มหาขันทีเจิ้งเหอกับกุหลาบเชอโรกี


กุหลาบมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์ของหลายชนชาติอย่างไม่น่าเชื่อค่ะ อีกชนชาติที่ผูกพันกับกุหลาบมากและน่าสนใจคือ จีน

กุหลาบเป็นดอกไม้ที่มีวิวัฒนาการมานานหลายสิบล้านปี และได้รับการพัฒนาสายพันธุ์โดยมนุษย์อดีตเรื่อยมา ในปลายศตวรรษที่ 18 มีการนำกุหลาบจีนมาผสมกับกุหลาบยุโรป และกลายเป็นที่นิยมมากในศตวรรษที่ 19

แต่กุหลาบจีนแพร่หลายไปทั่วโลกได้อย่างไรนั้น ไม่มีการบันทึกไว้

หากในรัชกาลพระเจ้าจูตี้ ฮ่องเต้องค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง

พระองค์มีพระประสงค์จะขยายจักรวรรดิทางทะเลที่ครอบคลุมทุกมหาสมุทร ได้ทรงแต่งตั้งมหาขันทีเจิ้งเหอของจีน ให้เป็นผู้บัญชาการกองเรือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยปรากฎในจีน เพื่อทำพระประสงค์ของพระองค์ให้กลายเป็นจริง (มหาขันทีเจิ้งเหอนั้น ได้รับสมยาว่าซานเป่ากง หรือสามวิเศษอันหมายถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ในศาสนาพุทธ ต่อมาชาวจีนโพ้นทะเลได้ยกย่องเจิ้งเหอเสมือนเทพ ขนานนามว่า “ซานเป่ากง” หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม “ซำปอกง” นั้นเอง)

จีนนั้นมีความเจริญในหลายด้านมาช้านาน การพัฒนาพันธุ์พืชและแพร่พันธ์ ก็เป็นหนึ่งในความเชี่ยวชาญของชนชาติจีน เมื่อออกเดินทาง ได้นำผู้เชี่ยวด้านต่างๆไปกับกองเรือ ซึ่งรวมไปถึงนักพฤกษศาสตร์ อีกทั้งได้บรรทุกธัญพืช และพืชพันธุ์จำนวนมากเพื่อไปปลูกในต่างแดน เพื่อเป็นการจัดเตรียมอาหารสำหรับอาณานิคมใหม่ 

เหล่าลูกเรือได้นำกุหลาบที่ส่งกลิ่นหอมอันเป็นสิ่งเตือนใจถึงบ้านเกิดติดตัวไปด้วย พวกเขาปลุกกุหลาบในกระถางและรดน้ำกุหลาบเหล่านั้นด้วยน้ำที่ได้รับการปันส่วน

มีกุหลาบป่ากลิ่นหอมชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ในป่าของอเมริกาเหนือ ในปี ค.ศ. 1803 ชาวยุโรปผู้เข้าไปตั้งถิ่นฐานได้พบเข้า  พวกเขาตั้งชื่อกุหลาบพันธุ์นี้ว่า เชอโรกี ปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานใดพออธิบายได้ว่างไม้ดอกแสนสวยนี้ไปแพร่พันธุ์ในอเมริกาเหนือได้อย่างไร ทั้งๆที่ต้นไม้ชนิดนี้เป็นพืชพืชประจำถิ่นตะวันออกเฉียงใต้ของจีน และมีภาพวาดอยู่ในตำรายาจีนเมื่อศตวรรษที่ 12

ถึงจะไม่มีหลักฐานแต่การที่ลูกเรือในกองเรือสำเภาของมหาขันทีเจิ้งเหอปลูกกุหลาบกันเป็นเรื่องปกติ และมีหลักฐานว่ากองเรือของมหาขันทีได้ไปถึงดินแดนแถบตะวันตก พบประเทศใหญ่น้อยมากกว่า 3,000 ประเทศ

บางที ...  สองเรื่องนี้จึงอาจจะเชื่อมโยงถึงกันก็ได้นะคะ

..........................

อ้างอิงเรื่องและรูป

เรื่องชัย รักศรีอักษร (ผู้แปล) 1421 ปีที่จีนค้นพบโลก: มติชน,กรุงเทพ.2550

หมายเลขบันทึก: 418737เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2011 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ตามมาอ่านแต่สายๆ

ชอบกุหลาบ

แต่แถวนี้ปลูกไม่ค่อยสำเร็จ

ตายยกร่องไปแล้ว

ลืมไปว่ายังไม่ได้สวัสดีปีใหม่จ้า

ตำนานนี้น่าสนใจมาก...อยากเห็นกุหลาบสายพันธุ์นี้จังค่ะ..

...มาขอบคุณภาพกุหลาบสวยงามที่ คุณณัฐรดา กรุณาส่งไปให้ถึงบ้าน..ได้เก็บไว้ในสมุดสะสมภาพ รวมกับหนังสือวิธีวาดภาพดอกไม้สีน้ำ ที่เคยส่งให้พี่แล้วจำนวนหนึ่ง..ขอผลกุศลนี้ จงส่งให้ คุณณัฐรดา มีความเป็นเลิศทางศิลป์ด้านนี้ยิ่งๆขึ้นไปอีกนะคะ..

 

บัตรอวยพรปีใหม่นี้ของมูลนิธิสายใจไทยฯ ..มีภาพวาดสีน้ำ ดอกกุหลาบสองพันธุ์จากอเมริกาเหนือ คือ Chicago Peace (สีส้ม) และ Oklahoma Rose (สีแดง)

 

       

ขอบคุณที่นำเรื่องเล่าดีๆ มาฝากกันครับ

สุขสันต์วันเด็ก อยากจะชวนไปดูแบบอย่างของอดีตเด็กที่ http://gotoknow.org/blog/somdejmas/418627

เค้าว่ากันว่า เจิ้นเหอ ค้นพบอเมริกา จริงรึป่าวครับ

พูดถึงเรื่องกุหลาบ...

ก็อยากจะแวะมาบอกว่าได้รับภาพดอกกุหลาบสีขาวแสนสวยเรียบร้อยแล้วนะคะ

ขอบคุณในน้ำใจไมตรีที่มีต่อกันค่ะ..

ดอกไม้ใครเอ่ย.......เก็บมาฝาก

ภาพประจำบล๊อกหน้าผ่อง.......สวยเชียว

มีความสุขนะคะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ

มาส่งความระลึกถึง สบายดีนะคะ

 

  • ภาพกุหลาบสวยจาก"แรงบันดาลใจ"  ถึงที่หมายแล้วนะคะ ( ปลื้มใจสุดๆ )
  • ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง

มาชม

ได้เรื่องเล่าจากเมืองจีนนะครับผม

ชื่อดอกกุหลาบคล้ายชื่อยี่ห้อรถเลยนะครับพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท