ว่าด้วยเรื่องเครื่องอัตโนมัติ : เครื่องของใคร..ใครก็รัก


กลายเป็นแฟนคลับเครื่องอัตโนมัติ ไปซะแล้ว ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดีนะ แต่อย่างน้อยเราก็มีผู้เชี่ยวชาญประจำเครื่อง

       ได้อ่าน  ความคิดเห็น  ในบันทึกของพี่เม่ย เรื่อง  แปลงโฉม!..การจัดอบรมฯ ให้เป็นการ ลปรร.... แล้วก็อยากเล่าเรื่องเครื่องอัตโนมัติของห้อง sero บ้าง     ที่ห้องของเรามีเครื่องอัตโนมัติอยู่สองสามตัว    ซึ่งพวกเราใช้งานกันเป็น (เกือบ)  ทุกคน     เป็นมากเป็นน้อยแตกต่างกัน  ตามความจำเป็นที่ต้องใช้    ในส่วนของการรู้ลึกๆ  แบบที่ซ่อมเอง (เบื้องต้น)  ได้นั้น    จะมี "ผู้รู้ ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน"   อยู่ประจำแต่ละเครื่อง   ซึ่งตำแหน่งนี้แต่งตั้งตัวเองกันทั้งนั้น       ทำตัวคล้ายๆ กับว่าเป็นเจ้าของเครื่องนั้นซะเอง    ถ้าเครื่องเสียเมื่อไหร่   คนอื่นๆ  ก็จะเรียกหาให้มาดูอาการเบื้องต้นก่อนที่จะเรียกช่าง    หรือบางทีต่อให้ไม่เรียก...ก็ยังโผล่หน้าไปเยี่ยมๆ มองๆ  สอบถามด้วยความเป็นห่วง (เครื่อง)  ว่า     เครื่องเป็นอะไรไปรึ     เหมือนห่วงลูกห่วงหลาน  อะไรทำนองนั้น
        ถามว่าทำไมคนๆ  นั้นรู้เรื่องเครื่องนี้ดีกว่าคนอื่นๆ  ทั้งที่บางทีอัตราการใช้งานใกล้เคียงกัน     คงเป็นเพราะ
         -  มีทักษะทางช่างดี..เป็นคนชอบซ่อม      
         - ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นพิเศษ 
         -  เอาใจใส่ต่องาน  จะใช้เครื่องไหน   ต้องศึกษาให้รู้ดีก่อน
 
         -  ชอบเครื่องนั้นๆ เป็นพิเศษ    
        อันนี้คงต้องให้น้ำหนักในข้อสุดท้ายมากที่สุด      เพราะเท่าที่เห็น  ผู้รู้นั้น  จะรู้มาก  เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น  ส่วนเครื่องอื่นๆ     ก็รู้เท่าที่จำเป็นต้องใช้    เวลาที่ใครๆ  (คนในห้องเดียวกันนั่นแหละค่ะ)   ให้ความเห็นว่าเครื่องนั้นไม่ดีแบบโน้นแบบนี้    เจ้าของเครื่องก็จะออกความเห็นในทางตรงข้ามทันที     คล้ายๆ  กับคอยปกป้อง "ของรักของหวง"     กลายเป็นแฟนคลับเครื่องอัตโนมัติ  ไปซะแล้ว    ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดีนะ      แต่อย่างน้อยเราก็มีผู้เชี่ยวชาญประจำเครื่อง
         คิดเล่นๆ  ว่า   น่าจะจัด workshop เล็ก ๆ  (แบบที่คุณศิริเล่าให้ฟัง)   โดยให้ผู้รู้แต่ละเครื่องผลัดกันเล่าให้คนอื่นๆ  ฟัง   จะได้ขยายวงผู้รู้ให้กว้างขึ้น       ไอเดียนี้จะ work มั๊ยนะ....ต้องลองดู

หมายเลขบันทึก: 35464เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2006 00:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ถ้าทุกคนใช้และช่วยกันดูแล
  • จะดีมากครับ
  • ชอบดูแลเครื่องมือเหมือนกัน
  • จนทุกคนคิดว่าเป็นช่าง(หุ่นให้แน่ๆเลย)
  • คุณ nidnoi คิดเล่นๆ แต่ถ้าทำจริงๆก็น่าจะดีเนาะ!
  • ทั้งสี่เหตุผลที่คุณ nidnoi ยกมาเพื่อบอกว่าทำไมคนนั้นรู้เรื่องเครื่องดีกว่าคนอื่น ทั้งที่บางทีอัตราการใช้งานก็ใกล้เคียงกัน...พี่เม่ยนะช๊อบ....ชอบเหตุผลที่สาม มากที่สุดเลยค่ะ
  • ส่วนเหตุผลสุดท้ายก็ดีค่ะ แต่ต้องระวังจะเข้าข่ายการ เลือกปฏิบัติ ไว้บ้างนะคะ (แซว..แซว)
เรื่องคิดเล่นๆ ของคุณ nidnoi อยากให้เกิดขึ้นจริงจังค่ะ  เคยเปรยกับพี่เม่ยแล้วว่า เราน่าจะมีการพูดคุย ลปรร.ในเรื่องต่างๆ แบบ informal ในภาควิชา ประมาณว่าจะเป็น CoP อะไรทำนองนั้น   

อยากให้ลองดูเถอะค่ะ โดยส่วนตัวคิดว่าทุก ๆ คนในห้องที่ต้องใช้เครื่อง ก็ควรมีสิทธิ์รู้เท่าเทียมกัน ใครรู้มากกว่าก็ต้องบอกคนที่รู้น้อยกว่า หรือคนที่รู้น้อยกว่าก็ต้องศึกษาสอบถามจากผู้ที่รู้มากกว่า ก็เป็นอันว่าจัด Workshop ไปเลย เห็นด้วยมาก ๆ ค่ะ

เรื่องจัด workshop เครื่องมือ   ได้ลองแย็บๆ  กับท่านหัวหน้างานดูแล้ว  คำตอบคือ "ดีนี่"   ซึ่งแปลว่า "ทำสิ"    ก็คงได้ทำซักวันหนึ่งในอนาคต    (ขอแปะโป้งไว้ก่อน)
แต่ว่า...ตอนนี้ขอ request  เครื่อง HITACHI  ที่ ER-Lab  เป็นเครื่องแรกก่อนได้มั๊ยคะ (ฝากไปถึงท่านเจ้าของเครื่อง)     หลังจากที่คนอยู่เวรทำหน้าที่เปิดเครื่องมาได้พักใหญ่ๆ    น่าจะถึงเวลา AAR  แล้วนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท