การปลูกป่าชุมชนกับปัญหาการลดลงของป่าไม้ (2)


บันทึกแสดงสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบันอันเกี่ยวเนื่องกับภาวะโลกร้อน คุณค่าของป่าไม้ การแก้ไขสถานการณ์ในส่วนของภาครัฐ และเสนอโครงการปลูกป่าชุมชนด้วยความร่วมมือจากประชาชน
การแก้ไขปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่าไม้

จากการที่รัฐบาลได้กำหนดว่าพื้นที่ป่าควรเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประทศ หรือประมาณ 128 ล้านไร่ จึงจะสามารถรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์เอาไว้ได้ และจากข้อมูลของกรมป่าไม้ในปี 2541 ที่ว่าประเทศไทยมีป่าไม้คงเหลือเพียงประมาณ 25.62 % ของพื้นที่ จึงต้องมีการปลูกเพิ่มอีกประมาณ 45 ล้านไร่ แต่เนื่องจากกรมป่าไม้มีความสามารถในการปลูกป่าเพียงปีละประมาณ 2 แสนไร่เท่านั้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและผู้ดำเนินธุรกิจภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปลูกป่า จึงจะสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ได้ครบร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการป่าไม้แห่งชาติได้

การแก้ไขในภาครัฐบาลได้มีการดำเนินการต่างๆดังนี้

1 การจัดการปลูกป่าในพื้นที่หัวไร่ปลายนา หรือพื้นที่กรรมสิทธิ์รายย่อย โดยรัฐอนุญาตให้ประชาชนปลุกป่าในพื้นที่ครอบครองของตนอย่างอิสระ เพื่อประโยชน์คือการมีไม้ไว้ใช้สอยในครัวเรือนและการเก็บผลผลิตจากป่า เช่น เพื่อใช้เศษไม้เป็นฟืน ใช้ต้นไม้เป็นไม้ก่อสร้าง

2 การจัดการป่าเชิงพาณิชย์โดยภาคเอกชน โดยเอกชนอาจปลูกป่าได้ในพื้นที่กรรมสิทธิ์ หรือในพื้นที่ป่าสงวนที่เช่าไว้ เพื่อนำผลผลิตไปจำหน่ายโดยอาจนำระบบวนเกษตรมาใช้ในการดำเนินการ

3 การจัดการพื้นที่ดำเนินการของรัฐ ในอนาคต หากหน่วยงานใดของรัฐมีความต้องการใช้ไม้ หน่วยงานนั้นต้องจัดหาไม้วัตถุดิบเอง เช่น กรมประชาสงเคราะห์ต้องปลูกป่าเพื่อนำไม้มาใช้สอยในนิคมสร้างตนเองแต่ละแห่ง กรมราชทัณฑ์ ต้องปลูกป่าเองเพื่อนำไม้มามาใช้ในการฝึกอาชีพผู้ต้องขัง หรือการขยายถนน ต้องนำถึงต้นไม้ใหญ่สองข้างทางมาประกอบการพิจารณา เป็นต้น

4 การจัดการปลูกป่าในเขตป่าอนุรักษ์ของรัฐและพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เดิมรัฐบาลพยายามผลักดันชุมชนชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าต่าง ๆ ให้ออกจากพื้นที่ แต่เมื่อไม่สามารถทำได้สำเร็จ จึงอนุญาตให้ประชาชนอยู่อาศัยในเขตป่าอนุรักษ์ได้ต่อไปโดยมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่ทำให้ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลายจนเสื่อมโทรม จึงมีการนำระบบวนเกษตรมาใช้ เพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันกับป่าไม้ในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม

5 การส่งเสริมให้วัด หรือสำนักสงฆ์ ที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าไม้อย่างไม่ถูกต้อง ให้มีส่วนร่วมในการรักษาป่าไม้อย่างจริงจังด้วยการจัดตั้งเป็นพุทธอุทยานโดยกำหนดให้เป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าไม้ และพุทธอุทยานนี้ต้องไม่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพื้นที่ด้วยสิ่งก่อสร้างเพื่อให้พระสงฆ์อยู่ร่วมกับป่าได้อย่างเอื้ออาศัยซึ่งกันและกัน

ปัจจุบัน พบว่ามีสำนักสงฆ์อยู่ในพื้นที่ป่า 6,038 สำนัก กระจายอยู่ใน 64 จังหวัดทั่วประเทศ

6 การจัดการพื้นที่สาธารณะประโยชน์และป่าชุมชน

"ป่าชุมชน หมายถึง ที่ดิน และ/หรือ ที่ดินป่าไม้ ที่ชุมชนได้ดำเนินการ หรือได้รับอนุญาต

ตามกฎหมายให้ดำเนินการร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ จัดการกิจการงานด้านป่าไม้อย่างต่อ

เนื่อง ภายใต้กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ และแผนงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจ

สอดคล้องกับความเชื่อ และวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นนั้นด้วย
การจัดการหรือดำเนินการดังกล่าว ก็เพื่อการอนุรักษ์ และให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่าง

ยั่งยืน"

http://www.forest.go.th

จากการให้ความหมายของป่าชุมชนนี้ ทำให้มีการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการปลูกป่าในวงกว้าง ชนในชุมชนได้รับคำแนะนำและบริการที่จำเป็นสำหรับการปลูกป่าในพื้นที่ต่างๆ เช่น วัด โรงเรียน หรือพื้นที่สาธารณะอื่นๆ

เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างทัศนคติที่ดีในการอนุรักษ์ พืชพรรณ จึงก่อให้เกิดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ ขึ้น ซึ่งโครงการนี้ได้จัดตั้งงาน "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์

พระราชดำรินั้นคือ

การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควร ใช้วิธีการปลูกฝัง

ให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการ ศึกษาและอนุรักษ์พืช

พรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะ

เกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศ

ในระยะยาว

http://www.rspg.or.th

ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เป็นสมาชิกโครงการทั้งหมด 1,063โรงเรียน กระจายอยู่ใน 69 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลให้มีการเพิ่มจำนวนประชากรพืชอย่างยั่งยืน

สำหรับวัด และพื้นที่สาธารณะทั่วไป อาจนำแนวทางการจัดการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมาปรับใช้เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวภายในบริเวณได้
ในส่วนนี้เองที่ประชาชน ทั้งในและนอกชุมชน สามารถมีส่วนร่วมในการปลูก และรักษาป่าตามโครงการตามที่เสนอในบทความนี้

โครงการปลูกป่าชุมชุนโดยการผสานแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาและแนวทางของกรมป่าไม้

การปลูกป่าชุมชนสามารถเพิ่มจำนวนประชากรพืชได้ในวงกว้าง หากนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี คือเน้นที่ความสุขจากการได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า มาผสานกับหลักการที่ทางกรมป่าไม้ได้วางแนวทางไว้คือให้คนได้ประโยชน์จากป่า คนและป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าโดยทั่วไปแล้ว ยังช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์ป่าต่อไปโดยปราศจากความเครียดอันส่งผลดีในการอนุรักษ์ป่าในระยะยาว

พื้นที่สาธารณะ หรือวัด สามารถนำมาพัฒนาเป็นป่าชุมชนได้ โดยอาจมีการขอความร่วมมือทั้งจากบุคคลในพื้นที่ และจากบุคคลนอกพื้นที่

ผู้จัดการโครงการอาจขอคำแนะนำจากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่ใกล้เคียง เพื่อนำแบบอย่างตามแนวพระราชดำริมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกป่า

นอกจากนี้ ยังอาจสนับสนุนให้มีการวาดภาพแนวพฤกษศาสตร์อย่างกว้างขวาง เพื่อบ่มเพาะความรักธรรมชาติ เพราะผู้วาดภาพแนวนี้ต้องสังเกตพืชอย่างที่วาดอย่างใกล้ชิด จึงเกิดความผูกพันกับธรรมชาติได้ตามมา และผลงานภาพวาดเอง เมื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็น ก็สามารถโน้มน้าวผู้ชมผลงาน ให้เกิดความรักในธรรมชาติตามไปด้วย

ส่วนของบุคคลในพื้นที่ อาจมีหน้าที่ในด้านการดำเนินการ ส่วนบุคคลนอกพื้นที่ อาจมีส่วนในด้านทุนทรัพย์

การส่งข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้บุคคลภายนอกพื้นที่ทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการอันจะช่วยให้การสนับสนุนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

การจัดให้มีการสอนหรือฝึกการวาดภาพพฤกษศาสตร์โดยวาดจากต้นไม้ในพื้นที่ป่าที่ปลูกจะช่วยให้เกิดความสนใจต่อป่าชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ได้อีกด้วย

(ยังมีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 364611เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2010 05:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในหลายๆ จังหวัด มีสำนักสงฆ์ ในพื้นที่ร่มรื่น ยังประทับใจค่ะพี่ณัฐ แล้วก็จะมีชาวบ้านไปพักผ่อนหย่อนใจ ผลพลอยได้คืออาจได้เรียนรู้ ธรรมะอีกนะคะ

ไปเจอภาพที่เคยบอกพี่ณัฐว่า ภาพนี้ล่ะคะที่อยากวาด อิ อิ แต่ลองแล้วแบบสัดส่วนอะไร ไม่ค่อยแม่นเลยค่ะ

มีความสุขกับกิจกรรม และอิ่มอร่อยมื้อเย็นค่ะ

 

สวัสดีค่ะน้องปู

ภาพทิวทัศน์ ไม่ถนัดเลยค่ะ

ลองดูในบล็อคเหล่านี้ที่ http://www.oknation.net ดูซีคะ

สอนสุพรรณ,กี๊ บางกอก ,นิลสมัย,คุณเจม, สีน้ำอันดามัน, 5cats, รอเทอเสมอ, ฯลฯ

สอนสุพรรณ คืออาจารย์ (สอนอยู่ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี) คุณเจม วาดภาพปกให้นิตยสารสารคดี หรือ อ.ส.ท. มาหลายปกแล้ว

อีกหลายๆท่าน ชั้นเยี่ยมยุทธ์ทั้งนั้นเลยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท