โรงพยาบาลห้วยแถลง
พญ. วิภา โรงพยาบาลห้วยแถลง อุทยานินทร์

สรุปการอบรมการช่วยกู้ชีพทารก (Newborn Resuscitation)


การช่วยกู้ชีพทารก (Newborn Resuscitation)

 สรุปเนื้อหาการอบรมการช่วยกู้ชีพทารก (Newborn Resuscitation)  ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย วันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2553 ณ ห้องจูปิเตอร์และห้องวีนัส ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

               การตายของทารกทั่วโลก (Neonatal deaths) มีจำนวน 5 ล้านคนต่อปี  พบว่า เกิดจากภาวะขาดออกซิเจนตั้งแต่แรกเกิด (birth asphyxia) (World Health Organization,1995)  ซึ่งทารกเหล่านี้มักไม่ได้รับการช่วยกู้ชีพทารกที่เหมาะสม  ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ให้แพร่หลายเกี่ยวกับการช่วยกู้ชีพทารกแรกเกิดอาจทำให้ผลลัพธ์ดังกล่าวดีขึ้น

บุคลากรทางการแพทย์ที่ควรอยู่ขณะทารกคลอด

            ในทุกครั้งที่มีการคลอด ควรมีบุคลากรทางการแพทย์ 1 คนที่สามารถมารับทารกได้ทันทีและสามารถให้การช่วยกู้ชีพได้  โดยบุคลากรนั้นควรมีทักษะครบถ้วยในการช่วยกู้ชีพ ได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจและการให้ยา บุคลากรที่อยู่เวร On call ไม่ควรอยู่ที่บ้านหรือบริเวณอื่นๆของโรงพยาบาล เนื่องจากอาจทำให้ทารกที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยกู้ชีพได้รับการช่วยเหลือช้าเกินไป

การใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกในการช่วยกู้ชีพทารกแรกเกิด

      Bag bag ขนาดความจุไม่เกิน 750 mL เนื่องจาก bag ที่มีขนาดใหญ่จะควบคุมปริมาณก๊าซที่น้อยๆได้ยาก  Bag ที่ใช้อยู่ทั่วไปมี 2 ชนิด   คือ

1. Flow-inflating bag (Anesthesia bag)  สามารถให้ออกซิเจนแก่ทารกได้ 100% คือ  เท่ากับที่ปล่อยออกจาก flow meter  แต่ต้องต่อกับมาตรควบคุมแรงดันของออกซิเจนที่ให้
 2.  Self-inflating bag สามารถให้ออกซิเจนแก่ทารกได้เกือบ 100% ถ้าต่อกับ reservoir bag จะมีลิ้นปิด-เปิด เพื่อให้อากาศเข้าสู่ทารก ขณะที่บีบ bag

3.T-piece resusitator จะทำงานได้เมื่อมีก๊าซเข้าสู่เครื่อง ก๊าซจะออกจากเครื่องมือนี้เข้าสู่ทารกโดยการปิดที่ทางออกของรูท่อรูปตัว T ด้วยนิ้วหัวแม่มือ

การช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก (PPV)

      อัตราการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกในอัตรา 40-60 ครั้ง/นาทีหรือน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้งใน 1 นาที

      หยุดการ PPV เมื่ออัตราการการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น  ทารกมีผิวสีชมพูขึ้น  ทารกหายใจได้เอง  ความตึงตัวของกล้ามเนื้อดีขึ้น  ตรวจสอบหาอาการดังกล่าวที่จะหยุดการPPV หลังช่วยการช่วยการหายใจไปแล้ว 30 นาที หาก HR < 60 ครั้ง/นาทีต้องทำการกดหน้าอกต่อ

      ถ้าบีบ bag > 2 นาทีให้ใส OG   

การกดหน้าอก (Chest Compressions)

      การกดหน้าอกจะเริ่มเมื่ออัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60/min ทั้งที่ทารกได้รับการ PPV อย่างเพียงพอแล้วเป็นเวลา 30 วินาที

มี 2 เทคนิคในการทำการกดหน้าอก

1.การใช้นิ้วหัวแม่มือ โดยนิ้วหัวแม่มือทั้งสองกดที่กระดูกหน้าอกในขณะที่ฝ่ามือโอบรอบหน้าอกของทารกและนิ้วมือที่เหลือหนุนกับกระดุกสันหลัง

2.การใช้สองนิ้ว ใช้ปลายนิ้วกลางและนิ้วชี้หรือนิ้วนางกดที่กระดูกหน้าอก ในขณะที่อีกมือวางหนุนที่หลังของทารก (กรณีที่ทารกไม่ได้อยู่บนพื้นผิวที่มั่นคง)

     ความลึกของการกดหน้าอกประมาณ 1 ใน 3 ของความกว้างทรวงอกในแนวหน้าหลัง

     อัตราการกดหน้าอก ต้องทำให้เป็นจังหวะและสัมพันธ์กับการช่วยหายใจ โดยจะมีการช่วยหายใจ 1 ครั้งตามหลังการกดหน้าอก 3 ครั้ง โดยรวมใน 60 วินาทีจะทำการช่วยหายใจ 30 ครั้งและกดหน้าอก 90 ครั้ง/นาที

     หยุดทำการกดหน้าอกเมื่อ HR > 60/min

การใส่ท่อช่วยหายใจ (Endotracheal intubation)

    ข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อช่วยหายใจ

    - มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ หากทารกเกิดมาไม่หายใจ ไม่เคลื่อนไหว หัวใจเต้นช้า ใส่ท่อเพื่อดูดขี้เทา

    - PPV แล้วยังมีอาการเขียว ทรวงอกไม่ขยายหรือต้องได้รับการช่วยการหายใจเป็นเวลานาน

    - เมื่อต้องทำการกดหน้าอก

    - เมื่อต้องการให้ยา Epinephrine เพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ผ่านทางท่อระหว่างรอหาเส้นเลือดดำให้

การเลือกขนาดท่อช่วยหายใจ

ขนาดท่อ (มม.)

น้ำหนัก (กรัม)

อายุครรภ์ (wks)

2.5

< 1,000

< 28

3.0

1,000 – 2,000

28 – 34

3.5

2,000 – 3,000

34 – 38

3.5-4.0

> 3,000

> 38

       ท่อช่วยหายใจมักผลิตยาวมากเกินความจำเป็นควรตัดขนาดท่อช่วยหายใจให้มีความยาวประมาณ 13 – 15 ซม.และตัดในแนวเฉียงเพื่อให้สวมต่อกับ connector ได้ง่ายและพอดี

Laryngoscope

   เบอร์ 0 สำหรับทารกเกิดก่อนกำหนด

   เบอร์ 1 สำหรับทารกเกิดครบกำหนด

ขนาดท่อช่วยหายใจ

ขนาดสายดูดเสมหะ

2.5

5F หรือ 6F

3.0

6F หรือ 8F

3.5

8F

4.0

8F หรือ 10F

 เปิดเครื่อง Suction ที่ความดัน 100 มม.ปรอท

        จัดท่าของทารกเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ  ท่า “Sniffing” คือ วางศีรษะบนพื้นราบ ศีรษะตรง ใช้ผ้ารองบริเวณไหล่เพื่อทำให้คอเหยียดเล็กน้อย

ข้อควรปฏิบัติในการในการดูดขี้เทาออกจากหลอดลมคอ

    - ดูดโดยใช้เวลาไม่เกิน 3 – 5 วินาที

    - กรณีดูดไม่ได้ขี้เทาไม่ต้องดูดซ้ำ

    - ถ้าดูดครั้งแรกได้ขี้เทาให้ฟัง HR ถ้าเร็วให้ใส่ท่อดูดซ้ำ ถ้าช้าควร PPV และหยุดดูดขี้เทา

ความลึกของท่อช่วยหายใจ

น้ำหนัก

(กิโลกรัม)

ความลึก

(ซม.จากริมฝีปาก)

1*

7

2

8

3

9

4

10

*ทารกน้ำหนัก < 750 กรัมอาจใส่ลึก 6 ซม,ก็เพียงพอ

ข้อปฏิบัติขณะใส่ท่อช่วยหายใจ

  - ให้ออกซิเจนแก่ทารกก่อนทำการใส่ท่อช่วยหายใจ

  - ให้อออกซิเจน Free flow ระหว่างใส่ท่อช่วยหายใจ

  - กำหนดเวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจไม่เกิน 20 วินาที

 การให้ยาและสารน้ำ (Medications)

       ข้อบ่งชี้ในการให้ยา คือ เมื่อPPV อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว 30 วินาทีและ PPV ร่วมกับการกดหน้าอกอีก 30 วินาทีแล้วทารก HR < 60/min

 - ความเข้มข้นของยา คือ 1:10,000

 - วิธีบริหารยา คือ ทางหลอดเลือดดำ (ให้ทางท่อช่วยหายใจได้ในระหว่างรอการใส่สายสวนหลอดเลือดดำ)

 - ขนาดยา 0.1 – 0.3 มล./กก. ของยา epinephrine 1:10,000 (ให้ 0.3 – 1 มล./กก.ถ้าให้ทางท่อช่วยหายใจ)

 - อัตราการให้ยา เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้

 สารน้ำที่แนะนำในการรักษาความดันเลือดต่ำจนซ็อค คือสารน้ำชนิด isotonic crystalloid ได้แก่

-0.9%NaCl

-RLS

-PRC  group O  Rh negative

ขนาดที่ควรให้เริ่มแรกคือ 10 มล./กก.

อัตราการให้สารน้ำภายใน 5- 10 นาที

       ทารกที่ได้รับการกู้ชีพทารก อาจต้องการช่วยเหลือบางอย่างต่อ ซึ่งมักมีความเสี่ยงที่อาการจะกลับแย่อีกและมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาจากภาวะ transition ที่ผิดปกติ  ทารกเหล่านี้ควรได้รับการดูแลต่อในที่ที่มีการประเมินและเฝ้าติดตามอาการได้

สรุปโดย

1.นางสาวลัดดาวัลย์  ทินกระโทก

2.นางสาวรัชนีกร       จำปาขันธ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #newborn resuscitation
หมายเลขบันทึก: 383009เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2010 02:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ ขอฝากข่าวถึงลูกจ้างของรพ.ทุกคนครับ

"เรียน เพื่อนๆๆลูกจ้างสาธารณสุข

สมาคมลูกจ้างสาธารณสุขได้มีหนังสือเชิญประชุมที่พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 4 กันยายน นี้

เพื่อนๆสามารถดึงมาจากเว็ปได้เลย แล้วนำไปเสนอหัวหน้าส่วนราชการได้เลย

ท่านใดประสงค์จะพักโรงแรมติดต่อได้ที่ ท่าน สมยศ ครองหิรัญ 089-5398846 หรือแฟ็ก 035-242182

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท