ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

การใช้วัสดุอุปกรณ์แทน LAB แต่คง Big Idea เดิม


Big Idea ของปฏิบัติการความแข็งของวัสดุนี้ คือ วัสดุที่แข็งกว่าย่อมสร้างรอยแก่วัสดุที่แข็งน้อยกว่าได้

เมื่อการดเนินกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เกิดอุปสรรค์ในส่วนของการจัดเตรียมอุปกรณ์ เราสามารถที่จะปรับเปลี่ยนแต่ยังคง big Idea อยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ดังกิจกรรมปฏิบัติการชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาตร์ เวลา ๙.๐๐ น. - ๑๐.๐๐ น.

   นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑ จำนวน ๓๔ คน มาเรียนในชั้วโมงเรียนวิทยาศาสตร์ตามปกติ แต่เนื่องจากชั่วโมงที่แล้วนักเรียนเตรียมอุปกรณ์มา แล้วไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากมีกิจกรรม ครูขาดการสื่อสารให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ ปัจจุบันสื่อจึงไม่พร้อม  แต่นักให้เรียนส่วนหนึ่งที่เตรียมมาหวังที่จะเรียนในชั่วโมงถัดไปก็พอมีบ้าง จึงโชคดี (จุดอ่อนของ ELC)

   เมื่อพบจุดอ่อนดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของครูและนักเรียนส่วนหนึ่งในการร่วมดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์

   ชื่อกิจกรรม ๑๑ เรื่อง ความแข็งของวัสดุ

๑.ชื่อกลุ่ม.................... จำนวนสมาชิก........คน

    ๑.๑

    ๑.๒

    ๑.๓

    ๑.๔

    ๑.๕

    ๑.๖

    ....

๒.จุดประสงค์

    เพื่อศึกษาสมบัติความแข็งของวัดสดุด้วยการขุดสีกัน (นิยามขุดสีกัน หมายถึง การนำวัสดุที่หนึ่งขูดกับวัสดุที่สอง แล้วสังเกตรอยที่พบ)

๓.วัสดุอุปกรณ์

    ๓.๑ ยิบซัม  ๓.๒ แก้ว  ๓.๓ โลหะ 

๔.วิธดำเนินการ

    ๔.๑ นำยิบซัม มาจับคู่กับแก้วแล้วผลัดกันขูดสีแล้วสังเกตุร่องรอยที่พบ

    ๔.๒ กระทำเช่นข้อ ๔.๑ แต่เปลี่ยนคู่จากยิบซัมเป็นโลหะ และวัสดุอื่น ๆ จนครบคู่แบบพบกันหมด

๕.การบันทึกผล

คู่วัสดุที่ขูดสีกัน

 ผลของการขูดสีกัน(วัสดุที่พบร่องรอย)

คู่ที่๑

 

คู่ที่๒

 

คู่ที่๓

 

๖.การสรุปและอภิปราบผล

    จากตารางบันทึกผลการทดลองพบว่า วัสดุคู่ที่ ๑ มีวัสดุที่แข็งนอยที่สุด และวัสดุคู่ที่ ๓ พบวัสดุที่แข็งมากที่สุด เนื่องจากพบร่องรอยของวัสดุที่แข็งน้อยกว่า

๗.คำถาม

   ๗.๑ วัสดุใดที่จับคู่สิ่งใดแล้วมักเป็นรอย......

   ๗.๒ วัสดุที่มีความแข็งกว่าจะเกิดรอยได้หรือไม่............

   ๗.๓วัสดุใดที่มีความแข็งมากที่สุด.........

(คำตอบทั้งหมดอยู่ในกรอบของการทดลองเท่านั้น)

หมายเหตุ

    วัสดุแทนยิบซัม คือยางลบ

    แก้วแทนด้วย ไม้บรรทัดพลาสติก

    โลหะ แทนด้วย ไม้บรรทัดโลหะ

   จากการเปลี่ยนแปลงรายการวัสดุ แต่การดำเนินการก็สามารถดำเนินการได้

 

คำสำคัญ (Tags): #elc
หมายเลขบันทึก: 388267เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2010 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท