดนี้ก็อยู่ในสายตาของพ่อแม่ฝ่ายหญิง ถ้าหากว่าพ่อแม่ฝ่ายหญิงชอบพอถูกใจและเข้าใจว่าฝ่ายชายเป็นคนดีก็จะเปิดโอกาสให้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าไม่ชอบเพราะเห็นว่าไม่เหมาะสมกับลูกสาวของตนก็กีดกันบ้าง ไม่เปิดโอกาสบ้าง ก็มีชายหนุ่มหญิงสาวบางคู่ที่ชอบพอกันแต่พ่อแม่กีดกัน และลักลอบได้เสียกันก็มี ลักษณะนี้เรียกว่าผิดผี  พ่อแม่รู้เรื่องเข้าก็ต้องทำการเสียผี คือฝ่ายชายจะต้องขอขมาลาโทษต่อบรรพบุรุษของฝ่ายหญิง และพ่อแม่ของผู้หญิงที่ตนได้ล่วงเกิน โดยได้นำเอาเหล้าหนึ่งไห ไก่หนึ่งตัว หมากพลูบุหรี่ มาเป็นเครื่องเสียผีด้วย และได้นำเอาสินสอดมามอบให้พ่อแม่ของฝ่ายหญิง และก็เชิญชวนเพื่อนบ้านที่มาเป็นสักขีพยานร่วมกันกินข้าวกินปลา เสร็จแล้วก็เป็นอันได้อยู่ร่วมกัน

    กล่าวถึงจันทร์ หลังจากงานที่วัดผ่านพ้นไปแล้วเธอก็มีโอกาสได้อยู่กับพ่อและน้องอย่างเต็มที่ ช่วงที่อยู่ด้วยกัน  นายมั่นบิดาของจันทร์ ก็ถือเอาโอกาสนี้สั่งสอนลูกสาวของตนเอง เนื้อเรื่องที่สอนลูกมีดังนี้

        “ จันทร์เอ๋ย คนเรานั้น จะต้องรู้จักเลือกคบคนที่ดี เพื่อนที่ดี ในการอยู่ร่วมกันนั้น จะต้องเอาใจเขาไปใส่ใจเรา คนที่อยู่รวมกันหมู่มากนั้นจะต้องรู้จักทำใจ เพราะว่าคนเราที่มาอยู่รวมกันจำนวนมาก มีทั้งคนดีไม่ดี บางคนก็มีอัธยาสัยหยาบ บางคนก็มีอัธยาสัยละเอียด เพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎระเบียบข้อบังคับ สำหรับเป็นสิ่งควบคุมคุมควมประพฤติของคนในสังคม ลักษณะของเพื่อนที่ดีที่เรียกว่ากัลยาณมิตร จะต้องมีหลักธรรม ๗ ประการ เรียกว่า สัปปุริสธรรม มี ๗ อย่าง คือ

         ๑.  ธัมมัญญุตา      ความป็นผู้รู้จักเหตุ

         ๒. อัตถัญญุตา      ความเป็นผู้รู้จักผล

         ๓. อัตตัญญุตา      ความเป็นผู้รู้จักตน

        ๔.  มัตตัญญุตา      ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

        ๕.  กาลัญญุตา       ความเป็นผู้จักปประมาณ

        ๖.  ปริสัญญุตา       ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

        ๗. ปุคลัญญุตา       ความเป็นผู้รู้จักบุคคล

     ธรรมะทั้ง ๗ ประการนี้ เรียกว่าสัปปุริสธรรม หมายถึงธรรมะ หรือข้อปฏิบัติสำหรับคนดี เพื่อให้จำง่าย เรียกว่า รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักการ รู้จักชุมชน รู้จักบุคคล และในการอยู่รวมกันนั้นจะต้องมี สังคหวัตถุ แปลว่า วิธีสงเคราะห์ หมายถึง วิธีปฏิบัติเพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่นที่ยังไม่เคยรักใคร่นับถือ หรือที่รักใคร่นับถืออยู่แล้วให้สนิทแนบยิ่งขึ้น พูดง่าย ๆ สังคหวัตถุ ก็คือ เทคนิควิธีทำให้คนรัก หรือมนต์ผูกใจคน นั่นเอง มีทั้งหมด 4 ประการ ดังนี้

หมายเลขบันทึก: 423372เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

  • พระคุณเจ้าใช้กลวิธีในการเผยแผ่ธรรมะได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน
  • ทำให้อ่านแล้วไม่เบื่อ เหมือนได้อ่านนิยายเป็นตอน ๆ
  • ธรรมมะสำหรับเช้านี้ที่ถ่ายทอดผ่าน สาวจันทร์ คือ สัปปุริสธรรม และ สังคหวัตถุ
  • ขออนุญาตเก็บเกี่ยวรายละเอียดจากบันทึกที่ผ่าน ๆ มา เพือลดความพร่องให้กับจิต ค่ะ
  • อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้เข้าใจถึง การใช้ คำว่า อนุโมนาบุญมากขึ้น
  • อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้า

  • ใช้ภาษาเรียบเรียงสื่อความได้ไพเราะดีค่ะ
  • ขออนุโมทนาด้วยค่ะ

 ขอบคุณคุณครูอิงจันทร์ และ คุณครูภาทิพ ที่มาเยี่ยมชม ให้คำแนะนำครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท