ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

รากพืชและลำต้นสะสมอาหารจำพวกแป้งได้หรือไม่


นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้เรียนตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางปี 2551 โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ปีนี้โรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี ได้ปรับรูปแบบปฏิบัติการที่มีความซับซ้อนได้ง่ายกว่าเดิมด้วยจุดเด่นที่มีคำถามสำเร็จรูปที่นักเรียนจำเป้นต้องได้ใช้บ่อย อย่างตัวอย่างการทดลองในกิจกรรมที่สอง เรื่อง รากพืชและลำต้นสะสมอาหารหรือไม่ ชื่อกิจกรรมก็เป็นปัญหาที่ชวนตอบแล้ว

   นักเรียนก้สังสัยว่า

   ๑.จะทดสอบอย่างไร

   ๒.รากพืชที่นำมา จะต้องเป็นลักษณะอย่างไร

   ๓.ลำต้นพืชที่เตียมมา จะต้องมีลักษณะอย่างไร

   ๔.ต้องใช้สารเคมีทดสอบด้วยหรือไม่ ถ้าใช้จะต้องใช้สารใด และมีกระบวนการอย่างไร

    ๕.อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เราทราบได้ว่าพบสิ่งที่เราต้องการ

   ๖.จะสรุปอย่างไร

   ๗.ทำไมถึงสรุปอย่างนั้น

   ๘.เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราอย่างไร

คำถามที่มาก แต่ยังไม่ต้องตอบ เพราะจะทำให้การดำเนินการทดลองเป็นไปได้ช้า

   เริ่มจากครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงพืชที่น่าจะ  สะสมอาหารไว้ในส่วนที่นักเรียนคิดว่า น่าจะพบแป้ง ครูจำเป็นต้องพูอให้นักเรียนสงสัยได้ว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีแป้ง ครูต้องใช้คำพูดและจังหวะที่ดี จึงจะทำให้นักเรียนสงสัยที่จะถามคำถามนี้ และพร้อมที่จะพิสูจน์ ถ้าใช้เวลาที่มาก แสดงว่า นักเรียนขาดการเตรียมการ ถ่มใช้ระบบการเรียนรู้แบบ ECL แล้ว นักเรียนเขาจะทราบล่วงหน้า บางครั้งอาจจะทราบผลการทดลองมาแล้ว แนชั่วโมงเรียน นักเรียนจำเป็นต้องพิสูจน์ตนให้เพื่อนๆ และครูรับทราบได้เช่นกัน ท้ายครูต้องให้ความรู้เกี่ยวกับไอโดดีนที่เกี่ยวข้องกับสมมุติฐานเท่านั้น

    ช่วงที่สอง ครูจำเป็นต้องตรวจสรวจสมมุติฐานของนักเรียนหรือครูด้วยการสาธิต และย้ำถึงข้อควรระวังอย่างยิ่งในการใช้อุปกรณ์

    บัดนี้เป็นช่วงเวลาของเธอแล้ว นักเรียนพร้อมหรือยัง ครูให้สัญาณอีกครั้ง  คราวนี้แหละ เละตุ้มเป๊ะ

   คำถามเฉพาะบุคคลตอนนี้เกิดขึ้นทั้งที่เหมือนและต่างกันมากกว่าคนละ 10 คำถาม เช่น ครูครับ หั่นยังไงครับ ครูค่ะแครอทของหนูมันทำไมยังไม่เปลี่ยนสีล่ะคะ  หลอดหยดของผมมันดูดไอโอดีนไม่ขึ้นครับ ครูช่วยได้ไหมครับ ครูค่ะรอนานไหมค่ะ แล้วของหนูทำไมจึงเป็นสีอื่นล่ะคะ นานาคำถาม มากกว่าคำถามที่ครูกำหนดเสียอีก

   ถ้าครูทำเช่นนี้จะทึ่งกับคำถามเหล่านี้ ถ้าเขาไม่สนใจ จะไม่มีคำถามเลยใช่ไหม...

   ครูให้สัญญาณดังอีกครั้ง บอกถึงเรามีเวลาที่เหลือเพียง...  ทำอย่างไรเวลาที่เหลือจะเพียงพอแก่การทำ

     ๑.สรุป

     ๒.เขียนรายงานได้เสร็จพร้อมตรวจ

    ๓.นำเสนอผลงาน ด้วยการโชว์ผลงานพร้อมได้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

    กับเวลา ๖๐ นาที ใน สัปดาห์ 1 -4 ยังไงก็ข้อ 2 และ 3 อาจจะไม่ทันแน่นอน 

    สัปดาห์ ต่อมาปฏิบัติการเริ่มยากและซับซ้อน นักเรียนคุณที่ชำนาญจะใช้เวลาเพียงไม่กีนาทีเท่านั้นเอง....

    ครูจำเป็นต้องวางแผนการจัดการที่วุ่นวายแบบมืออาชีพ และชำนาญกับการจัดการเหล่านั้น เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่นักเรียนปฏิบัติการได้สำเร็จอย่างที่นักเรียนไม่รู้ตัว

    การบริหารจัดการชั้นเรียนวุ่นวายจะทำอย่างไร บทความหน้าจะนำเสนออย่างละเอียด เพราะข้อจำกับของเวลาและวัสดุอุปกรณ์ทำให้ครูต้องว่างแผนที่มากกว่านักเรียนหลายเท่า

คำสำคัญ (Tags): #elc
หมายเลขบันทึก: 370395เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท