ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

แรงบันดาลใจในการเขียน


วิทยาศาสตร์เข้มแข็งเท่าไร ศาสนาพุทธก็ยิ่งแกร่งเท่านั้น

    เมื่อเรามีปรัชญาแห่งตนแล้ว นั้นก็หมายถึงว่าเราเริ่มมีแนวทางชีวิต(Directoin) ที่จะนำตนไปสู่เป้าหมายที่วาดฝัน  แต่การจะไปด้วยตัวตนคนเดียวก็เป็นสิ่งที่ยากยิ่ง ยังต้องพึ่งพาความดีของบุคคลหลาย ๆ ส่วน

    การพยายามสื่อสิ่งที่ตนกำลังดำเนินอยู่ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยครู ผู้สนใจ บุคคลอื่น ๆ ก็เพราะความรู้ วิทยาการต่าง ๆ ผมก็ยังต้องพึ่งคนอื่นอยู่ ฉะนั้นการตอบแทนคุณความรู้ต่าง ๆ ก็ด้วยความรู้หรือปัญญาที่ปรับแปลงเป็นความรู้ที่ส่งถ่ายได้

   ความพยายามที่จะมุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านวิทยาศาสตร์โดยหวังเพียงว่าความสุขของบุตรหลาน หรือไม่ก็มีความเชื่อว่า ความรู้ของตนเองที่สร้างนั้นอาจจะช่วยเหลือตนเองในภพหน้าก็ได้(ความเชื่อในเชิงพุทธ ของวงจรแห่งจิต แห่งการเวียนไหว้ ตาย เกิด) "วิทยาศาสตร์เข้มแข็งเท่าไร ศาสนาพุทธก็ยิ่งแกร่งเท่านั้น"

   ข้อจำจัดแห่งการศึกษาธรรมก็เป็นข้อจำกัดเช่นเดียวกันกับข้อจำกัดทางวิทยาศาสตร์ ๕ ประการ ซึ่งยากแก่การแยกออกจากกัน

   กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนไทยควรที่จะศึกษาให้เข้าใจแก่นแห่งพระพุทธศาสนา ดังที่พระพุทธองค์ทรงได้ศึกษาศาสตร์ของธรรมชาติก่อนจะสร้างธรรมชาติของจิตมนุษย์

หมายเลขบันทึก: 372162เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2010 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ

เป็นวงจร

สร้างความรู้ทางธรรมที่เกิดเฉพาะตน แล้วทวนสอบกับครูบาอาจารย์

แวะมาเยือนครับ...

ขอขอคุณธรรมของคนดี ซึ่งหมายถึงแนวทางที่นำไปสู่ความสุขโดยรวม ที่ไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา หรือ ลัทธิใดก็ตาม ดังกล่าวได้ที่อ้างแล้วใน

การแสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง  อ. ศรีเชียงใหม่  จ.  หนองคาย

วันที่  ๘  ธันวาคม  ๒๕๑๖

     ปริยัติ   เป็นชื่อเรียกคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

     ปฏิบัติ ปฏิบัติตนตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้

     ปฏิเวธ   เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ  เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคลไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป

ที่มา พระนิโรธรังสี http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum37.html

 

 

ข้อจำกัด (Limitation of Science)

 ๑.การวัด(Measurimental) = รูปขันธ์ กองรูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่าง ๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด

  ๒.การรับรู้โดยมนุษย์ our sences (Out of  five sences)=เวทนาขันธ์ กองเวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ
เมื่อรับรู้เกิดความพอใจ มนุษย์เรียกว่า สุข เมื่อรับรู้เกิดความไม่พอใจ มนุษย์เรียกว่า ทุกข์ เมื่อรับรู้แล้วไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่า อุเบกขา
  ๓.การแปรผัน(Variable) = สัญญาขันธ์ กองสัญญา ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้น ๆได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่น เสียงดัง รูปสวย กลิ่นหอม รสหวาน ร้อน และดีใจ
   ๔. ความไม่แน่นอน(Uncertainty) = สังขารขันธ์ กองสังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต บนความไม่แน่นอน
   ๕. การสื่อความ(Comunication) = วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 อายตนะแปลว่า บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ ของอายตนะทั้งสองแล้วเกิดอารมณ์ขึ้น อายตนะมีตาเป็นต้น เมื่อสัมผัสกับรูปแล้ว ก็ติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงประสาทเข้ามาหาใจ แล้วใจก็รับเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าดีก็ชอบใจ สนุก เพลิดเพลิน ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจ คับแค้นเป็นทุกข์โทมนัสต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท