อาหารแห่งปัญญา (3-60)


...แน่ ล่ะ...แขกที่ได้รับการเชิญมาใน“Wisdom Dinner” นี้ ต้องเตรียมตัวมาอย่างดี ในการที่จะบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ ความรู้ของตน หลังการบอกเล่าจะมีการพูดคุย ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างมีความสุข...

 

 

 

      ระยะนี้กำลังสนใจศึกษาเกี่ยวกับ “กระบวนการเรียนรู้” และ “กระบวนการถ่ายทอดความรู้” ซึ่งยิ่งอ่านตำรับตำรา งานเขียน วิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ยิ่งพบว่าตัวเองรู้น้อยลงน้อยลงทุกที ๆ ๆ ทั้ง ๆ ที่ได้ทำการศึกษามาแล้วระยะหนึ่ง…เข้าตำรายิ่งเรียนยิ่งฉลาดน้อยลง(โง่) เสียก็ไม่รู้ได้ (ฮาๆ)

       ธรรมชาตินิสัยของแต่ละคน เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลอย่างสำคัญต่อ “การเรียนรู้” ยังไม่นับรวมถึง ผู้สอน วิธีการ สื่อที่ใช้ บริบทของการเรียนรู้ (สิ่งแวดล้อม ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม) การติดตามประเมินผล และอีกสารพัดปัจจัย

ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต

 

          วันนี้ระลึกไปถึงเมื่อครั้งได้ไปศึกษาดูงานกว่า 3 เดือนที่อิสราเอล ดินแดนแห่งน้ำนมและน้ำผึ้ง (อิสราเอลเป็นประเทศของ “ชาวยิว” ซึ่งปัจจุบันได้ทวงคืนประเทศจากชาวอาหรับและยังคงมีกรณีพิพาทกัน)  ซึ่งเคยเขียนบันทึกไว้ที่ จดหมายจากดินแดนแห่งน้ำนมและน้ำผึ้ง ได้เล่าภาพกว้าง ๆ ของ “ระบบการศึกษาของอิสราเอล” ไว้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้เล่าถึง “วิธีการ” อีกเรื่องหนึ่งที่เห็นว่าน่าสนใจ นั่นคือ การเชิญนักปราชญ์ ผู้มีความรู้ มารับประทานอาหารค่ำที่บ้านในวันสุดสัปดาห์ ซึ่งมักจะเป็นเย็นวันศุกร์หรือวันเสาร์ (ชาวยิวจะหยุดทำงานตั้งแต่บ่ายวันศุกร์และวันเสาร์ ส่วนวันอาทิตย์เป็นวันเริ่มต้นสัปดาห์ของการทำงาน)

       การเชิญนักปราชญ์ ผู้มีความรู้ มารับประทานอาหารค่ำที่บ้านในวันสุดสัปดาห์ของครอบครัวชาวยิวที่ได้ไปเยี่ยมนี้ เรียกว่า “Wisdom Dinner” หรือ “มื้อค่ำแห่งภูมิปัญญา” โดยเชิญแขก 1-2 คนมาร่วมรับประทานอาหารค่ำร่วมกับสมาชิกทุกคนในครอบครัว แขกที่เชิญนี้จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีเกียรติจากเจ้าภาพ และจะต้องเตรียม “Wisdom talk” หรือ “เรื่องเล่าแห่งปัญญา” สั้น ๆ มาเล่าให้กับสมาชิกทุกคนบนโต๊ะอาหารฟังเป็นการขอบคุณ

       แน่ล่ะ...แขกที่ได้รับการเชิญมาใน“Wisdom Dinner” นี้ ต้องเตรียมตัวมาอย่างดี ในการที่จะบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ ความรู้ของตน หลังการบอกเล่าจะมีการพูดคุย ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างมีความสุข (หลังอาหารค่ำ คนมักจะผ่อนคลาย) นับเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สนุกและได้สาระอย่างไม่รู้ตัว สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของ Neo-Humanist ที่ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีภายใต้ภาวะที่คนมีความสุข ผ่อนคลาย มีภาพแห่งตน(Self image)ที่สมบูรณ์ และมีคลื่นสมองต่ำ

       คราวนี้ก็...ไม่ต้องแปลกใจแล้วว่า เพราะอะไร “ชาวยิว” จึงได้ชื่อว่า “ฉลาดและมีไอคิวสูง”ติดอันดับต้น ๆ ของโลก

       มามองที่เมืองไทยกระบวนเรียนรู้ดี ๆ มีประสิทธิภาพเหล่านี้น่าจะได้รับความสนใจและนำมาใช้บ้าง จะดีไหมนะ หากเปลี่ยนวิธีการเสียบ้าง แทนการพาเด็ก ๆ ไปทานอาหารในห้างสรรพสินค้าทุกวันเสาร์-อาทิตย์ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยผู้คนที่เร่งรีบ ลวกลน ไม่มีเวลาดูแล ใส่ใจซึ่งกันและกัน....


ลองมาสร้าง “มื้ออาหารคุณภาพ” ในบ้านที่อบอุ่นกันดีกว่าไหมคะ?

(^__^)

หมายเลขบันทึก: 408912เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2010 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)
  • น่าสนใจมาก
  • นสมัยก่อนพ่อแม่ล้อมวงกินข้าวกันในบ้าน
  • ผักก็หาแถวบ้าน
  • เล่าเรื่องนิทาน เรื่องสนุกหลังกินข้าวเสร็จ
  • เดี๋ยวนี้หายไปหมดแล้ว
  • กิจกรรมนี้น่าสนใจนะครับ
  • “Wisdom Dinner”
  • เอาผักที่ไร่พนมทวนมาฝาก

สวัสดีค่ะอ.ขจิต

ขอบคุณสำหรับผักจากไร่พนมทวนค่ะ น่าทานจัง

และเห็นจริงดังที่อาจารย์บอกค่ะ สมัยก่อนเราทานอาหารร่วมกันตอนเย็น ๆ มีอะไรก็เล่าสู่กันฟัง ... คิดไปถึงที่ได้สัมภาษณ์ครูประยงค์ รณรงค์ ที่เล่าถึงบรรยากาศการเรียนรู้สมัยก่อนที่ท่านยังเป็นเด็ก...ฮา ๆ ต้องเขียนอีกบันทึกหนึ่งแล้ว

ขอบคุณค่ะ

(^_^)

มาแชร์ด้วยครับ หลายท่าน เข้าใจว่า "การศึกษาเน้น ที่ ความรู้" จริงๆแล้ว ใน พรบ การศึกษาแห่งชาติ มาตรา ๔ เน้น ว่า "การศึกษา" คือ "การเรียนรู้" ครับ

 

ขอบพระคุณท่านอ.JJ ค่ะ

"กระบวนการเรียนรู้" หรือ "การเรียนรู้" เป็นจักรวาลใหญ่ที่ครอบคลุม "ความรู้"

(^__^)

 

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาเยี่ยมพี่หญิงค่ะ
  • พร้อมกับมารับ "อาหารแห่งปัญญา" ต่อไปไม่ต้องไปนั่งในห้าง  หรือนั่งร้านอาหารหรู ๆ ก็กฉลาดและมีไอคิวสูงได้.....
  • ขอบคุณค่ะ

                                       

เรียน ท่าน ฅ ฅน ไม่มีราก ยิ่งระดับอุดมศึกษา ปรับมาใช้ TQF ประเมิน สมรรถนะ ๖ ด้าน ความรู้ เป็นเพียงหนึี่งในหกด้าน ที่ต้องประเมิน เมื่อจบการเรียนรู้ ครับ

สวัสดีครับ คุณคนไม่มีราก

บันทึกนี้ อ่านแล้วเป็นสิ่งที่ดีมาก มาก เลยละครับ

ทำให้ผมมองชุมชน สังคมของบ้านเราครับว่า

ปราญช์ชาวบ้าน นักคิด นักปฏิบัติ และผู้ทรงภูมิ ที่มีจิตอาสาเป็นต้นทุนเดิมอยู่แล้ว

หากเราล้อเลียน เรื่องเล่าแห่งปัญญานี้มาใช้ในชุมชนของเรา ....ก็คงจะดีไม่น้อย

ไม่ทราบว่า...หน่วยงานภาครัฐจะสนใจให้เป็นรูปธรรมมากน้อย แค่ไหน

ดีใจนะครับที่ได้มาอ่านงานเขียน ที่ต่อยอดความคิดได้ทุกครั้งไป

ขอบคุณมากนะครับ

น้องคะ พี่เคยมีความทรงจำในวัยเด็กที่ พ่อของพี่เองจะมี โมงยามแห่งการเล่าเรื่อง และให้ลูก ๆ คนเล็ก ๆ (คนที่มีมาคิดย้อนหลังว่าโชคดีมากสุดคือพี่เอง เพราะเป็นลูกสาวที่ไม่ซน ไม่ค่อยเก่งการเล่นจึงชอบอยู่บ้าน)เรียบเรียงจดเป็นจดหมายถึงพี่ ๆ ที่ไปเรียนไกล ๆ ที่เมืองกรุงหรือต่างประเทศ

เรื่องเล่า เรื่องให้เขียน เป็นความรู้ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่มีค่ายิ่ง

โดยเฉพาะเมื่อมีการเติมความด้วยแม่ ด้วยพี่สาวคนโต และเมื่อมาค้น อ่านทบทวนภายหลัง ระลึกได้ว่า เต็มไปด้วยความรักและผูกพันด้วย...

ทำให้คิดถึงท่านค่ะ 

ขอบคุณบันทึกนี้ของน้องค่ะ

แม้ไม่ถึงกับเป็น wisdom topic แต่คิดว่าเป็นวิธีหนึ่งในการสอนและอบรมลูก ๆ ค่ะ

สวัสดีครับ

เย็นวันศุกร์นี้จะเชิญใครมาทานข้าวเย็นที่บ้านดีหนอ....

พ่อกับแม่ น่าจะเป็นปราชญ์ประจำโต๊ะอาหารที่ดีนะครับ .. ผมว่า

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณบุษรา

ดีใจที่ได้ทักทายก้ัน และชอบดอกไม้สวย ๆ ที่นำมาฝากค่ะ

ระลึกถึงค่ะ

(^__^)

ขอบพระคุณข้อมูลจากท่านอ.JJ ค่ะ

แสดงว่่าเรายังไม่ได้ใส่ใจกับ สมรรถนะอื่น ๆ นอกจากความรู้อีก 5 ด้านที่เหลือเลย

(^__^)

สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี

ดีใจที่ได้เห็นและได้ทักทายกัลยาณมิตรเช่นคุณอีกครั้ง...^_^

ตอนไปพักที่บ้านลุงยงค์ ที่ไม้เรียง เป็นช่วงเวลาีที่มีคุณค่ามากสำหรับคนไม่มีรากค่ะ เพราะได้ติดตามได้พูดคุย ได้สังเกต ได้เรียนรู้ถึงวัตรปฏิบัติของท่านตลอด 5 วันเต็ม ...มีความสุขมาก ไม่มีวินาทีใดที่รู้สึกเบื่อหรือคิดถึงบ้านเลยค่ะ

กระบวนการ สร้าง "การเรียนรู้" เช่นนี้เพิ่งมาคิดและนำมาเล่า เพราะมีเพื่อนที่ไปอบรมที่อิสราเอลด้วยกันเมลมาทักทาย จึงคิดได้ถึงเรื่องนี้ค่ะ  และน่าสนใจมากสำหรับความคิดการต่อยอดนี้

เท่าที่เห็นในปัจจุบันหน่วยงานราชการก็จะเน้นและให้ความสำคัญกับ จิตปัญญาศึกษา หรือ การเรียนรู้ด้วยหัวใจที่ใคร่ครวญ เน้นกระบวนการสุนทรียสนทนา เรื่องเล่าเร้าพลัง ทำนองนี้

แต่ที่น่าคิดคือ กระบวนการง่าย ๆ ในโต๊ะอาหารของครอบครัวนี้ต่างหากที่นำไปต่อยอดได้อีกมากมายและน่าจะเกิดประโยชน์นะคะ

ขอบคุณค่ะ

(^__^)

ขอบคุณพี่ภูสุภาค่ะ

อ่านประสบการณ์ที่พี่นำมาแบ่งปันแล้ว ร้องว่า... นี่ล่ะ wisdom topic ตัวจริงของจริง  ^_^

ไม่แปลกใจค่ะที่ครอบครัวของพี่ล้วนมีพี่น้อง ลูก หลาน ที่มีคุณภาพ เพราะการมี wisdom topic ของคุณพ่อพี่นี่เอง....ดีจัง

ส่วนน้องนั้น แม้เป็นลูกสาวคนเล็ก แต่ซนเป็นลิงค่าง ไม่เคยนั่งนิ่ง ๆ อยู่กับพ่อ พูดช้า ติดอ่าง และดื้อมากกกกก.....อีกด้วย ไม่งั้นคงได้อะไร ๆ ดี ๆ มากกว่านี้ค่ะ...ฮา ๆ

(^__^)

เห็นด้วยกับอ.บินหลาดง ค่ะ

เชิญ พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่มาเป็นผู้ให้“Wisdom talk”  คือสุดยอดที่สุดค่ะ

แล้วอย่าลืมเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

(^__^)

แวะมาอ่าน commentที่คุณคนไม่มีรากฝากไว้

ดีจังเลยนะครับ

กับการไปอยู่ในศูนย์เรียนรู้ของลุงยงค์ ที่ท่าไม้เรียง

หากวันใด คุณคนไม่มีราก แวะมาสถานที่แห่งนี้อีก หรืออาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง หรือสุราษฎร์ธานี อาจให้ฝากcomment ไว้บ้าง

มิตรภาพดี ดี จากชุมชนแห่งนี้ เป็นความทรงจำที่ดีมาก ๆ เลย นะครับ

ขอบคุณในมิตรภาพที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ณ ชุมชนแห่งนี้นะครับ

สวัสดีครับ..

เป็นเรื่องราวที่ดีมาก ๆ เลยครับ...

เอาถั่วหน้าบ้านมาฝาก..กำลังเรียนรู้การเก็บถั่วด้วยกัน..

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาเยี่ยมเยียนตอนดึกบังเอิญกลับจากงานเลี้ยงขอบคุณนักเขียนของบริษัทเอมพันธ์...ไหนๆก็นอนดึกแล้วเลยขอคุยเสียหน่อย
  • แนวคิดนี้ยอดเยี่ยมมากๆค่ะ...จะขอยืมไปใช้กับเด็กๆหน่อยคาดว่าประสบผลสำเร็จแน่นอนค่ะ...ขอขอบคุณที่แบ่งปัน...และขอขอบคุณที่ระลึกถึงกันเสมอนะคะน้องรัก
  • ขอส่งความสุขก่อนวันสงกรานต์นะคะ...ขอให้พบกับความสุขตลอดไปนะคะ

 

                              คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ยินดีมากค่ะคุณแสงแห่งความดี

คนไม่มีรากได้ไปพักที่บ้านของลุงยงค์ ซึ่งห่างจากศูนย์ฝีก/เรียนรู้ ราว 1 กิโลเมตรค่ะ

สนุก อิ่มอร่อย ตื่นตาตื่นใจทุกวินานทีเลยค่ะ

ตอนนั่งรถไฟกลับจากนคร ฯ (ความจริงนอนในตู้นอน) ผ่านสุราษฏร์ธานีก็คิดว่ามีกัลยาณมิตรที่อยู่สุราษฎร์ ฯ เ่ช่นคุณแสงแ่ห่งความดี อ.handyman และอีกหลายท่านด้วย

(^__^)

สวัสดีค่ะIco64

  • คุณยายแวะมาศึกษาหาความรู้ด้วยคนค่ะ
  • ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันนะคะ
  • สุขสันต์วันลอยกระทงค่ะ

แวะมาอ่านบทความดีๆ ของท่านอาจารย์นะครับ

  • เป็นเรื่องที่ดีทีเดียวกัน ทำให้ได้ข้อคิดว่าการถ่ายทอดความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่มีจำกัด ไม่ว่าจะในช่วงเวลาใดก็ตาม สำคัญที่ความจริงใจและความตั้งใจที่ทำอย่างต่อเนื่อง
  • ขอบพระคุณ "อาหารแห่งปัญญา" ที่มาแบ่งปันให้ครับ
  • สวัสดีค่ะ 
  • สุขสันต์วันลอยกระทงนะคะ...พี่หญิง
  • ขอบคุณค่ะ
     
                                  ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง
  • สวัสดีค่ะพี่หญิงปิง ชอบจังเลยค่ะ มื้อเย็นคุณภาพอันอบอุ่นที่บ้านเรา คิดถึงนะคะ :)

    ตามมาตอบ ครับ

    มองย้อนกลับไปถึง "แปลงนาข้าวสู่การพัฒนาประเทศ" ครับ ...ตามประสาคนคิดมาก

    ญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรม และการเกษตรที่ก้าวหน้า ส่วนหนึ่งก็คือการพัฒนามาจาก ความมีระเบียบวินัย ของคนในชาติ ที่ฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กครับ

    รวมถึงการจัดระเบียบการปลูกข้าว...เค้าสอน เด็กๆ กันตั้งแต่ในเเปลงนา

    ประเทศไทย ทุกคนเติบโตกันมาด้วยข้าว แต่เด็กรุ่นใหม่ ทำนา ไม่เป็น แต่กินเป็น  ไร้ระเบียบกันตั้งแต่เเปลงนา โตขึ้นมา จะมาจัดระเบียบก็ไม่ทัน ครับ

    เรามีพื้นที่การเรียนรู้ ในนาข้าว "ถึง 60 ล้านไร่" เรามาสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กๆ ร่วมกันดี มั๊ย ครับ ดีกว่าโตมาแต่ตำรา แต่ปลูกข้าวไม่ได้ เข้าแถวไม่เป็น

          "สร้างเด็กรุ่นใหม่ พร้อมกับสร้างคุณค่าข้าวไทยควบคู่กัน"

    คนแก่ขึ้บ่น ครับ จากต้นกล้า ...

    • สวัสดีค่ะน้องโก๊ะคนไม่มีราก
    • วิถี...ชาวเมืองสามหมอกจะทานอาหารที่บ้านทุกมื้อ
    • นอกจากเวลามีแขก ก็อาจจะพาไปทานที่ร้านบ้าง
    • คงใกล้จบแล้วนะคะ ขอให้สุขภาพแข็งแรงค่ะ

    สวัสดีกัลยาณมิตรทุกท่านค่ะ

    ขอบพระคุณที่มาอ่านและมาทักทายค่ะ

    ขอให้มีความสุขในวันหยุดยาวเนื่องในวันพ่อแห่งชาติก้ันะคะ

    (^__^)

    • สวัสดีค่ะ คุณคนไม่มีรากIco48
    • ขอบพระคุณที่แวะไปให้กำลังใจและมอบดอกไม้ในหลายบันทึก
    • อ่านเรื่อง "อาหารแห่งปัญญา"  รู้สึกชื่นชมและชื่นใจในแนวคิด
    • แค่คิดถึงบรรยากาศนักปราชญ์มาร่วมพูดคุย
      ในมื้ออาหาร แถมเล่าเรื่องราวดี ๆ ผ่านประสบการณ์  คงเป็นมื้ออาหารที่มีคุณค่าที่
      สุดนะคะ
    • อยากนำไปประยุกต์ใช้บ้างจังค่ะ

    มีอาจารย์ที่เชื้อชาติยิว ท่านหนึ่ง

    ทำให้รู้สึกดีๆ กับชาวยิวเลย

    เพราะเขามีสติปัญญาดี แต่อ่อนน้อม รับฟังผู้อื่น

    คงเป็นผลจาก wisdom dinner ด้วยคะ

    สวัสดีค่ะอ.Ico48 ธรรมทิพย์

    ขออภัยที่เพิ่งมาเห็นนะคะ

    ยินดีค่ะหากมีการนำไปต่อยอดทำเป็นรูปธรรม คงดีไม่น้อย

    ส่วนตัวเห็นว่าทำได้ง่ายที่สุดก็คือเริ่มที่ครอบครัวค่ะ

    ขอบคุณที่มาแวะให้กำลังใจนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณIco48 CMUpal

    ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ ^_^

    ก่อนไปอิสราเอล ไปหาข้อมูลมาอ่าน ไม่ชอบชาวยิวเลย เพราะคิดว่าไปยึดครองแผ่นดินคืนโดยอ้างจากความเชื่อทางศาสนา...และแม้ตอนนี้ก็ยังไม่เข้าใจดีนัก

    แต่ชื่นชมยกย่องในสติปัญญาของคนยิว และคิดว่าเพราะความลำบากสิ้นชาติ ถูกทำลายล้างเผ่าพันธุ์นี่เองที่ทำให้คนยิวฉลาดและอดทนอย่างน่าประหลาดใจค่ะ

    ยินดีค่ะคุณ Blank ศรัญญา จุฬารี

    ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ

    วันนี้นำบันทึกนี้มาไว้ใน สมุดเล่มใหม่  "คลังความสุข"

    หวังไว้ว่าจะเป็นที่รวม "ความสุข" อันไม่เป็นพิษเป็นภัยกับท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

       ดีค่ะ เห็นด้วยมื้ออาหารสุขภาพได้ทราบเรื่องที่เราไม่ทราบเพียงเรื่องเล็กๆแต่เราก็ได้ความรู้ใหม่ ที่เราไม่ทราบมาก่อนได้  อ่านแล้วให้นึกถึงเวลาทานข้าว ลูกชายเขาดูอะไรในสิ่งที่แม่ไม่ได้เปิดชม นำมาเล่าให้แม่ฟังตอนทานข้าวกันเสมอ อย่างเช่นเมื่อวานเล่าให้แม่ฟังเรื่องโยเกิร์ต ที่อร่อยนั้นทำมาจากอะไร ก็พอทราบบ้างแต่ไม่ละเอียดอย่างที่ลูกชายอธิบาย ขอบคุณมากนะคะ

    สวัสดีค่ะพี่ Blank กานดาน้ำมันมะพร้าว

    การได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข นอกจากสร้างความรู้ต่อยอดได้แล้ว ยังทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวแน่นแฟ้นอย่างยิ่งด้วยนะคะ

    ขอบคุณพี่ดาที่กรุณาแวะมาอ่านค่ะ

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท