การกำจัดหนอนพาราซ่าโดยวิธีแสงไฟล่อกับดัก


การกำจัดหนอนพาราซ่า

 

 

 

การจัดการความรู้ชุมชน 

Community  Knowledge  Management

 

                 การป้องกันกำจัดหนอนพาราซ่าวิธีแสงไฟล่อกับดักและสารเคมี

    

 

 สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก  โทร  032 671395 

http/prachuap doae.go.th/thapsakae

เอกสารองค์ความรู้ลำดับที่  1 / 2553 

 

คำนำเสนอ 

        องค์ความรู้ชุมชน  เรื่อง  การกำจัดหนอนพาราซ่าวิธีแสงไฟล่อกับดักและสารเคมีเป็นการแก้ปัญหาของชุมชนอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์    โดยการนำเสนอแบบบรรยายภาพจากการที่มีการระบาดของหนอนพาราซ่าในต้นมะพร้าว ตั้งแต่ปี  2547  โดยการระบาดเป็นหย่อม ๆ ในฤดูแล้งของทุกปี  ปัญหาของศัตรูตัวนี้อยู่ที่ความสูงของต้นมะพร้าวเป็นอุปสรรค   ไม่สามารถฉีดพ่นยาได้ทั้งถึง    จำต้องใช้วิธีการกำจัดแบบผสมผสาน  โดยใช้แสงไฟล่อกับดักล่อและใช้สารเคมีร่วมด้วย  การใช้แสงไฟล่อกับดักนั้น  ชุมชนต้องร่วมมือกันอย่างพร้อมเพียงจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด  หากกำจัดตั้งแต่เริ่มมีการระบาดจะทำให้ช่วยลดต้นทุนและง่ายต่อการกำจัด  เกษตรกรจำเป็นต้องหมั่นสังเกตต้นมะพร้าวในฤดูแล้งอย่างสม่ำเสมอและควรกำจัดทันทีเมื่อพบการระบาด  การฉีดพ่นสารเคมีควรฉีดพ่นในระยะตัวหนอนไม่ควรฉีดพ่นในระยะดักแด้และระยะไข่  เมื่ออยู่ในระยะผีเสื้อควรใช้แสงไฟล่อกับดักทุกครั้ง    ควรหลีกเลี่ยงหรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีตลอดไป

  

                                                                     สุชาติ  วงค์เณร  และคณะ

                                                                         5  มกราคม  2553

 

   หนอนพาราซ่า ( Nettle  caterpillar) 

  ชื่อเรื่อง                 หนอนหอยมะพร้าว , หนอนร่านมะพร้าว

  ชื่อวิทยาศาสตร์       Parasa  Lepida  Cramer

  

 

  

 พืชอาหาร 

 

       มะพร้าว พืชสกุลปาล์มทุกชนิด เงาะ มะม่วง กล้วย  ตลอดจนไม้ป่าที่มีลักษณะใบใหญ่ เช่น ตะแบก หรืออาจบอกได้ว่ากินใบไม้ยืนต้นเกือบทุกชนิด

   

 

ลักษณะการทำลาย

                 หนอนพาราซ่า เป็นหนอนผีเสื้อกินใบศัตรูสำคัญของมะพร้าวและพืชสกุลปาล์ม รวมทั้งไม้ยืนต้นอีกหลายชนิด  มีการระบาดในมะพร้าวอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2522 – 2523 ในพื้นที่ปลูกมะพร้าวของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และ สุราษฎร์ธานี รวมพื้นที่หลายแสนไร่ ทำให้มะพร้าวชงักการเจริญเติบโตและผล    ผลิตลดลงอย่างมาก

 

 

   

  ฤดูการระบาด

                 ฤดูการระบาดจะอยู่ในช่วงแล้งระหว่างเดือน พฤศจิกายน – พฤษภาคม ในประเทศไทย ศัตรูตัวนี้สามารถระบาดได้ทั่วประเทศ  ส่วนใหญ่ที่ความหนาแน่นน้อยไม่สร้างความเสียหายถึงระดับเศรษฐกิจ  หากเกิดสภาวะแห้งแล้งมากขาดความสมดุลในธรรมชาติ  จะเกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว

 

   

    ชีพจักรรูปร่างลักษณะ

      ตัวเต็มวัย  เป็นผีเสื้อกลางคืน  ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เมื่อกางปีกออกกว้างประมาณ  40  มม.

ตัวผู้ปีกกว้างประมาณ  30  มม.  ปีกคู่หน้าสีเขียว ขอบปลายปีกสีน้ำตาลแดง ส่วนหัวสีเขียว ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน สวนขาและอกสีน้ำตาลไหม้

 

  

ตัวเต็มวัย   เป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เมื่อกางปีกออก กว้างประมาณ 40 มม.ตัวผู้ปีกกว้างประมาณ 30 มม.  ปีกคู่หน้าสีเขียว ขอบปลายปีกสีน้ำตาลแดง ส่วนหัวสีเขียว ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน ส่วนขาและอกสีน้ำตาลไหม้

 

  

ผีเสื้อจะผสมพันธุ์ทันทีหลังออกจากดักแด้ ใช้เวลาผสมพันธ์นาน  18  ชั่วโมง

 

หลังจากผสมพันธุ์จะวางไข่ทันที

 

 

ไข่  การวางไข่จะวางไข่บริเวณใต้ใบ เป็นกลุ่มติดกันและซ้อนกันเล็กน้อย กลุ่มละ  10 – 60  ฟอง ใช้เวลาวางไข่  2 – 5 วัน  ตัวเมียตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้สูงสุด  700  ฟอง  ตลอดอายุขัย  ไข่ค่อนข้างแบนมีสีเหลืองอ่อนกลมรี ผิวเป็นมันอายุของไข่  5 – 7 วัน

 

 

                หนอน  แรกฟักจะยังไม่กินอาหารจะกินเปลือกไข่  อยู่รวมกันเป็นกลุ่มมีสีเหลืองอ่อน  เมื่อโตเต็มที่ ยาวประมาณ  25 – 30 มม. กว้างประมาณ  10 – 10 มม.  ลำตัวสีเขียวเข้มปนเหลือง หัวมีจุดสีดำ 1 คู่ มีแถบสีม่วง

พาดตามความยาว ลำตัว มีปุ่มขนสีเขียวปลายสีส้มแดงอยู่ด้านข้างลำตัวข้างละ  10  ปุ่ม  ด้านปลายท้องมีปุ่มขนสีดำ 4 ปุ่ม  อายุหนอนประมาณ  34 – 49 วัน

 

            

    ดักแด้   วัยดักแด้มีขนาดความยาวประมาณ  12  มม.  กว้าง  10  มม.  สีน้ำตาลอ่อน มีใยปกคลุมยาว ๆ ระยะดักแด้  21 – 26  วัน  วงจรชีวิตจากไข่จนเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ  63 – 86  วัน

  

 

การป้องกันกำจัด

                การป้องกันกำจัดหนอนพาราซ่าปัญหาอุปสรรคอยู่ที่ความสูงของต้นพืชจึงต้องใช้หลายวิธีที่เหมาะสมสถานการณ์ เพื่อลดต้นทุนและบรรลุผลตามเป้าหมาย

                หนอนจะอ่อนแอต่อโรคในฤดูฝน ไม่จำเป็นต้องกำจัด

 

การใช้แสงไฟล่อกับดัก

 

            เมื่อช่วงปลายเดือน ธันวาคม ปี 2547  ได้เกิดการระบาดของหนอนพาราซ่าในมะพร้าว พื้นที่ประมาณ 250 ไร่  เกษตรกรรายหนึ่งพบว่าบ้านใหม่ของเขาที่มุงสังกะสี  ในช่วงเวลา 03.00 น. ถึงสว่าง จะมีเสียงดังคล้ายเหมือนมีสัตว์ตัวเล็กที่บินได้พุ่งชนเสียงดังตลอดเวลา  ยุทธการนีออนบานคำจึงเกิดขึ้นในวันที่  25  ธันวาคม  2547

  

 อุปกรณ์

1.  แหล่งไฟฟ้าบ้าน

2.  หลอดนีออน แบลคไลท์  สีฟ้า หรือ สีม่วง

3.  กับดักกว้าง  2  เมตร  บรรจุน้ำผสมผงซักฟอกหรือสารที่ลื่น

4.  อัตรา 1 หลอด / 1 ครัวเรือน

  

ประสิทธิภาพการใช้แสงไฟล่อ

ใช้แสงไฟล่อช่วงที่เป็นผีเสื้อเท่านั้นช่วงเวลา 03.00 น.- 06.00 น. รุ่นละประมาณ  10  วัน  การพรางไฟ  ชุมชนที่ใช้ไฟล่อควรดับ    ไฟที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดภาชนะกับดัก  พื้นที่รวมความกว้างไม่น้อยกว่า  2  ตารางเมตร ควรดำเนินการติดต่อกัน 3 รุ่น องค์กรท้องถิ่น อาจสนับสนุนงบประมาณซื้อหลอดไฟ หรือ ซื้อตัวเต็มวัยการกำจัดหนอนที่ติด  กับดัก  ช้อนใส่ถุงพลาสติกหรือ ให้ไก่กิน

  

การใช้สารเคมี

หากระบาดรุนแรง  อาจใช้สารเคมีกำจัดร่วมด้วย ใช้สารคาร์บาริล 85 อัตราการใช้ 10 กรัม / น้ำ 10 ลิตร /

 ต้น ไม่ควรฉีดพ่นในระยะดักแด้และระยะตัวเต็มวัย

   

วิชาการชุมชน  

การใช้แสงไฟล่อกับดัก                                            

ระยะเวลาทดสอบ 5 ปี

 

 

โดย         สุชาติ      วงศ์เณร           นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

                ประทีป   พิมพ์เพี้ยน       เจ้าของแปลงทดสอบ

                บุญชู       ลาดน้อย           เกษตรกรตัวอย่าง

                สุรีรัตน์    ห้องโอสถ        ภาพสารสนเทศ

               

หมายเลขบันทึก: 391639เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2010 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณท่านเกษตรความรู้เรื่องตัวหนอน

คนทำเกษตต้องมาดุแล้วครับ อิๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท