น้ำหมักชีวภาพ


น้ำหมักชีวภาพ เรารวบรวม ความหมาย วิธีการทำ น้ำหมักชีวภาพ หลากหลาย มีทั้ง น้ำหมักชีวภาพ สำหรับข้าว สำหรับข้าวโพด สำหรับ ไม้ผล ซึ่ง น้ำหมักชีวภาพ นั้นมี 3 ชนิดด้วยกัน ไปศึกษากันได้

ปัจจุบันมีการนำปุ๋ยเคมีมาใช้ในการเกษตรเป็นอย่างมาก  ซึ่งทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์  ทำลายดินให้เสื่อมโทรม  ทำให้ได้พืชผลทางการเกษตรที่น้อยลงและด้อยคุณภาพ  จึงมีการรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพให้มากขึ้น 

น้ำสกัดชีวภาพ  หรือที่เรียกว่า  น้ำหมักชีวภาพ  เป็นอีกทางเลือก

ที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ย และป้องกันกำจัดศัตรูพืช 

แทนปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้  ซึ่งปัจจุบันเกษตรกร

มีการหันมาใช้น้ำสกัดชีวภาพมากขึ้น

ความหมายของน้ำสกัดชีวภาพ

น้ำสกัดชีวภาพ  หรือ น้ำหมักชีวภาพ  หรือ  ปุ๋ยอินทรีย์  เป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน  คือ  เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักแศษพืช  หรือสัตว์  ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์    สารละลายเข้มข้นที่ได้จะมีสีน้ำตาล

ประโยชน์ของน้ำสกัดชีวภาพ

                น้ำสกัดชีวภาพประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่างๆ     หลากหลายชนิด   เช่น   เอนไซม์ฮอร์โมน   และธาตุอาหารต่างๆ   เอนไซม์บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์และเป็นอาหารของต้นพืช  ฮอร์โมนหลายชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อพืชถ้าให้ปริมาณเล็กน้อย  แต่จะมีโทษถ้าให้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไป  ฉะนั้น  ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพในพืชจำเป็นต้องให้ในอัตราเจือจาง  สารอินทรีย์บางชนิดในน้ำสกัดชีวภาพเป็นสารเพิ่มความต้านทานให้แก่พืชที่ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง  และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน

                ชนิดน้ำหมักชีวภาพ   จำแนกได้  3  ประเภทหลักๆดังนี้

1.  น้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงใบลำต้นเป็นน้ำหมักที่ได้จากการหมักพืชเศษอาหารสัตว์และหอยต่างๆ

2.  น้ำหมักชีวภาพสูตรฮอร์โมน  จะบำรุงดอก ผล  เป็นน้ำหมักที่ได้จากการหมักผลไม้สุกต่างๆ

3.  น้ำหมักชีวภาพสูตรสมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช  เป็นน้ำหมักที่ได้จากการหมักพืชสมุนไพรต่างๆ

                จากการจัดการความรู้  (KM)  ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  เกษตรกรมีการตื่นตัวและสนใจในการทำ
น้ำหมักชีวภาพเป็นอย่างมาก  โดยเกษตรกรมีการนำไปใช้กับข้าว  พืชผัก  ไม้ผล  และได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ  ซึ่งบรรยากาศในการจัดการความรู้เป็นไปอย่างเป็นกันเอง

               

 

 

 

 

 

 

 

 

การทำน้ำหมักชีวภาพของเกษตรที่ใช้ในแปลงข้าว

การทำน้ำหมักชีวภาพของเกษตรกรในอำเภอพระนครศรีอยุธยา  เกษตรกรจะทำน้ำหมักชีวภาพโดยการหาวัตถุดิบจากท้องถิ่นพื้นที่ตำบล 

       น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่  1   มีส่วนผสม  ดังนี้   (ผู้เล่า  :  นายอุดมศักดิ์  ถารีพันธ์  ต.สำเภาล่ม)

1.       ผักบุ้ง  1  ส่วน

2.       หัวปลาหรือหอยเชอรี่  1  ส่วน

3.       ผลไม้สุก  1  ส่วน 

4.       ผักชนิดต่าง ๆ  1  ส่วน

5.       กากน้ำตาล  1  ส่วน

6.       พ.ด. 2

  โดยเกษตรกรจะหมักทิ้งไว้  1  เดือน  แล้วนำมาใช้กับแปลงนาปี  โดยผสมไปตามรางน้ำที่นำน้ำเข้านา

        น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่  2   มีส่วนผสม  ดังนี้   (ผู้เล่า  :  นายปลิว  ไตรลึก  ต.บ้านป้อม)

1.       ผักบุ้ง  1  ส่วน

2.       หัวปลาหรือหอยเชอรี่  1  ส่วน

3.       น้ำมะพร้าว  1  ส่วน

4.       ผลไม้สุก  1  ส่วน 

5.       ผักชนิดต่าง ๆ  1  ส่วน

6.       กากน้ำตาล  1  ส่วน

7.       พ.ด. 2

  โดยเกษตรกรจะหมักทิ้งไว้  1  เดือน  แล้วนำมาใช้กับแปลงนาปี  โดยผสมไปตามรางน้ำที่นำน้ำเข้านา

น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่  2  มีส่วนผสม  ดังนี้    (ผู้เล่า : นายลี  ไกรทัต  ต.คลองตะเคียน)

1.       ผักบุ้ง  1  ส่วน

2.       กากสัปปะรด    1  ส่วน

3.       ปลา  (หรือหอยเชอรี่)  1  ส่วน

4.       กากน้ำตาล  1  ส่วน

5.       นมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต  100  ซีซี

        เกษตรกรจะหมักทิ้งไว้  1  เดือน  แล้วนำมาใช้โดยการฉีดพ่นลงในแปลงนาปรัง

วิธีการปลูกข้าวนาปรังที่ใช้น้ำหมักชีวภาพ  มีขั้นตอน  ดังนี้

1.       ไถหมักฟางข้าว  15  วัน

2.       หว่านข้าว  จำนวน  2  ถังครึ่ง/ไร่ 

3.       ใส่น้ำหมักชีวภาพตามรางน้ำ  1  ครั้ง  เมื่อข้าวอายุได้  25  วัน

4.       เมื่อข้าวอายุได้  50  วัน  ใส่น้ำสกัดชีวภาพตามรางน้ำอีก  1  ครั้ง ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี  16-20-0 
15  กิโลกรัม/ไร่

5.       เมื่อข้าวตั้งท้องใช้ยาฮอร์โมน  10  ซีซี/น้ำ  1  ปี๊ป

6.       เมื่อข้าวอายุ  95  วัน  เก็บเกี่ยวโดยจ้างรถเกี่ยว

7.       ไถหมักฟางข้าว

เกษตรกรจะไม่เผาฟางข้าว  แต่จะไถหมักฟางข้าวลงไปในแปลงนา  ซึ่งเป็นการบำรุงรักษาดินผลของการใช้น้ำหมักชีวภาพ  เกษตรกรสามารถลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมี  โดยก่อนใช้ปุ๋ยน้ำหมักได้ผลผลิต จำนวน  70  ถัง/ไร่    หลังจากที่ใช้น้ำหมักชีวภาพได้ผลผลิต  100  ถัง/ไร่

 สูตรที่  2  มีส่วนผสม  ดังนี้   (ผู้เล่า  :  นายพรต  สุขสมนิตย์  ต.ปากกราน)

1.       มะละกอ  1  ส่วน

2.       กล้วยหอม  1  ส่วน

3.       เปลือกสัปปะรด  1  ส่วน

4.       หอยเชอรี่  1  ส่วน

5.       ไข่ขาว  1  ส่วน

6.       ผักต่าง ๆ  1  ส่วน

7.       กากน้ำตาล  1  ส่วน

8.       พ.ด. 2 

  โดยเกษตรกรจะหมักในโอ่ง  ทิ้งไว้นาน  1  เดือน  นำมาฉีดพ่นลงในแปลงนาปรังในอัตรา 1 :500 

น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่  3  มีส่วนผสม  ดังนี้  (ผู้เล่า :  นายสมควร  สุขสมศรี  ต.ปากกราน)

1.       ปลาหรือหอยเชอรี่  1  ส่วน 

2.       สัปปะรด  1  ส่วน 

3.       กากน้ำตาล   1  ส่วน 

4.     พ.ด. 2

  โดยเกษตรกรจะหมักในโอ่ง  ทิ้งไว้นาน  1  เดือน  นำมาฉีดพ่นลงในแปลงนาปรังในอัตรา 1 :500 

 เกษตรรายนี้มีวิธีการปลูกข้าวนาปรังโดยการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ  ดังนี้

1.       ไถพรวน

2.       พลิกดินและหว่าน

3.       เมื่อข้าวอายุได้  12 – 15  วัน  พ่นยาฆ่าหญ้ากับน้ำหมักชีวภาพ

4.       ขึ้นน้ำมิดหญ้า  เพื่อให้หญ้าตาย

5.       เมื่อข้าวอายุได้  18  วัน ใส่ปุ๋ย  16-20-0 

6.       เมื่อข้าวอายุ  45 , 60  วัน  ฉีดน้ำหมักชีวภาพร่วมกับฮอร์โมน

7.       เก็บเกี่ยว   โดยใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว  ไถหมักฟางข้าว

 

 

  

 

 

 

 

 

 

การใช้น้ำหมักชีวภาพในแปลงข้าวโพด 

สูตรที่  1   (ผู้เล่า  :  นางเฉลิม  กลมปล้อง  ต.ปากกราน)

1.       มะละกอ  1  ส่วน

2.       กล้วยหอม  1  ส่วน

3.       เปลือกสัปปะรด  1  ส่วน

4.       น้ำมะพร้าว  1  ส่วน

5.       หอยเชอรี่  1  ส่วน

6.       ไข่ขาว  1  ส่วน

7.       ผักต่าง ๆ  1  ส่วน

8.       กากน้ำตาล  1  ส่วน

9.       พ.ด. 2 

โดยเกษตรกรจะหมักในโอ่ง  ทิ้งไว้นาน  1  เดือน  นำมาฉีดพ่นลงในแปลงข้าวโพดในอัตรา 1 :500 

 สูตรที่  2   (ผู้เล่า  :  นายประยูร  ยันนาคี  ต.บ้านเกาะ)

                1.  ผักหรือผลไม้ที่หาได้ในตำบล   1  ส่วน

                2.   กากน้ำตาล  1  ส่วน

                3.  พ.ด.2 

 โดยเกษตรกรจะหมักในภาชนะพลาสติก  ทิ้งไว้นาน  1  เดือน  นำมาใช้โดยคลุกเมล็ดข้าวโพดก่อนหยอดหลุม  และนำมาฉีดพ่นลงในแปลงข้าวโพดใน

อัตรา 1 :500    

วิธีการปลูกข้าวโพดโดยการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ  ดังนี้

1.       ไถพลิกหน้าดิน  ให้ดินร่วนซุย 

2.       ไถร่อง  และโรยเมล็ดข้าวโพดตามร่อง

        3.       ฉีดน้ำหมักชีวภาพ โดยจะฉีดเมื่อข้าวโพดมีอายุ  10  วัน  เป็นต้นไป  โดยจะฉีด  7  วัน/ครั้ง

4.       เมื่อข้าวโพดอยู่ในระยะออกดอก  จะฉีดน้ำหมักชีวภาพ  5  วัน/ครั้ง

5.       เมื่อข้าวโพดอายุได้  2  เดือน  เก็บเกี่ยว  โดยที่เกษตรกรจะต้มขายเอง

เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีได้มาก  และได้ข้าวโพดที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค  และดินที่ใช้ปลูกข้าวโพดร่วนซุย  ส่งผลให้พืชงอกงามดี

การใช้น้ำหมักชีวภาพ ในแปลงผักและไม้ผล                                                                                                               

สูตรที่  1   มีส่วนผสม  ดังนี้  (ผู้เล่า  :  นายชนินทร์  เอื้อราษฎร์  ต.ปากกราน)

        1.  ผลไม้สุก   1  ส่วน

        2.  หอยเชอรี่  1  ส่วน

       3.  ปลา  1  ส่วน

       4.  กากน้ำตาล  1  ส่วน

       5.  พ.ด.2

สูตรที่  2   มีส่วนผสม  ดังนี้  (ผู้เล่า  :  นายเล็ก  ศุขศรีไพศาล  ต.บ้านรุน)

        1.  เศษผักต่าง ๆ  1  ส่วน

        2.  หอยเชอรี่  1  ส่วน

       3.  ปลา  1  ส่วน

        4.  ผลไม้สุก  1 ส่วน

       5.  กากน้ำตาล  1  ส่วน

       6.  พ.ด.2

 

สูตรที่  3  มีส่วนผสม  ดังนี้  (ผู้เล่า  :  นางสมถวิล  ภาคเกษี  ต.เกาะเรียน)

                1.  ผักบุ้ง  1  ส่วน

                2.  กากสัปปะรด  1  ส่วน

                3.  เศษผักต่างๆ  1  ส่วน

                4.  กากน้ำตาล  1  ส่วน

                5.  พ.ด. 2

เกษตรกรจะหมักในถัง  200  ลิตร  และทิ้งไว้  30  วัน  แล้วนำมาใช้ในอัตราส่วน  1  :  500  โดยการฉีดพ่นลงในแปลงผักสวนครัวและไม้ผล   โดยจะฉีดพ่น 

7  วัน/ครั้ง

 สรุปผลของการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 

1.       เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี

2.       ปลูกพืชงอกงาม  และให้ผลผลิต

3.       ช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น  ทำให้ดินโปร่ง  ร่วนซุย  และลดการเสื่อมสภาพของดิน

4.       ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์สารได้ดี  และเร็วขึ้น

 

 

คำสำคัญ (Tags): #น้ำหมักชีวภาพ
หมายเลขบันทึก: 339905เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณ ท่านอาจารย์สะอาด นะครับที่ได้แนะนำเรื่องราวดีดี ผ่านเวบบล็อกแห่งนี้ครับ

สุดยอดครับ บันทึกเรื่อยๆนะเครับจะรออ่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท