ครุฑทองคำ


ครุฑทองคำ

"ครุฑทองคำ" หรือ เข็มเชิดชูเกียรติ

บันทึกนี้ ผู้เขียนขอนำเรื่อง "ครุฑทองคำ" มาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ค่ะ... เนื่องจาก ผู้เขียนได้รับการคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจำปีพุทธศักราช 2548 สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งคณะกรรมการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน โดยมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ฯ พิจารณาว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมและยกย่องบ้าราชการและลูกจ้างประจำ ผู้ที่มีความประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการครองตน การครองคน การครองงาน อีกทั้งมีผลการปฏิบัติงานดีเด่นที่จะเป็นตัวอย่างในการประพฤติตนแก่ราชการ จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ทำหน้าที่กำหนดขอบเขต หลักเกณฑ์ วิธีการดำเนินการ ตามคู่มือการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นให้แก่ส่วนราชการต่าง ๆ โดยกลุ่มของผู้รับการคัดเลือก ส่วนราชการจำแนกกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มข้าราชการ ระดับ 6 - 8 คือ กลุ่มที่ 1

2. กลุ่มข้าราชการ ระดับ 1 - 5 คือ กลุ่มที่ 2

3. กลุ่มลูกจ้างประจำ คือ กลุ่มที่ 3

สำหรับผู้เขียน ซึ่งได้รับเข็มเชิดชูเกียรติ (ครุฑทองคำ) , ได้รับเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติและบันทึกประวัติในหนังสือที่ระลึกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2548 ในกลุ่มข้าราชการ ระดับ 6 - 8 โดยได้รับจากท่าน ดร.ทักษิน ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) ในสมัยนั้น เป็นผู้มอบรางวัลให้ นับได้ว่าเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจให้กับผู้เขียน ครอบครัวและวงศ์ตระกูล เป็นอย่างยิ่ง จากรางวัลที่ผู้เขียนได้รับ กลับทำให้ผู้เขียนมีความรู้สึกตอบกลับว่า ในฐานะที่เป็นข้าราชการ เป็นข้าที่รับใช้แผ่นดิน มีหน้าที่ในด้านการให้บริการต่อประชาชน ต่อบุคลากรของประเทศ ไม่ว่าหน่วยงานใด (ไม่เฉพาะกับหน่วยงานของตนเอง) ผู้เขียนต้องมีจิตสำนึกและตระหนักอยู่เสมอว่า ต้องมีหน้าที่ให้บริการให้กับทุก ๆ คน สมกับที่ได้รับการยกย่องให้เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น โดยผู้เขียนมีความคิดว่า เมื่อได้รับรางวัลการเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น แล้ว เป็นการยากมาก ๆ และทำอย่างไร ซึ่งเป็นภาระที่ตัวผู้เขียนเองต้องรักษาคุณงามความดี ตั้งแต่การครองคน การครองตนและการครองงาน เพื่อให้สมกับการได้รับเข็มเชิดชูเกียรติ (ครุฑทองคำ) มิใช่ทำงานเพื่อให้ได้รับรางวัล เมื่อรับแล้วก็แล้วกัน ไม่ทำให้สมกับการที่ได้รับรางวัลมา เรียกได้ว่า "ต้องทำคุณงามความดี ตลอดชีวิต" จึงจะได้ชื่อว่า เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น อย่างแท้จริง...

ในการใช้เข็มเชิดชูเกียรติ (ครุฑทองคำ) ให้ติดกับอกเสื้อด้านขวามือของตัวเราเอง ค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 325129เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
จรูญทรัพย์ พึ่งล้อม

ครุฑทองคำติดทางด้านขวา ไม่ทราบว่าอยู่ด้านบนหรือด้านล่างป้ายชื่อคะ (เพิ่งได้รับปีนี้เลยไม่ทราบวิธีใช้ค่ะ)

รบกวนช่วยตอบทางเมล์นี้ด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ตอบ...คุณจรูญทรัพย์...

ถ้าเป็นชุดสีกากี ติดด้านบนป้ายชื่อค่ะ สำหรับชุดปกติขาว ดูตามเว็บไซต์ด้านล่างค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussaya29/325260

ประหยัด ธรรมสิทธิ์

สวัสดีครับ ... เป็นข้าราชการพลเรือนปี ๒๕๓๐ ตอนนั้นชุดสีกากีติดเข็มตรงกระเป๋าด้านซ้าย ... ต่อมาในปัจจุบันทราบว่าชุดสีกากีติดกระเป๋าเสื้อด้านขวา ... ส่วนชุดขาวตามที่เห็นในภาพ ติดบริเวณป้ายชื่อด้านขวา ... ไม่เห็นหนังสือสั่งการ ค้นหาก็ไม่เจอ ... อยากเห็นหนังสือสั่งการที่ชัดเจน หรือผู้รับผิดชอบงานงานด้านนี้ ได้ให้ความกระจ่าง เพื่อจะได้ประดับเข็มให้ถูกต้อง ขอขอบคุณครับ ........ อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/325260

กรณีครุฑทองคำหล่นหายควรทำอย่างไร

ทำเข็มหล่นหายต้องทำอย่างไรค่ะ

ทำเข็มหล่นหายต้องทำอย่างไรค่ะ

แจ้งความที่สถานีตำรวจ แล้วนำใบแจ้งความแนบไปกับบันทึกข้อความขอรับครุฑใหม่ทดแทนตัวเดิมที่สูญหายถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่จะมีค่าใข้จ่ายครับ ประมาณ 3600 กว่าบาทนี่แหละครับ ถ้าจำไม่ผิด

แจ้งความที่สถานีตำรวจ แล้วนำใบแจ้งความแนบไปกับบันทึกข้อความขอรับครุฑใหม่ทดแทนตัวเดิมที่สูญหายถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่จะมีค่าใข้จ่ายครับ ประมาณ 3600 กว่าบาทนี่แหละครับ ถ้าจำไม่ผิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท