409 สวามีนารายัน


นิกายหนึ่งในฮินดู

ต่อจากอักชาร์ดาห์มเดลี ความยิ่งใหญ่ทางวัตถุทำให้ต้องค้นหาต้นตอของความยิ่งใหญ่นี้ว่ามาจากไหน อย่างไร ก็มาพบว่าผู้ที่เป็นต้นตอของความยิ่งใหญ่ของอักชารดาห์มในวันนี้คือสวามีนารายัน นิกายที่เกิดขึ้นเมื่อ สองร้อยกว่าปีมาแล้ว เทียบเวลาก็สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ของเราพอดี มาเรียนรู้ประวัติย่อๆ ของสวามีองค์นี้กันครับ

ศาสดา

สวามีนารายัน Bhagwan Swaminarayan  เกิดที่หมู่บ้าน Chhapaiya ใกล้เมือง Ayodhya  ทางเหนือของอินเดีย ชื่อเดิมคือ Ghanshyam Pande เมื่ออายุเพียง 11 ขวบ ในชื่อ Nilkanth Varni ได้ออกจากบ้านเพื่อจาริกแสวงบุญ Yatra ไปทั่วอินเดียเพื่อหาสัจธรรม ท่านได้รับการบวชจาก Vaishnav Guru คือ Ramanand Swami และได้รับชื่อใหม่ว่า Sahajanand Swami และได้ปักหลักอยู่ในภาคตะวันตกของอินเดีย ใช้ชีวิตอยู่ในรัฐ Gujarat และ Kathiawad กว่า 30 ปี เผยแพร่หลักธรรมคำสอน Shikshapatri และมีพระสาวก(สาธุ) ติดตามกว่า 2 พันรูป ท่านได้สร้างวัด Swaminarayan Sampradaya ปฏิรูปทางสังคมโดยเฉพาะการยกฐานะของสตรีและทำการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้และได้สร้างวัดอีก 6 วัด ศาสนกิจที่สำคัญของศาสดาองค์แรกคือมุ่งฝึกคน สร้างคนให้เป็นคนดี

ท่านได้รับการนับถือจากผู้คนมากกว่า 2 ล้านคน ท่านสิ้นชีพเมื่อมีอายุเพียง  49 ปี และได้ทิ้งแนวทางการปฏิรูปศาสนาฮินดูให้คนรุ่นหลัง โดยผ่านผู้สืบทอดที่กำหนดให้เป็นเสมือนศาสดาเช่นกันซึ่งมีมาเป็นองค์ที่ 5 แล้ว 

ความยิ่งใหญ่ของสวามีนารายันเริ่มตั้งแต่ตอนเด็กที่ออกเดินทางไปแสวงหาสัจธรรมซึ่งได้รับการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์เรื่องยาว 40 นาที และผ่านฉากจำลองชีวิตในอาคารนิทรรศการซึ่งผู้ชมสามารถรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่นี้

ภาพยนตร์เรื่องนี้มีชื่อว่า Neelkanth Yatra   มีความยาว 40 นาที และมี   Keit Melton     เป็นผู้อำนวยการสร้างรวมทั้ง”มืออาชีพ” ในด้านการถ่ายทำภาพยนตร์อีกหลายสิบคนร่วมกันทำ

การถ่ายทำใช้สถานที่ถ่ายทำมากถึง 108 แห่งในอินเดีย และมีผู้แสดงประกอบมากถึง 45 000 คนซึ่งกว่าจะมาเป็นภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ต้องใช้เวลาสร้างนานถึง 7 ปี ผ่านอุปสรรคต่างๆ มากมายแต่ในที่สุดก็ลุล่วงไปได้อย่างอัศจรรย์

การหานักแสดง กว่าจะได้นักแสดงที่เหมาะสม ในที่สุดก็ได้ Rupak  mehta   มาแสดงเป็น Neelkanth Varni

ฉากสำคัญในเรื่องได้แก่คืนแห่งการตัดสินใจออกแสวงบุญ ซึ่งเป็นฉากที่สะเทือนใจเพราะ Neelkanth มีอายุเพียง 11 ขวบ  ดูแล้วทำให้ผมอดคิดถึงความคล้ายกันของคืนที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงหนีออกจากพระราชวังซึ่งถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่

นอกจากนั้นก็มีฉากการเจอกับสิงโตร้ายในคืนวันหนึ่ง ณ โคนต้นไม้ที่ Neelkanth นั่งสมาธิอยู่คนเดียว ฉากการจาริกไปที่เมือง Haridwar ฉากการเดินไต่เขา ณ เทือกเขาหิมาลัย Man Sarovar และภูเขาไกรลาศ Mt Kailash ฉากการเดินทางผ่านทุ่งและป่าในอัสสัม ฉากการร่วมฉลองเทศกาล Rath Yatra  ที่เมือง Jagannathpuri  และฉากการไปที่วัด Rameshwaram mandir และไปสิ้นสุดฉากการเดินทางที่รัฐคุตชราช นับเป็นการจาริกแสวงบุญที่ยิ่งใหญ่ ใช้เวลานานถึง 7 ปี รวมระยะทาง 12 000 กิโลเมตร ภาพยนตร์สร้างได้ดีมากและได้รับการยอมรับว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในรูปแบบของจอยักษ์

 รายละเอียดของสวามีนารายัน ดูได้จากที่นี่ครับ http://www.akshardham.com/

รวมทั้งในยูทูบ http://www.youtube.com/watch?v=dK0--em-6b8

หมายเลขบันทึก: 371071เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วันนี้เป็นวันไหว้ครูของมหาวิทยาลัยครับ เลยถือโอกาสหิ้วของฝากตระเวนแวะมาเยี่ยมคารวะหมู่มิตรและท่านทูตพลเดช วรฉัตรนะครับ มีความสุขและมีกำลังใจในการนำเรื่องราวดีๆมาถ่ายทอดแบ่งปันแก่ผู้คนเสมอนะครับ

 มิติหนึ่งของคนทำงานและครูชีวิตสุขภาพในชุมชน ให้ความบันดาลใจดีครับ  คลิ้กหัวข้อเพื่ออ่านเนื้อหา ๑๒ ตอน

ตอนที่ ๑    ขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียน อสม.               ตอนที่ ๒   จิตวิญญาณความเป็นครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๓    ความเป็นครูโรงเรียน อสม.                        ตอนที่ ๔   ร่วมกันสร้างกรอบตัวแบบค้นหาครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๕    มิติทักษะความเป็นครูของอสม                   ตอนที่ ๖   วิธีค้นหาครูขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ของชุมชน
ตอนที่ ๗    ฐานชีวิตของครูโรงเรียนอสม.                     ตอนที่ ๘   เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๙    การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ครูโรงเรียนอสม.   ตอนที่ ๑๐ เครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยี สิ่งสนับสนุนครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๑๑  การนำเสนอแผนการสอนและสาธิตกระบวนการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอสม. 
ตอนที่ ๑๒  เพิ่มลูกเล่นและใส่ศิลปะเพื่อเรียนรู้การนำเสนอให้สร้างสรรค์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  คลิ๊กเพื่อเข้าไปดู  เครื่องมือและผลประเมินของเวทีโดยการโหวต   : ความเข้มแข็งและแนวโน้มความยั่งยืนของเครือข่ายครูโรงเรียนอสม. : มิติการพิจารณาความยั่งยืน ๓ องค์ประกอบ ๖ ตัวชี้วัด [Click here]

อจ.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ครับ

ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสวันไหว้ครูของมหาวิทยาลัยนะครับ

เป็นประเพณีที่ดีงามครับ ช่วยกันรักษาเอาไว้ จะเป็นแบบอย่างที่ดีครับ

ครูเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อสังคมโลกครับ

ผมยังชื่นชมคำว่าคุรุ เสมอว่ามีความหมายดีมาก 

คุ คือความมืด รุ คือความสว่าง เมื่อมารวมกันคือผู้ที่นำความสว่างมาให้ ทำให้ความมืดหายไป

สังคมใดขาดคุรุ หรือคุรุ ไม่ได้ทำหน้าที่ที่เหมาะสม สังคมนั้นก็ยากที่จะเจริญครับ

ขอร่วมไหว้คุรุของมหาวิยาลัยมหิดลด้วยครับ

 

ท่านทูต

ได้อ่านงานที่ท่านทูตนำมาฝากพวกเราแล้ว  สนใจและประทับใจเส้นทางแห่งสันติภาพของท่านสวามีนารายันมาก  ทำให้ระลึกถึงเส้นทางที่พระพุทธเจ้าเคยย้ำและเดินมาก่อนหน้านี้  หลักการนี้ เป็นหลักการเดียวกันที่ชาวอินเดียมักจะปฏิบัติตามหลักอาศรม 4 มาอย่างยาวนาน คือ พรหมจารี คฤหัสถ์ วนปรัสถ์ และสันยาสี   และวิถีชีวิตแบบนี้ถือว่าเป็นวิถีตะวันออกที่ขงจื้อ เล้าจื้อก็แนวทางที่แทบจะไม่แตกต่างจากกัน

ท่าน ธรรมหรรษา
นมัสการครับ

เส้นทางของสวามีนารายันน่าสนใจครับ ที่ผมเคยเรียนท่านไว้ คือนโยบายเข้าถึงประชาชน พระออกไปหาคน ทำให้มีความใกล้ชิด เห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริง

กอร์ปกับความเป็นผู้นำและความเสียสละ ทำให้โดดเด่นมากในหมู่คน

ผมเห็นว่าวิถีชีวิตของคนอินเดียโบราณมีเสน่ห์มากกว่าความเจริญในประเทศทางตะวันตกที่ว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้ว

ในส่วนของประเทศไทย พระสงฆ์ จะพอมีทางที่จะนำวิถีชีวิตแบบเดิมของไทยกลับมาไหมครับ

 

 

เจริญพร ท่านทูต

  • อาตมาชื่นชอบนโยบาย "พบพระ พบธรรม" หรือ "พบโยม พบธรรม" ที่ท่านทูตได้พูดถึงและนำแบบอย่างที่ดีมาเสนอพวกเรา
  • ตัวอย่างแบบนี้ พระพุทธเจ้าเคยประกาศยุทธศาสตร์นี้แก่พระอริยสงฆ์กลุ่มแรกที่ออกไปประกาศศาสนาในมารกถาว่า "เธอทั้งหลาย จงเที่ยวไป เพื่ออนุเคราะห์ เพื่อเกื้อกูน และเพื่อความสุขแก่ชาวโลก"
  • หลักการนี้ ยังก้องอยู่ในโสตประสาทของเราอยู่เสมอ และคณะสงฆ์ไทยได้เพียรพยายามทำหน้าที่อยู่ทั้งในประเทศ กรุงเทพฯ และชนบท กรุงเทพดูเหมือนว่าจะไม่ชัด แต่ชนบทชัดเจนอย่างยิ่งที่พระกับโยมเอื้อเฟื้อยเกื้อกูนกันและกัน
  • นอกจากนี้ มหาจุฬาฯ ได้ทำหน้าที่ฝึกอบรมพระธรรมทูตในทุกๆ ปี อาตมาก็เป็นอาจารย์สอนพระธรรมทูตมาสองปีแล้ว พวกเราได้ฝึกพระธรรมทูต และส่งพระธรรมทูตไปเป็น "กัลยาณมิตร" ของประชาชนในทั่วทุกมุมโลกที่รักสุข เกลียดกลัวความทุกข์
  • งานวิสาขะแต่ละปี เรานิมนต์ท่านมาพูดคุย พบปะ และเจอะเจอ แลกเปลี่ยนบทเรียน รวมไปถึงเชิญชาวพุทธทั่วโลกมาแบ่งปันความสุข และทุกข์ เพื่อจะได้เติมเต็มให้แก่กันและกันในโอกาสที่เหมาะ และหลายท่านได้แรงบันดานใจที่ดี และกลับไปเติมฝัน และความรักให้พี่น้องร่วมโลกต่อไป
  • บทเรียนที่ท่านทูตให้มา นับเป็นคุณูปการที่จะนำไปแลกเปลี่ยนกับลูกศิษย์ปริญญาเอกในวิชา Enggaged Buddhism ต่อไป
  • ด้วยสาราณียธรรม

นมัสการครับ

ขอบพระคุณครับ

เรื่องพระออกไปหาคนตามบ้านนี้ ผมรู้สึกสะท้อนใจจริงๆ จากการศึกษาประวัติของสวามีนารายันและสวามีมหาราช เพราะเด่นชัดมากในวิถีอินเดียซึ่งเป็นประเทศที่มีหมู่บ้านมากที่สุดในโลก

จากหน่วยหมู่บ้านนี้ การเข้าไปของสาธุ ที่ไม่เฉพาะให้ธรรมะด้านจิตใจ แต่ให้การช่วยเหลือพัฒนาหมู่บ้านด้วย คงทำนองเดียวกับเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์

ผมอาจจะเป็นคนกรุงเทพฯ (และอยู่ในต่างประเทศมากไป) ทำให้ไม่ได้เห็นภาพการไปเกื้อกูลชาวโลกนัก แต่อยากจะให้เป็นเช่นนั้นครับ และถ้าในต่างจังหวัดเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็น่าดีใจครับ

ผมนึกถึงพระธุดงค์ที่เคยอ่านชีวะประวัติของพระป่าที่มีชื่อเสียง ท่านธุดงค์ไปตามป่าเขาและหมู่บ้าน นอกจากจะเพื่อปฏิบัติธรรมในตัวเองแล้ว ก็ได้พบประชาฃนได้เผยแพร่ธรรมะด้วย ไปที่ใดก็เป็นที่ประทับใจแก่ผู้คน

ผมนึกภาพ(อีก)เช่นกันเหมือนหมอที่ตระเวณไปยังบ้านคนเพื่อเยี่ยมเยียนและรักษาโรคทางกาย ไปที่ใด คนก็ได้ประโยชน์ ภาพของการเป็นผู้ให้ ด้วยการออกไปพบหรือการเข้าถึงแบบนี้ งดงามมากครับ

บังเอิญได้ไปอยุ่ที่อินเดียซึ่งยังมีวิถีชีวิตหมู่บ้านแบบสมัยเก่า จึงทำให้เห็นความงดงามของการตระเวณไป yatra นี้

ทำให้ผมนึกในใจว่า ในอนาคตหากได้กลับไปเมืองไทย อยู่นานๆ อยากจะออกไปร่วม yatra กับพระสงฆ์ในการออกไปสัมผัสกับชนบทบ้างครับ

อาจเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะฝึกคนให้สัมผัสกับคนได้ดีนะครับ

พระสงฆ์ไทยและญาติธรรมเอง ได้เคยจัดการเดินแสวงบุญทางเท้าจากพุทธคยาในรัฐพิหาร อินเดีย ไปลุมพินีในเนปาลมาแล้วครับ (เห็นว่าใช้เวลากว่า 40 วันครับ) นับเป็นการสร้างบารมีที่น่าสนใจครับ

ดังนั้น อาจจะเป็นอีกไอเดียหนึ่ง คือให้มีการยาตราของพุทธศาสนิกชนนานาชาติเพื่อไปรู้จักจิตตนเองและไปสัมผัสชีวิตคนในชนบท.....(อีกหนึ่งไอเดียแล้ว)

ผมรู้สึกว่าสนทนากับท่านทีไร ความคิดวิ่งเข้ามาหาทุกครั้งไป

นมัสการครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท