ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

เคล็ดลับการเตรียมปฏิบัติการของครูในการทดลองเรื่องความแตกต่างของดินและน้ำต่อการรับและคายความร้อน


ครูที่ยึดมั่นประสบการณ์ Skill Process มากกว่าตัว Body of Knowlege ก็ยังมีคนที่สนใจและหวังว่า เราจะไม่ได้ถูกหลอกด้วยความรู้ ซึ่งประสบการณ์ไม่สามารถถ่ายทอดหลอก ๆ ให้กันได้ ของใครของมันที่จะเก็บเกี่ยวเอา

ในการทดลองเรื่อง ต้นเหตุของลมบก ลมทะเล... เริ่มต้นก็ยากแล้ว เนื่องจาก

 ชื่อเรื่องอาจจะแตกต่างกัน เช่น ดินและน้ำถ่ายโอนความร้อนเท่ากันหรือไม่ (สสวท. ป.5) การดูดกลืนและคายความร้อนของดินและน้ำ(วรรณิพา รอดแรงค้า และคณะ.2548 :240)  และอื่น ๆ เป็นต้น

   การตั้งเพื่อที่จะอธิบายให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเรากำหนดสาเหตุที่ทำให้เกิดลมบกลมทะเล นั้น เป็นปัญหาที่นักเรียนจะคิดสมมุติฐานที่ไกลตัวมาก

   ครูกำหนดชื่อเรื่อง หรือประเด็นปัญหาที่นักเรียนสามารถที่จะตั้งสมมุติฐานจากข้อมูลที่พึงมี หรือไม่ก็ ครูควรเตรียมความรู้เบื้องต้นก่อนการทดลองจะทำให้ปฏิบัติการมีทิศทางมากขึ้น

   จากการสังเกตนักเรียนในเบื้องต้นของการทำปกิบัติการแบบ Easy Lab Control : ELC ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนแนวทางพิสูจน์ตรวจสอบสมมุติฐาน ที่เกิดจากบทเรียน ครู และนักเรียนกำหนด ดังจะพบสิ่งที่นักเรียนเตรียมมานั้น อาจจะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนของความเข้าใจในมโนมติ ถึงแม้บางปฏิบัติการนักเรียนอาจจะเคยรับรู้มโนมติดังกล่าวมาบ้างแล้ว

    ดังกรณีการทดลองข้างต้น เพียงแค่ชื่อปกิบัติการก็ทำให้นักเรียน งง และสงสัยว่า ครูทำไมถึงมากำหนดว่า พื้นน้ำ และพื้นดินน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ลมบกลมทะเล

   ยามฝนฟ้าคะนอง หรือฤดูมรสุม ยังอยู่ในกรอบ ขอบข่ายของนิยามลมบกลมทะเลหรือไม่

   ครูงงคำถามนักเรียน เขาคิดได้อย่างไร ซึ่งแสดงให้เห็นจุดอ่อนที่เกิดจากการเตรียมการที่บังคับการปฏิบัติการให้แก่นักเรียนมากเกินไป จึงทำให้นักเรียนไม่อยากที่จะเตรียมอุปกรณ์ ถ้าเหตุผลครูไม่เพียงพอ นักเรียนก็จะงดการเตรียมอุปกรณ์  ปัจจัยอะไรที่ทำให้ความเป็นเหตุเป็นผลของนักเรียนเริ่มมาต่อรองกับครูในการเตรียมอุปกรณ์ ดังเหตุผลที่นักเรียนเสนอ

     1. เราเตรียมอุปกรณ์มามากครั้งแล้ว

     2. เราอยากไปเห็นที่ทะเลจริง ๆ มากกว่า

     3. นักเรียนมีมโนมติแล้ว ดังคำกล่าวนักเรียนที่ว่า "ก็แน่นอนอยุ่แล้วน้ำจะต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นดิน อยู่บนห้องเหนือพื้นดินยังร้อนเลยครับ"

    สิ่งที่ครูจะควบคุมความคิดความเข้าใจต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการปฏิบัติการเป็นไปได้ต้องใช้ทักษะการสื่อสารเฉพาะตัวของครูที่จะพยายามโน้มน้าวจิตมาสนใจสิ่งที่จะต้องปกิบัติ ที่นอกเหนือจาการขู่ด้วยคะแนน

   สิ่งที่ครูจะต้องดึงความสับสนความสนใจอื่น ๆ มาสู่ปฏิบัติการนั้น ครูใช้มาตรการคำถาม แน่จริงตอบได้...

   ครูให้สังเกตเทียนไขที่จุดไฟ และสังเกตเปลียวเทียน ที่เห็นเป็นแก๊สร้อน

 

 

คำถามที่ว่า แก๊สร้อนลอยตัวขึ้นไป นั้นได้ตลอดเวลานั้น มีแก๊สหรืออากาศอื่นเข้ามาแทนหรือไม่

 

 

ครูใช้ไม่ขีดไฟที่จุดแล้วดับจนเกิดควัน สังเกตควันที่ใกล้เปลวเทียน

 

แสดงว่าการเกิดลมเกี่ยวข้องกับความร้อน

 

ดวงอาทิตย์ให้พลังงานความร้อนแก่โลกในแต่ละจุดที่ไม่ห่างกันมาก ถือว่าได้รับพลังงานความร้อนเท่า ๆ  ครูถามว่า... ระหว่าพื้นดินที่แทนด้วยดินทรายในบิกเกอร์ของเธอ และพื้นน้ำทะเลที่แทนด้วย บีกเกอร์น้ำของเธอเช่นกัน สิ่งใดจะรับและคายความร้อนได้เวกว่ากัน ในเวลา 25 นาที เธอสามารถจะพิสูจน์สิ่งที่เธอคิดจะตอบได้หรือไม่

     ความวุ่นวายกลับมาเป็นเช่นเดิมอีกครั้ง แต่ละกลุ่มเริ่มปฏิบัติการในเวลาที่เหลือ โชคดีที่วันนี้แสงแดดเต็มที่ นักเรียนจึงได้นำคำชี้แจงในปฏิบัติการ(Direction Lab) มาดำเนินการ

  หลังจากที่นักเรียนดำเนินการทดลอง ค่าอุณหภูมิที่บันทึกได้มันแตกต่างกัน ในแต่ละกลุ่ม เริ่มต้นไม่เหมือนกัน เช่น 28 หรือ 29องศาเซลเซียส ในช่วงเวลาทุก ๆ 5 นาทีก็มีแนวโน้มของอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปตามที่ครูภาวนาเช่นกัน ถึงแม้ประสบการณ์ในการสอนเรื่องนี้มามากกว่า 10 ปีก็ตาม

   เคล็ดลับที่ครูไม่ลืมเลือน คือ ดินทีนักเรียนเตรียมมาจะต้องเป็นทรายหยาบ มากกว่าดินชนิดอื่น  ๆ และต้องเริ่มต้นที่ที่ทรายนั้นเย็นปกติด้วย จึงจะทำให้ครูไม่ต้องใช้เหตุปัจจัยแทรกอื่น ๆ มาอธิบายให้นักเรียน งง เข้าไปมากกว่านี้

    เคล็ดลับที่สองที่ครูควรพึงตระหนักคือ ไม่ควรตั้งชื่อให้ไกลจากสมมุติฐาน

    เคล็ดลับที่สาม ครูอาจจะต้องสาธิตปฏิบัติการบางอย่างเพื่อดึงนักเรียนเข้ามาในประเด็นที่ครูผูกไว้ในเบื้องหลัง

   เคล็ดลับที่สี่ มาตรการของคำถาม มันยังใช้ได้ดีทุกสถานการณ์

   เคล็ดลับที่ห้า ครูควรให้กำลังใจตนเองและนักเรียนด้วย คำชม คือ สื่อภาษาที่มีค่ามากที่สุด

   ขอให้ครูทุกท่านอย่าท้อต่อปฏิบัติการที่จะสอนแก่นักเรียน ถึงแม้นนักเรียนที่ผ่านปฏิบัติการยอดเยิ่ยมจะสอบประมวลผลได้ต่ำก็ตาม แต่ครูที่ยึดมั่นประสบการณ์ Skill Process มากกว่าตัว Body of Knowlege ก็ยังมีคนที่สนใจและหวังว่า เราจะไม่ได้ถูกหลอกด้วยความรู้ ซึ่งประสบการณ์ไม่สามารถถ่ายทอดหลอก ๆ ให้กันได้ ของใครของมันที่จะเก็บเกี่ยวเอา

   ผมอยากเห็นนักเรียนไทยพิสูจน์ด้วยตนเองในทางที่เหมาะที่ควร และไม่เชื่อในสิ่งที่คิดว่าเป็นความรู้นั้น ๆ พิสูจน์แล้ว ....

คำสำคัญ (Tags): #elc
หมายเลขบันทึก: 339599เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ถ้าสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ รัฐควรจะทุ่มงบค่าวิจัย มากกว่าค่าโง่... ที่ไม่วิจัย

ประสบการณ์วิทยาศาสตร์ รวมทั้งเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์สร้างได้ แต่ต้องใช้เวลาในการปลูกฝั่งอย่างมีระบบ และมีทิศทางไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน

  • ชอบวิธีคิดและการสอนของอาจารย์ และเห็นด้วยทุกประการกับการเน้นสอนทักษะกระบวนการ มิใช่เน้นไปที่ความรู้..
  • อาจารย์มีความเห็นอย่างไรกับการติวสอบโอเน็ตที่กำลังฮิต จนน่าจะเป็นปัญหาใหญ่ๆอีกปัญหาหนึ่งของการจัดการศึกษาในบ้านเมืองเราครับ
  • ขอบคุณประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีๆนี้ครับ

ถ้าระบบเข้ามหาวิทยาลัยยังเลือกเอาแต่นักศึกษาที่เก่งรู้ ไม่ในใจเชาว์ปัญญา คุณธรรม ความดีแล้ว มันจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเขาเหล่านั้นจบออกมา ยังตัวอย่างแพทย์ ในปรากฎในข่าว วันหนึ่งท่านอาจจะได้เป็นคู่กรณีในวันหน้าก็ได้ เพราะ ยังดีที่มีอาจารย์แพทย์เก่ง ๆ อยู่ให้ปรึกษา ถ้าครูเหล่านั้นจากไปล่ะ... ความรู้มันไม่ได้ช่วยหรือใช้ในสถาณการณ์วิกิตของชีวิตบางอย่างได้ หรือ ท่านจะเป็นหนูทดลอง เพื่อฝึกให้แพทย์เก่งทักษะก็ย่อมได้

   ผมชอบกับอาจารย์ที่กล้าเผชิญการเปลี่ยนแปลงและได้เห็นข้อสอบโอเนตที่เปลี่ยนแนวคิด คนที่มีเทคนิคในการสอบเก่งมาเป็นเก่งในเทคนิคชีวิต  บางรายการทีวีที่นำเสนอเด็กในเมือง ก้สะท้อนให้เห็นว่า สังคมเมืองเขาก็จะตอบตามสภาวะสังคมนั้น ๆ ทั้ง ๆ ที่ผิดศีลธรรมก้ตาม นั้นก็แสดงให้เห็นหระบวนการคิดของเด็กยังไม่สามารถบอกสิ่งที่ถูกหรือผิดของความดีได้เลย

ตัวอย่างผลสัมฤทธิ์จริง ๆ ทำให้แป๊กขั้น

    ถึงแม้นว่าผลการสอบระดับชาติที่เปรียดังดัชนีชีวัดผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนจะเป็นอย่างไรก็น่าจะบอกได้ว่า ครูไม่อยากมีปัญหากับโรงเรียน เกรดเฟ้อจึงบังเกิดขึ้น ไม่มีความสัมพันธ์กับค่าจริงที่ปรากฏ ปัญหานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ตกต่ำที่เป็นข่าว จริงหรือ ทำไมผลสัมฤทธิ์ที่โรงเรียนจัดทำขึ้นเอง กลับมีค่าสูงตรงข้ามผลการประเมินระดับชาติ ครูและโรงเรียน(องค์คณะบุคคล)จะต้องไม่แสดงค่าที่บิดเบือน

    ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะของนักเรียนชั้นประถมยังส่งค่าความสัมพันธ์เชิงบวกได้บ้าง เมื่อผมย้ายมารับหน้าที่ครูวิทยาศาสตร์ทำให้ผลสัมฤทธิ์วิทยาศาสตร์จากเดิมร้อยละ 78 (ปี49)ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 59 (ปี50)ถึง  60 (ปี51) ส่งผลต่อขั้นความดีความชอบทันที ถึงในปัจจุบันความก้าวหน้าทั้งนักเรียนและครูจะค่อยเป็นค่อยไป ความพยามของครูที่จะสร้างทักษะวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต มีค่ามากกว่าผลสัมฤทธิ์ ครูไม่น้อยใจหากแม้นเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์แบบท่องจำจะมาทำให้วิทยฐานะครูไม่เบ่งบาน แต่ความสุขที่ได้พร่ำสอนวิทยาศาสตร์ตามธรรมชาติวิทยาศาสตร์(Nature of Science) เริ่มมาได้ถูกทาง เพียงแค่ใช้เวลาเท่านั้นเอง ความมุ่งมั่นตั้งใจจึงจะทำให้ไปสู่ความสำเร็จได้

   หากแม้นนักเรียนยอมโดดเรียนวิชาที่ต้องทำ Lab ขอไปติว... ? เหตผล...เพราะแบบทดสอบไม่ได้ทดสอบ Lab ...ครูไม่ได้ออกข้อสอบโอเน็ต

ครูได้รับทราบเหตุผลเช่นนี้ ครูจะเสียใจไหม...? 

   ครูก็ไม่อาจจะห้ามได้ แต่ถ้าติวเตอร์เขาติวLab แห้ง ๆ ไปด้วยก็คงดีใช่หรือไม่...

   ครูก็จะทำตามปณิธาณที่เคยตั้งไว้ ถึงแม้นครูส่วนใหญ่จะไม่ชอบปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ยั่งยาก แต่ก็ยังมีครูบางส่วนที่ท่านเห็นความสำคัญของปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ บางท่านอาจจะสละทั้งเวลา ทรัพย์ส่วนตัวเพื่อปฏิบัติการดังกล่าวก็มีมากไป

    ขอใหครูที่ยึดมั่นในหลักดังกล่าว ได้มีกำลังใจดำเนินการต่อ ถึงแม้นจะขัดกับความรู้สึกความต้องการของคนส่วนใหญ่ก็ตาม

   ครูเพื่อศิษย์ทำได้... เริ่มต้นที่ครูเพื่อครูหรือเพื่อใคร

เห็นพี่ธนิตย์ คุยเรื่องข้อสอบ O-NET  ครูใจดีไปคุยกับหนุ่มกร ไป แล้ว ไม่อยากพูดซ้ำอีก  ฮิ ฮิ เครียด รำคาญใจเสียเปล่า...

มาทักทายก็แล้วกันค่ะ... ทานข้างเที่ยงหรือยังคะ

เดี๋ยวครูใจดี จะต้องไปประชุมเรื่อง คุมสอบ GAT PAT ตอนบ่ายโมง ก็ขออนุญาตก่อนค่ะ

ขอบคุณที่ไปเยี่ยมที่บล็อกค่ะ  อ้อ บันทึกก่อนหน้า เป็นการเข้าค่ายหุ่นยนต์  ว่างๆ เชิญไปเยี่ยมชมชาวค่ายนะคะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 

ขอบคุณภาพกิจกรรม ที่สวย ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท