Scenario Analysis for Strategic planning


Scenario Analysis คือการใช้ข้อมูลปัจจุบัน ในการพยากรณ์สถานการณ์ขององค์กร ที่เป็นไปได้ ทั้งแง่ลบ Worst or Bleak Future และแง่บวก Best or Bright Future และนำมาออกแบบยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมกับการเผชิญอนาคตที่ไม่แน่นอน ทั้งดีที่สุุดหรือเลวร้ายที่สุด

เมื่อวันที่ 1-2 พย 53 ที่ผ่านมา สถาบันธัญญารักษ์ ได้นำผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บางส่วนไปร่วมกัน ทบทวนและกำหนดยุทธศาสตร์ 4 ปี ซึ่งต้องมีการทบทวนและปรับ ทุกปี ไม่ใช่กำหนดไว้ 4 ปี ต้องรอ 4 ปีถึงจะทบทวนได้  เพื่อให้ได้ยุทธศาสตร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ

      เดิม SWOT Analysis จะเป็นเครื่องมือยอด HIT ที่หลายองค์กร รวมทั้ง สถาบันธัญญารักษ์ด้วย ใช้ในการวางแผนมาตลอด     แต่ปีนี้ เราได้ความรู้ใหม่ว่า SWOT ยังมีจุดอ่อนที่สำคัญคือ เป็นการมองภาพในปัจจุบัน  แต่ไม่ได้มองภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต   ทำให้เราได้ยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  แต่อาจไม่เหมาะกับอนาคตก็ได้ฝ่ายแผนของสถาบัน ได้ขอให้ผมช่วยนำกลุ่มสัมมนาในช่วงนี้ให้หน่อย  ผมจึงได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติม จากหนังสือบ้าง  website บ้าง CD บ้าง    จนสรุป Idea สำคัญได้ดังนี้ครับ

Scenario Analysis   เป็นการให้คนในองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งภายใน ภายนอก คล้าย SWOT   แต่ไม่จำเป็นต้องบอกว่า ประเด็นนั้นเป็นจุดอ่อน จุดแข็ง  โอกาส หรือภาวะคุกคาม   แต่ถือว่า เป็นเพียงปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้  ซึ่งอาจเรียกว่า Change factors หรือ Driving Force        และจากปัจจัยเหล่านี้ ให้จินตนาการภาพในอนาคต  ทั้ง Possible Worst  และ Possible Best   นี้ ย้ำจากปัจจัยเหล่านี้จริงๆ นะครับ ห้ามเดามั่ว     เช่น  ปัจจัยที่พบคือ  ประชาชนสูงอายุจำนวนมาก    Possible Worst ก็คือ  ในอนาคตเราจะพบผป โรคเรื้อรัง ที่มาจากการดูแลสุขภาพตนเองไม่ดีจำนวนมากจนล้นโรงพยาบาล     แต่ในขณะเดียวกัน ที่เป็นไปได้ว่า  จากโครงการส่งเสริมสุขภาพที่เราทำอยู่ อาจประสบความสำเร็จ  ผู้ป่วยสูงอายุที่เพิ่มขึ้น  กลับสามารถดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี และมีโรคเรื้อรังน้อยลง หรือมีแต่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีได้ ด้วยพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม   ตรงนี่้แหละที่เรียกว่า Possible Best  

         ถ้าเป็นตัวอย่างกรณี  ยาเสพติด ก็คือ  การที่ยาเสพติดตัวใหม่ๆ ออกมาในท้องตลาดอยู่เรื่อยๆ    ในอนาคตสถาบันธัญญารักษ์ อาจสามารถพัฒนา แนวทางการรักษาอาการติดยาหรือสารเสพติดได้ทันต่อ ยาเสพติดใหม่ๆ ที่ออกมา  แบบนี้ก็เป็น Best or Bright  Future  แต่ในขณะเดียวกัน  ก็มีความเป็นไปได้ที่สถาบันธัญญารักษ์ อาจไม่สามารถพัฒนาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้ทันต่อสถานการณ์   ก็จะเป็น Bleak or
Worst Future

 เมื่อเราได้วิเคราะห์ ความเป็นไปได้ที่สำคัญอย่างคลอบคลุมแล้ว  ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กรที่มีประสิทธิผล  สอดคล้องกับทั้งสถานการณ์ปัจจุบัน  และส่งเสริมให้อนาคตเป็นไปในทางที่ดีมากที่สุด และป้องกันความเสี่ยงที่จะพาองค์กรลงเหว     และเติบโตอย่างยั่งยืน นั้นเอง 

หมายเลขบันทึก: 411926เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2010 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณครับ เป็นการมองไปยังอนาคตที่เราวาดฝันอะท่าน

ใช้ขอรับ แต่ ให้มองทั้ง Possible positive และ Possible negative

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท