พุทธพจน์กับคำโคลง


หากความรู้ของตนไม่พึงมี หรือวินัยไม่ได้ศึกษาดีแล้ว ชนเป็นอันมากจะพึงเที่ยวไป เหมือนกระบือบอดที่เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น

                โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ         วินโย วา  สุสิกฺขโต

                วเน อนฺธมหีโสว                 จเรยฺย พหุโก ชโน

            คำแปล หากความรู้ของตนไม่พึงมี หรือวินัยไม่ได้ศึกษาดีแล้ว ชนเป็นอันมากจะพึงเที่ยวไป เหมือนกระบือบอดที่เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น(เรื่องนี้จากกถาวินัย ชั้น ป.ธ.๔)

            ความหมายก็คือ ถ้าหากว่าเป็นคนไม่มีความรู้ ไม่ได้ศึกษากฎระเบียบ การดำเนินชีวิตมาเป็นอย่างดี ชีวิตของคนนั้นก็เปรียบเหมือนกระบือที่ตาบอด เที่ยวหากินไปในป่า ไม่รู้ว่าจะไปชนกับอะไรที่ไหนอย่างไรบ้าง หรืออาจจะตกเหวตกเขาตายไปก็ไม่อาจจะทราบได้ เช่นเดียวกันกับคนที่ไม่มีความรู้ ทั้งความรู้วิชาการ ทั้งวิชาชีพ การดำเนินชีวิตก็ไม่ราบรื่นเท่าไร เพราะฉะนั้น ความรู้หรือปัญญานี้ท่านจึงเปรียบเหมือนแสงสว่าง ดังบาลีว่า นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา แสงสว่างใด เสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี.คุณครูภาทิพท่านได้แต่งคำโคลงไว้ดังนี้

 

                ชนใดขาดรอบรู้         สรรพวิทย์ 
            ภิกษุวินัยปิด                 เปล่ารู้
            คือมหิงส์มัวมิด              มืดบอด  ตานา
            จะเสาะอาศัยสู้              อยู่ได้ฉันใด

ญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญญ

หมายเลขบันทึก: 420769เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2011 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำไม ไม่ลงเยอะกว่านี้หน่อยล่ะจ๊ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท