วิวัฒนาการของพุทธศิลป์พระกรุโบราณในประเทศไทย


การพัฒนาพุทธศิลป์ที่เป็นพุทธรูปแบบบริสุทธิ์มากขึ้น โดยเริ่มในยุคปลายลพบุรี ในกลุ่มพระ “ลำพูน” อู่ทอง เชียงแสน และสุโขทัย ที่มีความเป็น “พระ” มากกว่าเป็น เทพ หรือ ผี หรือ รูปสักการะ

จากการศึกษาพุทธศิลป์ของการสร้างพระกรุตั้งแต่ยุคทวาราวดีมาจนถึงยุคอยุธยา ได้พบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญตามลำดับดังนี้

Evolution005

พระกรุกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ศิลปะคันธาระ

ในยุคแรกๆประมาณ พ.ศ. ๒๓๕ มีการเริ่มนำเข้ามาที่ นครปฐมในปัจจุบัน มีการสร้างโดยใช้ศิลปะ “คันธาระ” ในช่วงยุคต้นๆของทวาราวดี โดยการผสมผสานกับแนวคิดและศิลปะท้องถิ่น ที่มีความหลากหลายพอสมควร

จนกระทั่งประมาณ ปี พ.ศ. ๘๐๐ ก็พัฒนามาเป็นการใช้ศิลป์คุปตะ ที่ยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับ “ผี” เป็นฐาน พระพุทธเจ้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ไม่ใช่คน

Evolution012

พระถ้ำเสือ พิมพ์ตุ๊กตา เป็นพระพุทธรูปที่ผสมผสาน "รูปสักการะ" เข้ากับ "พุทธ"

Evolution004

พระกรุนาดูน นาคปรกพิมพ์ใหญ่ ศิลปะ "คุปตะ"

Evolution010

พระกระดุมศรีวิชัย ศิลปะ "คุปตะ"

 

จึงทำให้มีลักษณะรูปทรงหยาบๆ ใช้จินตนาการของ “รูปสักการะ” แม้จะมีความอ่อนช้อยก็อยู่ในลักษณะเช่นนั้น

Evolution001

พระพุทธรูปศิลปะ "คุปตะ"

Evolution002

พระพุทธรูปศิลปะ "ปาละ"

ในยุคที่สามของทวาราวดี ประมาณ พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๖๐๐ ที่ใช้ศิลปะ “ปาละ” เริ่มมีความอ่อนช้อยมากขึ้น มีรายละเอียดขององค์พระ และองค์ประกอบต่างๆมากขึ้น มีสัดส่วนของ “คน” มากขึ้น

Evolution006

พระกรุฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระทวาราวดียุคหลัง ที่ใช้ศิลปะ "ปาละ"

ในขณะเดียวกัน ก็มีการแทรกศิลปะอินเดียใต้ “อมราวดี” เข้ามาอีกด้วย ที่เป็นช่วงปลายทวาราวดี และการเกิดของยุคอาณาจักรศรีวิชัย พ.ศ. ๑๓๐๐-๑๘๐๐ ที่มีความอ่อนช้อยและรายละเอียดของศิลปะมาก

Evolution009

พระพุทธรูป "อวโลกิเตศวร" จาก ไชยา สุราษฎร์ธานี ศิลป "อมราวดี"

Evolution007

พระกรุหนองหลอด อุดรธานี ศิลปะ "อมราวดี"

Evolution003

พระ "พุทธาวตาร"

Evolution015

พระกรุพิมายยุคแรกๆ ที่ใช้ปราสาทหินเป็นเกศพระ ที่เป็นต้นแบบของปราสาทหิน "พิมาย" และนครวัด นครธม ในระยะต่อมา

พอเข้ามาในยุคทวาราวดีตอนปลาย ต่อกับยุคลพบุรี ได้มีการปรับรูปแบบของการสร้างพระพุทธรูปเพื่อเชื่อมต่อกับแนวคิดของฮินดู มีทั้งการสร้างความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าคือปางหนึ่งของพระนารายณ์  “พุทธาวตาร” หรือเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาฮินดู เพื่อการกำจัดศาสนาพุทธ แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในอินเดีย

และได้มีการสร้างพระพุทธรูปเป็นเทพเจ้า มีเครื่องทรงแบบกษัตริย์ ควบคู่ไปกับการสร้างเทวรูปทั้งในยุค “ปาปวน” และยุค “บายน” ตามลำดับ

การพัฒนาพุทธศิลป์ที่เป็นพุทธรูปแบบบริสุทธิ์มากขึ้น โดยเริ่มในยุคปลายลพบุรี ในกลุ่มพระ “ลำพูน” อู่ทอง เชียงแสน และสุโขทัย ที่มีความเป็น “พระ” มากกว่าเป็น เทพ หรือ ผี หรือ รูปสักการะ

Evolution013

พระกรุดอยคำ ยุคทวาราวดี

ที่เป็นต้นแบบของพระรอด ในยุคลำพูน หรือตอนปลายของลพบุรี

แต่ก็มีเอกลักษณ์ของศิลป์ประจำถิ่นปนอยู่ ทำให้มีความหลากหลายตามพื้นที่ และตามยุค

ทั้งในเชิงศิลปะ เนื้อพระ และมวลสาร ดังรูป

 

หมายเลขบันทึก: 334452เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เวปบล๊อกของอาจารย์มีประโยชน์ต่อนักศึกษาวิชาโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และมานุยศาสตร์เป็นอย่างมากครับ ในฐานะที่ผมเป็นนักศึกษาประวัติศาสตร์ขอฝากตัวเป็นศิตย์ในเวปบล๊อกนี้ด้วยคนนะครับ

ปล. โดยเฉพาะเรื่องราวของประวัติศาสตร์ศิลป์ ผมชอบมาก จะค่อย ๆ ย้อนอ่านครับ

ลงรูปให้แล้วครับ

เนตช้าเลยเพิ่งได้ทำครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • ตอนนี้ผมเริ่มเข้าสู่วงการพระเครื่องมากขึ้นเรื่อย ๆ ขอรับ เหตุปัจจัยหนึ่งคือการได้อ่านบันทึกของท่านอาจารย์ในบล็อกนี้ขอรับ
  • ขอบพระคุณที่นำพาขอรับ

 

 

ตอนนี้กำลังสนใจศึกษา  กรุนาดูน (1)  

เรียนเชิญท่านอาจารย์ช่วยชี้แนะที่บันทึก   กรุนาดูน (1) ด้วยครับ

ขอบพระคุณครับ

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท