ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

ก.เกลือ ก.แกลบ สร้างโครงงานวิทยาศาสตร์


วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่กำลังใจของครูมีพลังมากขึ้น นักเรียนกลุ่ม โซเดียม จำนวน 6 คนได้นำเค้าโครงงานวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 53 มาปรึกษาครู (ตามนโยบายลดภาวะโลกร้อน ซึ่งจะทำให้การเขียนรายงานที่มาของโครงงานได้ง่ายขึ้น)โดยมีกรอบการศึกษาสมบัติของเกลือและแกลบกับการรักษาสภาพของก้อนน้ำแข็ง ที่นักเรียนสังเกตเห็นร้านจำหน่ายน้ำแข็งที่มักใช้แกลบเป็นฉนวนความร้อน แกลบมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ในการรักษาความเย็น ในทางกลับกัน ก็ยังรักษาสภาพความร้อนได้หรือไม่

   ตัวแปรต้นมีการกำหนดได้หลากหลาย แต่จุดประสงค์ของกลุ่มเขาต้องการศึกษาประสิทธิภาพของเกลือและแกลบในการรักษษความเย็น โดยมีเป้าหมายของการสร้างตู้เย็นธรรมชาติที่มีสารต้านเชื้อราได้

   ตัวแปรต้น คือ อัตราส่วนของแกลบต่อเกลือ ได้แก่ ๕ต่อ๑ ๔ต่อ๒  ๓ต่อ๓  ๒ต่อ๔  และ ๑ต่อ๕

   ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพในการรักษาความเย็น

   ตัวแปรควบคุมคือ ปริมาณน้ำแข็ง เวลา ชนิดแกลบ สถานที่ ภาชนะ

  จากนั้นก็มานิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรทั้งหมด)ตัวอย่าง เช่น คำว่า ประสิทธิภาพในการรักษาความเย็น หมายถึง ปริมาณของน้ำแข็งหลังการทดลองต่อปริมาณของน้ำแข็งก่อนการทดลอง ในเวลาที่กำหนด

   การนิยามก็จะทำให้เราเห็นภาพแบบการดำเนินการได้

   เมื่อความถามหลายคำถามนักเรียนยังตอบไม่ได้ เขาก็อยากที่จะศึกษาเพื่อตอบปัญหาดังกล่าว แต่ข้อจำกัดบางประการ ครูจึงต้องแนะนำ หรืออธิบายเพื่อข้ามปัญหาที่ยังเป็นข้อสงสัยของเด็ก ยกเว้นข้อสังสัยที่จะต้องตอบในเชิงปริมาณ ที่ยากแก่ครูจะตอบได้ จึงจำเป็นต้องทดลองหรือพิสูจน์ หรือสืบค้นข้อมูล จึงจะทราบข้อจริง

หมายเลขบันทึก: 366319เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  และตอนนี้ปัญที่กำลังประสพอยู่นี้ เด่น ๆ พบ คือ ปัญหาภาวะโลกร้อน ควรมีกรอบการทำโครงงานที่สอดคล้อง เผื่อเป็นต้นแบบการแก้ปัญหาระดับดลกได้

ลดการใช้พลังงานที่ก่อปัญหาสะสมก๊าซที่ก่อภาวะโลกร้อน เช่น โครงานลดก๊าซมีเทนจากมูลวัว ควายในคอกตามชนบท ซึ่งจากสมมุติฐานของเถ้าถ่านและเปลือกไม้บางชนิดที่ลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ดังกล่าว คำตอบจะบอกได้ว่า ทำได้จริงหรือไม่ ต้องวิจัยแบบโครงงานนักเรียน

ทุกคนมีสิทธิ์ศึกษาและแก้ปัญหาได้ด้วยโครงงาน นี่เป็นอีจุดความคิดหนึ่ง ที่ครูวิทยาศาสตร์อาจจะกำหนดกรอบ หรือสร้างคำอธิบายให้ผุ้เรียนตระหนักแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่มีระเบียบแบบแผน

ตอนนี้ก็พยายามสอนนักเรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์และสังเกต ในเรื่องการทำโครงงานวิทย์ฯ ซึ่งส่วนมากก็จะเน้นในเรื่องใกล้ๆ ตัวของนักเรียนเอง และสิ่งแวดล้อมที่อาศับอยู่ แต่ก็อยากจะเน้นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาๆๆ เหมือนกันเพื่อแต่เพิ่งจะเริ่มต้นก็เลยยังไม่แน่ใจว่าจะได้ข้อมูลครบหรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท