เคล็ดการแยกพระกรุออกจากพระโรงงาน : ตอนที่ ๔ พระสำริด


ฝุ่นสนิมจะคลุมอยู่บนผิวสนิมชั้นในของโลหะที่มักมีสนิมเป็นสีแดง แต่อาจเป็นแดงเข้มเกือบดำ หรืออาจจะเป็นสีทอง (ถ้าเป็นสำริดแก่ทอง) หรือออกพรายเงิน (ถ้าเป็นสำริดแก่เงิน)

การเรียนรู้เรื่องพระกรุเนื้อโลหะนั้น เดิมทีผมเข้าใจว่าการดูเนื้อโลหะผสม เช่น สำริดโบราณ นั้น น่าจะดูง่ายที่สุด เพราะมีทั้งสีเขียวอมฟ้าที่เป็นเอกลักษณ์ มีสีเนื้อแยกออกเป็นชั้นๆ จากแดงด้านในเป็นเขียวด้านนอก มีความพรุนของเนื้อใน(ถ้ามีการหักบิ่น) และมีความผุกร่อนให้เห็นได้ง่าย

แต่เมื่อต้องเผชิญกับ “สำริดจากโรงงาน” นั้น ปรากฏว่า มีการทำได้ดีมาก หลบเลี่ยงลักษณะที่ต้องสังเกตได้เกือบหมด ที่ทำให้การแยกพระสำริดจากโรงงาน ออกจากพระกรุทำได้ยากพอสมควร เนื่องด้วยความหลากหลายของส่วนผสมของ “สำริด” ที่ทำขึ้นในแต่ละครั้ง ไม่เท่ากันนั่นเอง

แต่ก็ยังมีความหลากหลายด้านคุณภาพของ “สำริดโรงงาน” ที่พอจะดูได้พอสมควร มีดูยากบ้างไม่มากนัก

จุดสังเกตที่สำคัญนั้น ก็เริ่มจาก

  • ผิวนอกขององค์พระเดิม จะมีผงสนิมเขียวอมฟ้าปนดำของสีฝุ่นดิน
  • สนิมและฝุ่นจะเกาะกันแน่น เป็นเนื้อเดียวกัน (ไม่ยุ่ย)
  • Samrit001

พระทวาราวดีสำริด (แก่ทอง) ให้สังเกตสนิมและฝุ่นที่เกาะกันแน่น

 Samrit002

เนื้อสำริดแก่ทองคำ ของพระยุคทวาราวดี

ให้สังเกตสนิมแดงที่ติดอยู่กับทองคำ สนิมเขียวและคราบดินคลุมด้านนอก

Samrit003

พระลพบุรี สำริดแก่ทองคำ

ให้สังเกตผิวทองคำ และสนิมเขียวคลุมเดิมๆ

Samrit004

ฐานพระสำริดที่ต้องมีการผุกร่อนอย่างเป็นธรรมชาติ

Samrit006

พระทวาราวดี สำริด ที่ไม่ผ่านการฝังดิน จะยังไม่ผุกร่อนมาก

Samrit009

เทวรูปสำริด ศิลปะปาปวน

ให้สังเกตความหลากหลายของมวลสาร สนิม และคราบเก่าแบบ "ธรรมชาติ"

Samrit011

รอยขอบบิ่นของพระชินราชใบเสมาเนื้อสำริด (แก่ทอง)

ให้สังเกตเนื้อในที่แยกเป็นเม็ดๆ ที่ทำปลอมได้ยาก

  • ฝุ่นสนิมจะคลุมอยู่บนผิวสนิมชั้นในของโลหะที่มักมีสนิมเป็นสีแดง แต่อาจเป็นแดงเข้มเกือบดำ หรืออาจจะเป็นสีทอง (ถ้าเป็นสำริดแก่ทอง) หรือออกพรายเงิน (ถ้าเป็นสำริดแก่เงิน)
  • ถ้ามีรอยหักบิ่น จะเห็นเนื้อเดิมเป็นเม็ดๆ คล้ายผิว “โฟมหัก” และมีสีของเม็ดโลหะหลากหลายชนิดปนกันอยู่
  • และถ้าในเนื้อมีสนิมแทรกอยู่ด้วยแสดงว่าเก่าถึงอายุจริง และจะทำให้มีสภาพเปราะหักได้ง่าย (เวลาจับ ต้องระวังเป็นพิเศษ)
  • ตามขอบ และฐานจะต้องมีรอยผุกร่อน ไม่มีรอยตะไบ อย่างมากก็มีรอยหินขัด
  • เนื้อโดยรวมอาจหลากหลายตามจุดต่างๆ ขององค์พระ ที่มักจะไม่เหมือนกันตลอดทั้งองค์

ส่วนพระโรงงานนั้น มักทำมาจากทองเหลือง แยกสีได้ชัดเจนจากทองสำริด

สิ่งที่ทางโรงงานพยายามจะทำเลียนแบบ มีหลายระดับ

  • แบบง่ายๆ ก็ทาสีเป็นชั้นๆ ตามลำดับ ที่ดูได้ง่ายๆว่าเป็นสี หรือเป็นสนิม
    • ที่มักมีความแตกต่างชัดเจนเมื่อส่องด้วยเลนส์
  • ที่มีฝีมือ ทำดีๆมาก ก็คือการทำให้เกิดสนิมเป็นชั้นๆ
    • โดยการนำไปฝังดิน ให้เกิดสนิมดำๆ แล้วมาเคลือบสนิมทองแดง ไปฝังดินให้เกิดสีเขียว ที่ใช้เวลามากขึ้น แต่ก็จะคล้ายของจริงมากขึ้น

ที่ยังไม่ค่อยทำ หรือทำไม่เหมือนธรรมชาติคือ

  • การทำให้เกิดขอบที่ผุกร่อน
  • การทำโลหะเนื้อในให้เป็นเม็ดโฟม และ
  • ความเนียนกลมกลืนของสนิมที่อยู่ในเนื้อพระ
  • ความหลากหลายของโลหะในส่วนต่างๆขององค์พระ

ที่ยังเป็นจุดสังเกตได้

แต่ก็ไม่แน่นะครับ บางโรงงานอาจจะทำได้แล้วก็ได้ อย่าประมาทครับ

ดังนั้น จุดที่พอจะเหลือพอสังเกตได้ ก็คือความ “เนียน” ของส่วนต่างๆ

ทั้งผิวนอก ขอบ รอยผุ สนิมขุม และความหลากหลายของมวลสารในเนื้อพระองค์เดียวกัน ที่เป็นการเสียเวลาและลงทุนสูงไม่คุ้มกับค่าแรง

โดยเฉพาะพระที่ราคาในท้องตลาดไม่สูงนัก

และพระเหล่านี้ก็ไม่ได้รับการยกให้เป็นพระหลัก แต่อาจนิยมอยู่ในกลุ่ม “พระโบราณ” ที่มีตลาดแคบ ที่อาจไม่คุ้มกับการลงทุนที่อาจต้องทำในปริมาณมาก หรือได้ราคาสูงเท่านั้น

ขอให้โชคดีครับ

หมายเลขบันทึก: 332213เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2010 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท