รวมพล คน กศน.


                  รวมพล คน กศน.

 

        12 ตุลาคมที่ผ่านมา สำนักงาน กศน.ได้จัดสัมนาใหญ่ขึ้นที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร มีชาว กศน.เข้าร่วมกว่า 9,000 คน พรั่งพร้อมไปด้วยนิทรรศการ รถความรู้เคลื่อนที่และสื่อสารสนเทศมากมาย

        ภาคเช้าชาว กศน.ได้พบได้ฟังนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและผู้ใหญ่ในแวดวงการศึกษามากมาย ผมเองได้รับเชิญให้อภิปรายในภาคบ่ายร่วมกับ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ จากครุจุฬาฯ นายนพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล และอีกท่านเป็นอาจารย์จากสุโขทัยธรรมาธิราช

        ผมอภิปรายโดยสรุป ดังนี้

        1.ขณะที่ส่วนราชการต่างๆ ปรับร่นหนีจากชาวบ้านจากชุมชนจากตำบลไปสู่อำเภอ จังหวัด แต่ กศน.ตำบล เกิดขึ้นได้ เป็นส่วนราชการที่รุกเข้าไปแนบชิดชาวบ้านและชุมชนระดับรากหญ้า

         2.ครู กศน.เป็นครูนอกระบบ นอกกรอบ จึงเสมือนเป็น NGO ในกระทรวงศึกษาฯ ที่ทำงานไร้รูปแบบ ไร้กรอบเวลา แต่ทุ่มเท

         3.ครู กศน.ต้องเริ่มจากการคลุกคลีตีโมงกับชาวบ้าน เรียนรู้อย่างรวดเร็วว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แหล่งสำคัญชุมชนอยู่ที่ใด ความรู้ดั้งเดิมคืออะไร

         4.เมื่อรู้และเข้าใจแล้ว บทบาทครู กศน.จะทำหน้าที่เป็นเสมือนสะพานเชื่อมความรู้ ผู้คน ทรัพยากร ไปสู่กลุ่มต่างๆ จนกลายเป็นเครือข่ายเรียนรู้ที่สำคัญในชุมชน

          5.ภาระสำคัญของครู กศน.ไม่ใช่เพียงแต่เติมเต็มให้แก่ผู้พลาดโอกาสเท่านั้น แต่สามารถรังสรรค์และฟื้นฟูสิ่งดีงามในเชิงวัฒนธรรม วิถีประเพณี ภาษาถิ่น ขึ้นมาได้โดยร่วมกับกลุ่มต่างๆ ในชุมชน

          6.รูปธรรมงานของ กศน.ที่มีทั้งการศึกษาทางเลือก ทางไกล ทางอาชีพ ทางพื้นฐาน ทางใครทางมัน(ตามอัธยาศัย) ฯลฯ คือการปรับวิธีการให้สอดคล้องเข้ากับวิถีความป็นจริงที่ดำรงอยู่ในประเทศ เช่นเด็กบางคนต้องออกกลางคันเพื่อทำงานช่วยเหลือครอบครัว ก็ได้ กศน.เชื่อมรับเข้าเรียนหรือเสริมอาชีพ ต่อเติมชีวิตให้สมบูรณ์และดูแลช่วยครอบครัวได้ด้วย  ซึ่งถือเป็นมิติที่ตอบคำถามชาวต่างชาติได้ว่า เด็กยังมีทางเลือกทางรอดที่ดีอยู่

          โดยสรุปทั้ง 6 ประการนี้ ผมลงท้ายไว้ว่า ในฐานะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กศน.ชาติ ขอเล่าให้ฟังว่าในที่ประชุมจะพูดถึงความสำคัญของ ครู กศน.ตำบลที่รับภาระหนัก

          ดังนั้นต้องดูแลส่งเสริมครูและสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ให้เพียงพอต่อการทำงานเพื่อประชาชน

 

หมายเลขบันทึก: 402514เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2010 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

สวัสดีครับคุณครู หยุย

ผมคนหนึ่งเป็นผลผลิตของ กศน.ครับ

ลุงวอญ่าครับ คนดี คนเก่งจำนวนมากของประเทศ มาจากการปลูกปั้นของครู กศน.มากมาย จริงครับ

สวัสดีค่ะ

ถ้าไม่มี กศน. ปัญหาจะตามมามากมาย  เพราะคนเหล่านั้นประเภทหนึ่งขาดโอกาส  อีกประเภทหนึ่งโรงเรียนในระบบไม่ให้โอกาสค่ะ

เคยไปร่วมกิจกรรมกับครู กศน.เพชรบุรี  รู้สึกเห็นใจมากค่ะ  เพราะเหมือนที่คุณครูหยุยบอกนั่นเองค่ะ  คือ NGO ในกระทรวงศึกษาฯ ที่ทำงานไร้รูปแบบ ไร้กรอบเวลา แต่ทุ่มเท

จากการพูดคุยทำให้ทราบว่า หลายคนไม่มีความมั่นคงในอาชีพ เพราะจ้างรายเดือน  หมายถึงความเหลื่อมล้ำกับข้าราชการหน่วยงานอื่นนะคะ 

คนในซอยของยายคิมที่ไม่จบการศึกษาระดับมัธยม  ยายคิมได้แนะนำให้ไปเรียนที กศน. จบมัธยมต้นมาแล้วทั้งหมด และมัธยมปลาย ๑ คน  อายุแต่ละคนมากแล้ว  อย่างน้อยก็สามารถพัฒนาบุคิกภาพของตนเอง และเขามีวิสัยทัศน์ดีขึ้นค่ะ

บุคิกภาพ  บุคลิกภาพ  (ขออภัยค่ะ)

ครูคิมครับ กศน.คือทางเลือกสำคัญของคนห่างไกล คนด้อยโอกาสมากมาย

ล่าสุด ครู กศน. 8,000 กว่าคนได้รับการยกระดับขึ้นเสมือนพนักงานราชการแล้วครับ ดีใจแทนพวกเขา

ผมลืมอีกเรื่องไป ในช่วงท้ายก่อนจบ ผู้ดำเนินรายการคือคุณศิริบูรณ์ ได้ให้ช่วยกันฝากข้อคิด ผมฝากให้ครู กศน.นึกเสมอว่า เราไม่ใช่พระเอก แต่เป็นพระรอง การเป็นพระรองจะช่วยให้ทำงานง่ายเพราะไปประสานให้คนอื่นมาช่วยงานได้มาก โดยผู้ได้รับการเชิญมานั้นจะมีบทบาทเป็นพระเอก แต่ กศน.ได้ผลงานในการช่วยคน

  • สวัสดีครับ ครูหยุย
  • ผมก็เป็นศิษย์เก่า กศน.เมืองบุรีรัมย์ (สมัยก่อนเรียนได้ทั้งในระบบและนอกระบบครับ)
  • กศน. ให้โอกาส ให้ทางเลือก ให้สิ่งดีๆ ให้อนาคต ครับ

ครูฐานิศวร์ครับ ยุคก่อนมักจะเป็นเช่นนั้นคือเรียนควบทั้งในและนอกระบบ แต่มีปัญหาตามมาคือ เด็กส่วนหนึ่งใช้เป็นทางลัด เพื่อเตรียมไปสอบเข้ามหาวิทยาลัย คือเรียน กศน.จบปุ๊บ ไม่สนใจการเรียนในห้องเรียนแล้ว ไปอ่านหนังสือเตรียมสอบเอนทร้าน เท่านั้น จึงมีการยกเลิกเรียนควบไป

  • เรียนครูหยุย
  • ใช่แล้วครับ เพื่อนๆ ผมก็เรียนกันเป็นส่วนมาก

สวัสดีค่ะ ขอขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมที่บล๊อก ดิฉันติดตามผลงานอาจารย์เสมอมานานแล้ว ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ทำงานเพื่อสังคมตลอดไป

เรียนคุณครูครับ

เห็นครูทางทีวีในงานด้วยครับ อยากทราบภาพรวมของ กศน. ในด้านต่าง ๆ ดูได้ที่ไหนครับครู 

ขอบคุณครับครูหยุย ที่เป็นกำลังให้กับครู ศรช(ว่าที่พนักงานราชการเร็วๆนี้)

ครูฐานิศวร์อย่างไรก็ไม่ตกรุ่นครับ เพราะส่วนใหญ่เด็กรุ่นครูเรียน กศน.ควบคู่ไปด้วย

คุณนิ่มอนงค์ครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยือนนะครับ แล้วจะแวะไปเยือนบ่อยๆ

คุณโสภณครับ คงต้องเปิดไปที่บล๊อกของเพื่อนครู กศน.ทั้งหลาย เห็นสื่อสารพร้อมภาพกันอยู่มาก ภาพชัดเจนดี

khachonronnachit ครับ ผมเห็นคุณค่า กศน.มานานแล้ว อยากบอกอีกเรื่องครับ ผมเป็นผู้เสนอ พรบ.กศน.เข้าสู่การพิจารณาของสภาเมื่อปี 2551 สมัยนั้นผมเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช)

สวัสดีค่ะ

  • บทบาทและหน้าที่ของ กศน. ใหญ่หลวงจริงๆ
  • เพราะการดูแลและให้การศึกษาแก่คนนอกระบบส่วนใหญ่ต้องช่วยแก้ปัญหาให้กับเขาด้วย  ทั้งปัญหาด้านการเรียน  การงาน  บางครั้งไปถึงการเงิน
  • แต่ได้บุญกุศลมากมายเพราะได้ช่วยคนเหล่านั้นให้มีอาชีพและมีอนาคต
  • ขอบคุณคุณครูที่ส่งเสริมและสนับสนุนงานของกศน. แทนทุกคน ขอบคุณค่ะ

ครูดาบเรืองครับ ครูกศน.เสมือนผู้ปิดทองหลังพระ ทั้งเก็บตกผู้พลาดโอกาส ทั้งต่อเติมให้เต็มในสิ่งที่ขาดและต้องการ ทั้งฟื้นนวตกรรมและวิถีเดิมกลับคืนมา ฯลฯ หนักแต่ก็น่าภาคภูมิใจในหน้าที่

สวัสดีค่ะ

เคยเป็นวิทยากรให้ กศน. อำเภอเมืองชลบุรี (ตอนนั้นสอนการเพ้นท์ตกแต่งบนวัสดุต่างๆเพื่อนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริม แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว)

พบว่าการเรียน สิ่งที่เป็นอปสรรคที่สุดคือ "ความคาดหวัง" ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นของตัวผู้เรียนเอง หรือจากบุคคลในครอบครัว จึงทำให้เครียดเวลาเรียน (เพราะกลัวทางบ้านจะว่า ว่าเรียนมายังไงทำได้แค่นี้) เมื่อยิ่งเครียด ก็ยิ่งทำงานได้ไม่ดี

เพราะการทำงานศิลปะไม่สามารถทำให้ออกมาดีได้ภายในเวลาอันสั้น ผู้เรียนซึ่งไม่มีความรู้ทางด้านศิลปะ เมื่อเรียนแล้ว ต้องไปฝึกฝนด้วยตนเองหลังจากที่จบคอร์ส (ครั้งหนึ่ง ผู้เรียนบ่น ว่าเคยแต่จับจอบด้ามใหญ่ๆ พอมาจับพู่กันเล็กๆนี่ไม่ถนัดเลย)

จึงมองว่า การสอนน่าจะต่างจากการสอนในระบบ เพราะในโรงเรียน เราอาจค่อยเรียนรู้ไปเรื่อย เช่น เส้น แสง เงา ค่อยๆฝึกฝน จนเมื่อเรียนจบ เราก็สามารถสร้างผลงานดีๆได้

แต่ เมื่อมีวัตถุประสงค์จะประกอบอาชีพและมีเวลาจำกัด ผู้สอนต้องให้ผลงานรวบยอดแก่ผู้เรียนก่อน แล้วผู้เรียนไปฝึกฝนเอาเองทีหลัง

จึงสรุปเอาเองค่ะ ว่าการเรียนจึงกลับหัวกลับท้ายกันสนิท

แต่ก็เป็นประสบการณืที่ดีค่ะ

ณัฐรดาครับ ก็จริงดังประสบการณ์ที่เล่ามาครับ หลักการของ กศน.คือเติมเต็มสิ่งที่ขาดเป็นหลักมาแต่เบื้องต้น ระยะหลังพัฒนาไปสู่การฟื้นฟูสิ่งที่ขาดหายไป รวมถึงเพิ่มเติมทักษะวิชาชีพ ซึ่งต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา เข้าลักษณะต่อยอดนั่นเอง

สรุปแล้วก็ลงที่ ทรัพยากร บุคลากร

คุณวัฒนาครับ คงต้องมีทั้ง ทรัพยากร บุคลากรและการบริหารจัดการที่ดี

ขอบคุณครูหยุยครับที่ให้ความคิดมุมมองจากคนนอกที่สะท้อนให้คนในชาว กศน.เรา นำไปพัฒนาสร้างคุณค่าต่อสังคมต่อไป

ดร.ครับ ผมความจริงเป็นครูนอกระบบ คล้ายครู กศน.เพราะริเริ่มงานครูข้างถนน ทำงานสอนเด็กเร่ร่อนมาแต่ปี 2528 ตามด้วยสอนเด็กลูกคนงานก่อสร้าง มุมมองความเห็นจึงพอจะเข้าใจงานเพื่อกลุ่มคนนอกระบบและด้อยโอกาสอยู่บ้างครับ

  • สวัสดีค่ะ ครูหยุย เพิ่งมีโอกาสได้พบตัวจริงเสียงจริงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 ที่ไบเทคบางนา นี่เอง
  • ขอขอบพระคุณมากนะค่ะที่มอบกำลังใจให้ครู กศน.ทุกท่าน
  • และแนวทางในการปฏิบัติงานที่สามารถนำไปพัฒนา กศน.ตำบลให้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ครูเสาวลักษณ์ครับ วันนั้น ไม่ทราบผมได้พบคุณเสาวลักษณ์หรือเปล่าเอ่ย เพราะเห็นบรรดาครู กศน.เข้ามาถ่ายภาพร่วมกับผมหลายคณะ

สวัสดีค่ะ ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่เป็นผลผลิตจาก กศน.กระบี่ บอกได้ไม่อายปากเลยค่ะ แต่เดี่ยวนี้เด็กที่มาเรียน กศน.ส่วนมากจะเป็นเด็กที่ถูกไทร์ เหลือขอมาจากที่อื่นค่ะ ทำให้ภาพลักษณ์ของ กศน.ดูไม่งาม จบมาแล้ว ไม่สามารถยืดอกพูดได้เต็มปาก ทำอย่างไรดีค่ะ ครูหยุย

สายใจครับ อย่างไรเสียบทบาทของครู กศน.ต้องยึดหลัก เพิ่มและสร้างโอกาสให้แก่คนทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนด้อยโอกาสและเสียโอกาสทั้งหลาย ยิ่งทำมากเท่าไหร่ ได้เป็นที่พึ่งเขามากเท่าไหร่ ภาพลักษณ์ดีขึ้นเพียงนั้นครับ เด็กจะมีประวัติเป็นเช่นไร พื้นฐานอย่างไรก็ตาม หน้าที่เราคือเติมเต็มชีวิตครับ และงดงามอย่างแน่นอน

สวัสดีครับ ครูหยุย ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยม ที่ครูพูดเรื่อง กศน.ถูกต้อง ตรงเผง เลยครับ ผมเองก็เป็นผลผลิต กศน.เช่นกัน

รวมทั้งการพัฒนาหมู่บ้าน การพัฒนาคน กศน.เป็นฝ่ายสนับสนุน เติมเต็มให้ มากกว่าท้องถิ่นเสียด้วยซ้ำ (มากด้วยคุณภาพครู แต่เงินงบสนับสนุน นิ๊ดเดียว นิ๊ดเดียวจริงๆ) ผมเคยไปได้ยิน ท่านรัฐมนตรีกระทรวงเสมา พูดให้ความหวังกับ ชาว กศน.เมื่อเดือน มีนาคม 53

ณ.ห้องประชุม คุรุสภา ตอนไปรับรางวัล ตอนนั้นครูเริ่มมีความหวัง ตอนนี้เป็นจริงแล้ว ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

ผูใหญ่ชูชาติครับ ร่วมก้นดีใจและให้กำลังใจกับชาว กศน.ในฐานะเป็นแนวรุกส่วนหน้าที่สร้างคุณประโยชน์ต่อแวดวงการศึกษามาโดยตลอด ผมเองก็ตั้งความหว้งเช่นเดียวกันครับว่า ชาวกศน.ตำบลจะด้รับการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยไป

  • เสียดายมากค่ะวันนั้นไม่ได้เข้าไปถ่ายรูปกับอาจารย์เพราะเห็นชาว กศน.มารวมกันแล้วรู้สึกดีใจมากค่ะบางทีก็ได้เจอกับคณะครูที่เคยไปร่วมอบรมกันตามที่ต่างๆ ก็มี

ครูเสาวลักษณ์ครับ เสียดายเช่นกันครับ คงเพราะคนเยอะมากหลายพันคน คนมากขนาดนี้ก็หากันไม่พบแล้วครับ

ความเป็นคน กศน.ถ้าเปรียบกับแนวเพลง คงเป็นเพลง แนว Indy แหละค่ะ และการจะเข้าถึงชาวบ้าน ยังคงต้องทำงานอีกเยอะค่ะ เพราะแทบไม่น่าเชื่อว่า ไปบางตำบลในบางส่วนของตำบล ยังมีคนที่ไม่รู้ คือ กศน.คืออะไรอีกเยอะ ครั้งหนึ่ง โอ๋ ไปทำบุญที่วัดบันไดช้าง ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ก็อยากจะประชาสัมพันธ์ว่ามีครู กศน.มาเปิด กศน.ตำบลที่นี่แล้วนะ ก็ไปบริจาคเงินให้ มัคทายก ประกาศให้ มัคทายก ไม่รู้ว่า กศน. คืออะไร เป็นหน่วยงานราชการหรือ เลยคิดได้เลยว่า ต้องประชาสัมพันธ์กันอีกยาวค่ะ แต่ก็สนุก และภูมิใจที่ได้ทำอะไร ที่ใครๆเขาไม่ทำกัน แต่มีส่วนเติมเต็มผู้คนในประเทศนี้ค่ะ ขอบคุณที่มาเป็นกำลังใจนะค่ะ

ครูพิมพ์สุภา ต้องภูมิใจนะครับว่า กศน.เป็นส่วนราชการไม่กี่หน่วยที่ทำการลงไปถึงระดับตำบล ไม่นานชาวบ้านจะรู้จักหมดเพราะรุกเข้าไปใกล้เขามากขึ้นเรื่อยๆ การทำงานที่ดีคือการประชาสัมพันธ์ที่ดี ปากต่อปาก ไปไกลที่สุดครับ

ถึงไอ้พวก กศน.ทั้งหลาย ความคิดควายมาก สงสัยมันจะเรียนจบม.6 8เดือนมา เรียนแบบนี้น่าจะแจกวุฒิไปเลยดีกว่า เรียนทำไมให้เสียเวลา8เดือน เก็บไว้ให้พวกคณะรัฐบาลมึงเรียนเหอะ

หลักสูตรกศน.ใช้กับคนที่ขาดโอกาสที่อยากเรียนเท่านั้น ใช้บังคับกับคนอายุ30ปีขึ้นไปไม่ได้ ตกลงมั๊ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท