ถอดความรู้ทุนชุมชน การแก้ไขปัญหาเขตบางเขน


เครือข่ายเมืองเขตบางเขต : กระบวนการบูรณาการทุนเพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ปล. พอดีผมไปถอดบทเรียนการทำงานของเครือข่ายเขตบางเขน ประเด็นคือว่าในชุมชนเมืองมีหนี้สินมากมาย ไม่มีบ้านอยู่ เขาทำอย่างไรให้แก้ไขปัญหาได้ จนทำให้เครือข่ายบางเขน เกิดการพัฒนาเป็นเครือข่ายดูแลกัน มีสหกรณ์ เอาหนี้นอกระบบมาทำเป็นหนี้ในชุมชน หรือแม้กระทั่งการดึงความร่วมไม่ร่วมมือให้เกิดขึ้นได้ ผมจึงนำมาแบ่งปับกับทุกท่านครับ แต่ไม่ได้เอาผังอะไรลงมากนักเพราะขี้เกียจ 55

 

เครือข่ายเมืองเขตบางเขต : กระบวนการบูรณาการทุนเพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับพื้นที่เขตบางเขน

เขตบางเขน กรุงเทพมหานครฯ มีพื้นที่ 42.123 ตารางกิโลเมตร แบ่งพื้นที่การปกครอง ออกเป็น 2 แขวง คือ แขวงอนุสาวรีย์ มีพื้นที่ 18.406 ตารางกิโลเมตร และแขวงท่าแร้ง มีพื้นที่   23.71  ตารางกิโลเมตร      ความหนาแน่น 4,249 คน/ตารางกิโลเมตร  ประชากร แบ่งเป็น ชาย 86,689  คน หญิง 92,297 คน       รวม 178,986 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 75,918 หลังคาเรือน (ข้อมูลสำรวจ ณ เดือนธันวาคม 2548 )
                          

ที่มาข้อมูล- website : www.bma.go.th สำนักงานเขตบางเขน,ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร

ชุมชนผู้มีรายได้น้อยในเมือง/เขตบางเขน

ที่ 

ชื่อชุมชน 

จำนวน 

ผู้เดือดร้อน 

(หลังคาเรือน/ครัวเรือน) 

เนื้อที่ 

(ไร่-งาน-ตรว.)

 

สถานะ 

การอยู่อาศัย

เจ้าของที่ดิน

1

บ้านบางเขน

31

0-2-42

บุกรุก

ราชพัสดุ

2

รามอินทรา ก.ม. 6

300

55-0-0

บุกรุก

ธ.กรุงไทย

3

รุ่นใหม่พัฒนา

155

10-1-52

บุกรุก

ราชพัสดุ

4

ข้างโรงปุ๋ย

40

2-0-0

บุกรุก

ราชพัสดุ

5

ลำชะล่า

261

50-0-0

บุกรุก

ราชพัสดุ

6

วัดอาวุธ

11

21-0-0

เช่าที่ปลูกบ้านเอง

ธรณีสงฆ์ (วัดอาวุธ)

7

อุทิศอนุสรณ์

77

3-0-0

บุกรุก

ราชพัสดุ

8

สามัคคีร่วมใจ

112

5-0-200

บุกรุก

ราชพัสดุ

9

ร้อยกรอง

126

3-0-0

บุกรุก

ราชพัสดุ

10

บางบัว(หลังกองการภาพ)

185

9-2-7

บุกรุก

ราชพัสดุ

11

ร่วมใจพัฒนาเหนือ

318

16-2-88

บุกรุก

ราชพัสดุ

12

หลังศาลเจ้าตลาด(กรุงสยาม)

65

5-0-0

เช่าที่ปลูกบ้านเอง

 เอกชน

13

ร่วมใจพัฒนากลาง

60

6-0-0

บุกรุก

ราชพัสดุ

14

ร่วมใจพัฒนาใต้

205

13-1-3

บุกรุก

ราชพัสดุ

15

หลังตลาดสดยิ่งเจริญ

120

7-0-0

บุกรุก

ราชพัสดุ

16

หมู่บ้านพัฒนาคลองหลุมไผ่

102

200-0-0

บุกรุก

สาธารณะ

17

วัชรปราณี

362

28-0-0

เช่าที่ปลูกบ้านเอง

ธรณีสงฆ์

 

รวมระดับเขต :

2,530

 

 

 

       

 จากการสำรวจพื้นที่เขตบางเขน พบว่ามีผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย ประเภท บุกรุก เช่าที่ และสภาพเสื่อมโทรมของที่อยู่อาศัย เป็นจำนวน 17 ชุมชน 2,530 ครัวเรือน โดยแบ่งประเภทความเดือดร้อน คือ ชุมชนบุกรุก จำนวน1,485 ครัวเรือน กลุ่มบุกรุก 553 ครัวเรือน เช่าที่ปลูกบ้านเอง 428 ครัวเรือน บ้านเช่า 32 ครัวเรือน ห้องเช่า 32 ครัวเรือน และเจ้าของที่ดินที่ครอบครองที่ดินได้แก่ เอกชน  1 ชุมชน ราชพัสดุ 12 ชุมชน วัด/กรมศาสนา/ธรณีสงฆ์ 2 ชุมชน สาธารณะ 1 ชุมชน และ ธนาคาร(กรุงไทย) 1 ชุมชน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551) โดยนับเป็นปัญหาของชุมชนที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เกิดคุณภาพชีวิตที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยการเชื่อมโยงและบูรณาการทุนเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาให้ประสบความสำเร็จ

 การก่อเกิดการบูรณาการกองทุนชุมชนเขตบางเขน : ปัญหานำ คนตาม ทุนชุมชนหนุน

            แนวคิดในการบูรณาการกองทุนชุมชน  เกิดจากการที่ชุมชนส่วนใหญ่มีสภาพปัญหาด้านความมั่นคงในที่ดินที่อยู่อาศัย  เนื่องจากมีการบุกรุกที่ดินมาเป็นระยะเวลายาวนาน และมีฐานะยากจน  ทำให้ไม่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงมีการรวมกลุ่ม โดยองค์กรชุมชนได้มีการพัฒนาการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่ดินที่อยู่อาศัย ต่อมาได้มีความคิดที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยใช้นโยบายว่า “คนกับคลองต้องอยู่กันได้” จึงได้มีการรวมตัวจัดตั้งเครือข่ายชุมชนเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคลองบางบัว”  เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 ประกอบด้วย  12  ชุมชน  ได้แก่ ชุมชนชายคลองบางบัว

ชุมชนก้าวหน้า  ชุมชนสามัคคีร่วมใจ  ชุมชนร้อยกรอง  ชุมชนบางบัวหลังกองการภาพ  ชุมชนร่วมใจพัฒนาเหนือ  ชุมชนร่วมใจพัฒนาใต้  ชุมชนรุ่นใหม่พัฒนา  ชุมชนร่วมมิตรแรงศรัทธา ชุมชนบางบัวเชิงสะพานไม้  ชุมชนบ้านบางเขน  ชุมชนอุทิศนุสรณ์ และเกิดรูปแบบการจัดการระดับเขตบางเขนต่อมา โดยประสานส่วนต่างๆเข้ามาร่วมมากขึ้น

เป็นการระดมความคิดเห็นหรือการนำปัญหามาร่วมกันสร้างเครือข่ายขยายผลการประสานงาน เพื่อนำมาสู่ประเด็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  กระบวนการดังกล่าวนำมาซึ่งการดึงทุนชุมชนมาใช้อันหมายถึงทุนที่เป็นทุนวัฒนธรรมในพื้นที่การเกิดความสัมพันธ์  และทุนมนุษย์คือการพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ และนำมาสู่ประเด็นเรื่องทุนเงินตราโดยการใช้รูปแบบเงินตรามาเป็นเครื่องมือในรูปแบบกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในพื้นที่นั้น

 

กระบวนการการบูรณาการกองทุนชุมชน

            จากสภาพปัญหาทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย สภาพการดำรงอยู่ วิถีชีวิตของชุมชน อาศัย  ทำให้คณะกรรมการและสมาชิกในชุมชน และเครือข่าย เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการรวมทุนเพื่อใช้ในการจัดการและบริหารทรัพยากรที่ดินในอนาคต  จึงมีการพัฒนาองค์กรการเงินที่สำคัญของเมือง คือ สหกรณ์คลองบางบัวมาดำเนินการโดยการใช้กระบวนการวิธีการทางการเงินเข้ามาแก้ไขปัญหาจัดการในชุมชนโดยกระบวนการดังกล่าว ทั้งในเรื่องการจัดเช่าที่ดิน การบริหารเรื่องที่อยู่อาศัย และยังดำเนินการไปสู่เรื่องอื่น ทั้งการสร้างระบบสวัสดิการของคนในชุมชน สภาพแวดล้อมในชุมชนเป็นต้น รวมถึงการบูรณาการให้เกิดการขับเคลื่อนในภาพใหญ่คือ คือกองทุนระดับเขต ที่ประสานทั้งองค์กรการเงิน ประสานทั้งความร่วมมือในพื้นที่ ทั้งสำนักงานเขต หรือหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาร่วมแก้ปัญหา เป็นระบบการบูรณาการ หรือการประสานงานความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง

          วิธีการทำงานจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ  คณะกรรมการสหกรณ์ฯ  และคณะกรรมการเครือข่าย  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชุดเดียวกัน  เนื่องจากได้รับการคัดเลือกมาจากชุมชน  ซึ่งคณะกรรมการจะมีการประชุมหารือและแก้ไขปัญหาร่วมกัน   โดยมีระบบการทำงานที่สอดรับกัน ระหว่างสมาชิกกับกลุ่มออมทรัพย์  และ กลุ่มออมทรัพย์กับสหกรณ์ฯ และกองทุนระดับเขต เช่น การเก็บเงินหุ้นสหกรณ์ฯ  ค่าเช่าที่ดิน  และการส่งคืนสินเชื่อ  เป็นต้น  ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการบูรณาการทุนของชุมชนในเรื่องสวัสดิการ  และกองทุน  ในระดับเมืองเพื่อทำให้กองทุนให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น และส่งผลถึงความยั่งยืน “กล่าวได้ว่า การที่ชุมชนนำกระบวนการทางการเงินรูปแบบสหกรณ์มาใช้เป็นการนำทุนที่มีในชุมชนมาแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว รวมถึงหากมองไปที่กองทุนระดับเขตก็จะเห็นการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ชาวบ้าน ภารรัฐ พอช. และหน่วยงานอื่นๆ” (สัมภาษณ์ นายประภาศ แสงประดับ 5 พฤษภาคม 2553)

 ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการกองทุน

จากกระบวนการบูรณาการทุนชุมชน จากหลากหลายทุนที่กล่าวส่งผลให้เกิดผลกับชุมชนทั้งผลที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้  และต่อสังคมและกลุ่มในชุมชนเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเป็นสิ่งที่เครือข่ายได้เกิดการเรียนรู้

 1 . เกิดกระบวนการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ได้ดำเนินการแล้วอย่างเป็นรูปธรรม  (ทั้งกระบวนการซ่อมสร้าง รื้อถอน และจัดหาที่ดิน) โดยนำเรื่องสหกรณ์และกระบวนการทางการเงินเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการเงินและทุนในชุมชนให้สามารถอยู่ได้

ชุมชน

รูปแบบการพัฒนา

จำนวนครัวเรือน

1.ก้าวหน้า

รื้อย้ายสร้างใหม่บางส่วน

296

2.ชายคลองบางบัว

รื้อย้ายสร้างใหม่ทั้งหมด

396

3.บางบัว

(หลังกองการภาพ)

รื้อย้ายสร้างใหม่ทั้งหมด

229

4.ร่วมใจพัฒนาใต้

รื้อย้ายสร้างใหม่บางส่วน

295

5.ร่วมใจพัฒนาเหนือ

รื้อย้ายสร้างใหม่บางส่วน

459

6.ร้อยกรอง

รื้อย้ายสร้างใหม่บางส่วน

229

7.รุ่นใหม่พัฒนา

รื้อย้ายสร้างใหม่บางส่วน

387

8.ร่วมมิตรแรงศรัทธา

รื้อย้ายสร้างใหม่ใกล้บริเวณเดิม

395

9.สามัคคีรวมใจ

รื้อย้ายสร้างใหม่ทั้งหมด

195

10.บางบัวเชิงสะพานไม้ *

รื้อย้ายสร้างใหม่ทั้งหมด

68

11.บ้านบางเขน *

รื้อย้ายสร้างใหม่ทั้งหมด

44

12.อุทิศนุสรณ์ *

รื้อย้ายสร้างใหม่ทั้งหมด

100

รวม 12 ชุมชน

3,093

ที่มา : ข้อมูลโดยประมาณการจากพื้นที่ (พศ. 2552)

 2. เกิดการรวมคน พัฒนาเป็นกลไกสหกรณ์ในชุมชน (องค์กรการเงินชุมชน) ที่มีการวางแผนการดำเนินงาน จากสมาชิกชุมชนกลุ่มคนในชุมชน นอกจากปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิติคนในชุมชนด้วย อาทิ เรื่องการประกอบอาชีพ เรื่องสวัสดิการของคนในชุมชน หรือเป็นรูปแบบ “แผนชุมชนในการจัดการชุมชนโดยนำเงินมาเป็นตัวเคลื่อนให้ไปสู่การพัฒนาคณภาพชีวิต”

3. การบูรณาการทุนในชุมชน ทุนคน ทุนเงิน ถูกมานำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา รวมถึงกลายเป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้เกิดการมีส่วนร่วม พัฒนาจากกลุ่มเครือข่ายบ้านมั่นคง เป็นเครือข่ายการทำงานองค์กรการเงินระดับเขตที่มองปัญหามิได้เรื่องที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่กันไปด้วย

 

ปัญหาจากบทเรียนแนวทางการทำงาน

จากการสรุปบทเรียนปัญหาใหญ่คือ สมาชิกมีปัญหาการขาดส่งเงินสินเชื่อ  ส่งไม่สม่ำเสมอและมีความล่าช้า  ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะมีกลไกคณะกรรมการประชุมเพื่อพิจารณา  และมีการติดตามทวงถามถึงเหตุผล และมีการจัดการตามความเหมาะสมต่อไป 

ภาพอนาคตเขตบางเขน

“ภาพในอนาคตเขตบางเขนต่อไป  คงเป็นภาพเรื่องการพัฒนาสหกรณ์ที่เป็นของพวกเราเอง  แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน  รวมถึงที่อยู่อาศัย การทำอาชีพ ที่สามารถทำได้ เท่านี้เองก็เป็นภาพฝันที่เกิดขึ้น” (สัมภาษณ์ นายประภาศ แสงประดับ 5 พฤษภาคม 2553)

ข้อมูลอ้างอิง

  • พื้นที่รูปธรรม : พื้นที่เขตบางเขน  กรุงเทพมหานครฯ
  • กลไกองค์การเงินพื้นที่ : กองทุนระดับเขต , สหกรณ์คลองบางบัว
  • ผู้ประสานงาน /ผู้ให้ข้อมูล (คุณประภาส  แสงประดับ  ผู้ประสานงานระดับเขต)
หมายเลขบันทึก: 357249เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2010 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับ คุณหมูแดง พอช.

ถอดได้ละเอียดยิบ เป็นแนวทางในการถอดบทเรียน ที่จะไปถอดระหัสชุมชนเข้มแข็งสู่สุขภาวะที่บ้านนาปาบ รัตภูมิ สงขลาครับ

ขอบคุณมากครับพี่วอญ่าที่มาเยี่ยมชม ไม่ทราบเป็นอย่างไรบ้างอาการดีขึ้นหรือยังครับ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับพี่

อาการป่วยดีขึ้นแล้วครับ พรุ่งนี้ สัญจรไปนครปฐมครับ

ขอบคุณที่ห่วงใยในสุขภาพครับ

เป็นกำลังใจให้ขับเคลื่อนงานครับบัง

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายในวันหยุดนักขัตฤกษ์  สบายดีนะค่ะ
  • วันนี้บุษราได้นำภาพสายน้ำเย็น ๆ มาฝากกันค่ะ         

                                                                              

สวัสดีคุณหมูแดงอวกาศ

อ่านแล้วได้ประโยชน์ดีจัง...เพียงแต่ว่าจะขยายผลอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ปก.ได้ไปใช้ประโยชน์บ้างจากการถอดองค์ความรู้ของน้องในครั้งนี้เท่านั้นเอง....

อย่างไรก็ตามพยายามถอดให้ได้เยอะๆนะ...แล้วจะคอยติดตามอ่านจ้า....

ขอบคุณครับพี่กำลังติดเหมือนกัน ถอดอออกมาเป็นชุดความรู้อย่างเดียวเพื่อทำเล่มหรือเผยแพร่ไม่พอ คงต้องเอามาทำอย่างไรคล้ายๆ คู่มือกลาง ที่ พี่ๆ ปก. เอาไปปรับในพื้นที่ได้ กำลังคุยกันอยู่ครับ ขอบคุณพี่มากครับ

ผมเคยดูในทีวี เรื่องการจัึดกองทุนชุมชนเมืองเขตบางเขน เขาทำได้ดี และเคยไปดูงานมาแล้วสุดยอด น่าสนใจเขามีเวปไซด์

www.klongbangbua.com ลองไปดูงานจะได้ความรู้เยอะมากน่าสนใจจริงๆ ไปดูงานที่นี่แล้วมีพลังอยากจะให้เกิดในหลายพื้นที่

ครับขอบคุณมากครับ ด้วยเวลากระชั้นจึงถอดแบบเร่งด่วน จะปรับปรุงต่อไปนะครับ

เขียนได้ดีมาก เป็นประโยชน์ นำไปวิจัยศึกษาได้ น่าสนใจ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆๆน่ะครับ....ขอแชร์น่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท