กี้
นาย นายสันติ กี้ เบ็ญจศิล

ความสำคัญหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา


ความสำคัญหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา
หลักคิดในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ 
               อาจารย์ที่ปรึกษามีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของนักศึกษา ต้องช่วยเหลือนักศึกษาในการปรับตัวเองเมื่อเข้ามาสู่สถานศึกษาใหม่ เช่น การปรับตัวกับเพื่อนใหม่ ปรับตัวในการเรียน ยิ่งในสถาบันอุดมศึกษา นักศึกษาต้องรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น เพราะถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว ย่อมรับผิดชอบตัวเองได้ บางคนยังคุ้นเคยการเรียนแบบเดิม คือ สมัยการเรียนในระดับมัธยมศึกษา เมื่อเข้ามาเรียนในระดับอุดมศึกษาในระยะแรกจะยังไม่สามารถปรับตัวได้จะเกิดความคับข้องใจ หรือในกรณีการคบเพื่อนใหม่จะต้องเปลี่ยนเพื่อนใหม่ เป็นต้น ทั้งการเรียนและการคบเพื่อนถ้านักศึกษาได้มีโอกาสปรับตัวให้สามารถดำเนินการด้วยดี เริ่มต้นดี นักศึกษาจะประสบความสำเร็จในการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยนักศึกษา ให้ประสบความสำเร็จในการปรับตัว และช่วยเหลือเมื่อนักศึกษาประสบปัญหา การช่วยให้นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุขและจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ คือ เป้าหมายของการทำหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
 
บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ
                อาจารย์ที่ปรึกษามีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้
  1. 1.                บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ
อาจารย์ที่ปรึกษา คือ อาจารย์ที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ดูแล และรับผิดชอบนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีบทบาทสำคัญ คือ
1.1           การให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการ
คือ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนของนักศึกษา เช่น
(1)           การวางแผนการเรียนให้จบการศึกษาในเวลาที่กำหนดตามหลักสูตร
(2)           ติดตามผลการเรียนของนักศึกษา ให้คำแนะนำในกรณีมีปัญหาการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง
(3)           สนับสนุนการเรียนของนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด
(4)           ทำงานร่วมกับนักศึกษาในการวางแผนการประชุมและกิจกรรมสัมพันธ์ การสร้างความคุ้นเคย ให้มีความสัมพันธ์ที่ระหว่างนักศึกษา และระหว่างครูกับศิษย์ ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนของนักศึกษา
(5)           ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเรียนในสถาบันอุดมศึกษา เช่น การจดบันทึกคำบรรยาย การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง การอ่านตำรา การเขียนรายงาน การนำเสนอรายงาน แก้ไขปัญหาผลการเรียนต่ำ เป็นต้น
1.2           การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับตัว
นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาอยู่ในช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม การคบเพื่อน ค่าใช้จ่าย ความขัดแย้งต่างๆ เป็นต้น
(1)           ปัญหาเกี่ยวกับการคบเพื่อน อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับตัวในการคบเพื่อนใหม่ ต้องระมัดระวังเรื่องยาเสพติด ความประพฤติทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
(2)           ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องคอยตรวจสอบดู นักศึกษาบางคนมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่เนื่องมาจากปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาเรื่องการเดินทาง ปัญหาเรื่องการปรับตัว เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อสุขภาพจิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงอยู่ และการเรียนในห้องเรียน อาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีบทบาทเหมือนพ่อแม่ที่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ หมั่นคอยสังเกตพฤติกรรมและคอยช่วยเหลือ
(3)           ปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย มีค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ทั้งในการใช้จ่ายส่วนตัวและการเรียน บางคนมีโทรศัพท์มือถือ และใช้เครื่องสำอางตามแฟชั่น     ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ถ้าครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนได้จะเกิดปัญหา แม้ว่าจะมีกองทุน ICL ให้กู้ยืม หรือ ทุนอื่นๆ ก็ตาม ถ้าหากบริหารกิจกรรม บริหารการเงินไม่ดีก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้
(4)           ปัญหาความขัดแย้ง ที่อาจก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง อาจเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น การรับน้องใหม่ การแย่งชิงคู่รัก การแข่งขันกีฬาระหว่างคณะ ระหว่างสถาบัน เป็นต้น รวมทั้งความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในตัวนักศึกษา จากการไม่สามารถปรับตัวในเรื่องต่างๆ ได้ ย่อมเกิดความขัดแย้ง ก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายเพื่อน ทำร้ายตนเอง เป็นต้น
ปัญหาการปรับตัวเป็นปัญหาสำคัญเบื้องต้น ที่นักศึกษาใหม่จะพบในช่วงแรกของการเข้าสู่สถาบันการศึกษาใหม่ ถ้าได้รับการช่วยเหลือด้วยดีจากอาจารย์ที่ปรึกษาที่เอาใจใส่ดูแลตั้งแต่ต้น และเมื่ออยู่ในสถานศึกษามานานหลายปี จะมีปัญหาการเรียน การคบเพื่อน และค่าใช้จ่าย เป็นต้น โดยเฉพาะบางคนที่มีปัญหากระทบหลายๆ ด้าน จากการเงิน ทางบ้าน เพื่อนฝูง จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต สมาธิ และการเรียน ซึ่งจะทำให้มีสุขภาพจิตที่ไม่ดีมากขึ้น เพราะอาจต้องออกจากสถาบันการศึกษาด้วยเหตุผลว่าสอบตก
1.3           การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ
สถาบันการศึกษาต้องการให้นักศึกษามีบุคลิกภาพที่ดีในสถาบันการศึกษา และเมื่อจบการศึกษาไปแล้ว บุคลิกภาพของนักศึกษา หมายถึง ลักษณะโดยรวมของนักศึกษาที่แสดงหรือกระทำให้ปรากฏ เช่น การเดิน การพูดจา การแต่งกาย กิริยามารยาท การมองเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
กระบวนการจัดกิจกรรมในสถาบันการศึกษาต้องการให้นักศึกษามีบุคลิกภาพที่ดี จึงมีกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพหลายลักษณะ ในรูปกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การสาธิต การวางแผนเกี่ยวกับการพูด การวางตัว การนำเสนอข้อมูล การแต่งกาย เป็นต้น เพื่อนักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจและนำมาปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง ซึ่งรวมถึงความประพฤติและการปฏิบัติงานในสถานศึกษา เช่น การเคารพรุ่นพี่ การเคารพครูอาจารย์ การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันการศึกษา การเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิผู้อื่น การซื่อสัตย์ และการตรงต่อเวลา เป็นต้น
สิ่งดังกล่าวข้างต้น อาจารย์ที่ปรึกษาจะมีบทบาทได้ช่วยเหลือนักศึกษาในระหว่างการศึกษาในสถาบันได้อย่างเต็มที่และใกล้ชิด การกล่อมเกลาจนเป็นนิสัย จะช่วยให้นักศึกษาได้มีมาตรฐานด้านบุคลิกภาพที่ดีตั้งแต่เป็นนักศึกษา เมื่อจบออกไปแล้วจะเป็นคนที่ดีของสังคมและประเทศชาติ
1.4           การให้คำปรึกษาในการทำกิจกรรมของนักศึกษา
ประสบการณ์ในการทำกิจกรรมของนักศึกษาในสถาบันการศึกษามีความหมายและมีคุณค่าที่เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานภายหลังจบการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาจึงควรสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จ โดยให้คำเสนอแนะในการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการและกิจกรรมทางสังคม เพื่อการเรียนรู้ การทำงานหรือกิจกรรมในการเสริมความรู้ทางวิชาการ นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน การฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ผู้ประสานงานและผู้สนับสนุน เป็นต้น ซึ่งจะต้องได้การปลุกฝังแนวคิดที่ดีงามในการทำกิจกรรม เช่น
(1)           การเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่ทางสถาบันจัดขึ้น หรือหน่วยงานอื่นๆ ดำเนินการ
(2)           การปลูกฝังความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(3)           การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองในการเข้าร่วมกิจกรรม
(4)           พัฒนาทักษะการทำงานของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นระบบ และเรียนรู้วิธีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง
(5)           การแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเรียน
(6)           สร้างวัฒนธรรมความประพฤติที่ดีให้กับรุ่นพี่ หรือเป็นตัวอย่างให้กับรุ่นน้อง
(7)           ปลูกจิตสำนึกของนักศึกษาให้ตระหนักในคุณค่าของมรดกของชาติ เช่น ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นไทย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัวนักศึกษา และสถานศึกษาให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม เป็นต้น
 
  1. 2.                หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันการศึกษาจะออกคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีหน้าที่เป็นไปตามระเบียบ หรือข้อบังคับของสถาบันการศึกษา ดังนั้น อาจารย์ที่ปรึกษาจึงต้องทำหน้าที่ตามคำสั่งของสถาบันการศึกษา แต่หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาบางอย่างก็ไม่สามารถเขียนไว้ได้ทั้งหมด ถึงอย่างไรก็ตาม หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา คือ ช่วยเหลือแนะนำนักศึกษาให้ประสบผลสำเร็จในการศึกษาตามศักยภาพอย่างสูงสุด และช่วยให้สามารถปรับตัวและดำรงชีพในสถาบันการศึกษาอย่างมีความสุข
ดังนั้น หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นไปตามคำสั่งของสถาบันการศึกษา และหน้าที่อื่นๆ ทั่วไปที่จะช่วยให้นักศึกษาจบการศึกษาอย่างมีความสุข ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
2.1 หน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการ
        (1)  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรและการเลือกวิชาเรียน
        (2)  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทะเบียนวิชาเรียน
        (3)  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมการลงทะเบียนเรียนให้เป็นไปตามหลักสูตรกำหนด
        (4)  ให้คำแนะนำช่วยเหลือในกรณีที่มีผลการเรียนต่ำหรือเพิ่มศักยภาพในการเรียนให้สูงขึ้น
        (5)  ให้คำแนะนำในการคิดคะแนนระดับค่าเฉลี่ย
        (6)  ให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมอาชีพหรือศึกษาต่อ
2.2 หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านบุคลิกและการปรับตัว
        (1)  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของสถาบันการศึกษา
        (2)  ให้คำปรึกษาเรื่องการปรับตัวในด้านการเรียน สุขภาพ การคบเพื่อน การพักอาศัย
        (3)  ดูแลเรื่องความประพฤติ การปฏิบัติตามระเบียบ
2.3 หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านประสานงานและอื่นๆ
        (1)  ประสานงานกับผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยเหลือนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
        (2)  กำหนดตารางเวลาอำนวยความสะดวกให้นักศึกษาเข้าพบ ทั้งในการปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม
        (3)  จัดทำระเบียนเก็บข้อมูลของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและเก็บรักษาไว้เป็นความลับ
        (4)  พิจารณาคำร้องของนักศึกษาโดยเร็ว และให้ช่วยเหลือได้ตามระเบียบบังคับ
        (5)  สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างอาจารย์ นักศึกษา และผู้บริหารมหาวิทยาลัย
        (6)  ให้ข้อมูลย้อนกลับต่อผู้บริหาร ในการให้คำปรึกษาตลอดจนปัญหาต่างๆ
 
แนวปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา
                อาจารย์ที่ปรึกษาควรปฏิบัติดังนี้
  1. ศึกษาคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อทำความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
  2. จัดทำระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาในที่ปรึกษาเป็นระเบียนสะสม และข้อมูลต่างๆ ของนักศึกษา
  3. เข้าร่วมประชุมกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้บริหาร เพื่อเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา
  4. นัดหมายนักศึกษา โดยจัดทำเป็นตารางที่จะให้นักศึกษาพบเป็นรายกลุ่มหรือบุคคล รวมทั้งสถานที่ที่จะให้พบ
  5. ในการให้คำปรึกษาให้มีการบันทึกข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
  6. แสวงหาความรู้และพัฒนาตนเองในเรื่องการให้คำที่ปรึกษาแก่นักศึกษา
  7. ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเคร่งครัด
  8. อื่นๆ ที่เห็นว่าจะช่วยให้นักศึกษาประสบความสำเร็จและสถาบันมีชื่อเสียง
 
เครื่องมือและข้อมูลสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา
                อาจารย์ที่ปรึกษาควรจัดหาเครื่องมือและเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้
  1. เครื่องมือสำคัญสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น
(1)           คู่มือนักศึกษา
(2)           ระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาและการวัดผล
(3)           หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
(4)           คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา
(5)           ระเบียนสะสมของนักศึกษาในการบันทึกข้อมูลและกิจกรรม
(6)           สมุดบันทึกของอาจารย์ที่ปรึกษาในการปฏิบัติหน้าที่
(7)           แบบฟอร์มหรือคำร้องที่จำเป็น
(8)           อื่นๆ
  1. ข้อมูล เช่น
(1)           ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการของสถานศึกษา เช่น ทุน การใช้ห้องสมุด เป็นต้น
(2)           ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ
(3)           ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาและผู้ปกครอง
(4)           ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับของสถาบันการศึกษา
(5)           ข้อมูลทั่วๆ ไปของสถาบันการศึกษา
(6)           อื่นๆ
 
ภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ
                ภาระงานที่สำคัญของอาจารย์ที่ปรึกษามีดังนี้
  1. มีภาระงานในการดูแลและให้คำปรึกษาไม่เกิน...........คน (หากไม่สามารถปฏิบัติได้ให้ขออนุมัติเป็นรายกรณีไป)
  2. เข้ารับการอบรมและสัมมนา
  3. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบังคับ ประกาศ กฎระเบียบ และข้อมูลต่างๆ ในการศึกษาของนักศึกษาดังที่ระบุไว้ในคู่มือ
  4. ให้คำปรึกษาและแนะนำด้านการศึกษาต่อ อาชีพ ส่วนตัว และสังคม ตลอดจนการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา
  5. มีตารางเวลาให้คำปรึกษาสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่หากนักศึกษามีปัญหาเร่งด่วนก็สามารถนัดหมาย เพื่อขอรับคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาได้นอกตาราง
  6. พบนักศึกษาแต่ละคนไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ต่อภาคการศึกษา
  7. อยู่ปฏิบัติงานในช่วงเวลาลงทะเบียนเรียนและเพิ่มถอนรายวิชา
  8. ตรวจสอบผลการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา
  9. ตรวจสอบและจัดส่งรายชื่อนักศึกษาที่ได้ผลการเรียนต่ำกว่า 2.00 เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนของทุกภาคการศึกษา เพื่อคณะจะได้แจ้งผู้ปกครองทราบต่อไป
  10. ดูแลและบันทึกการให้คำปรึกษาตามแฟ้มที่คณะจัดเตรียมให้เมื่อเริ่มปฏิบัติหน้าที่ให้ครบถ้วน (แฟ้มประกอบด้วย แบบบันทึกการให้คำปรึกษา แบบรายงานการยุติการให้คำปรึกษา และสมุดบันทึกผลการเรียน)
  11. ส่งแฟ้มการบันทึกการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา คืนให้คณะ เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้ว
ข้อมูลที่อาจารย์ที่ปรึกษาควรทราบ
                อาจารย์ที่ปรึกษาควรรวบรวมและศึกษาเอกสารดังนี้
  1. คู่มือการบริหารการศึกษาผ่านเครือข่ายทองคอมพิวเตอร์ (Internet)
  2. คู่มือการบริหารการศึกษา
  3. คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา
  4. คู่มือนักศึกษา
  5. หลักสูตรของคณะที่นักศึกษาสังกัด
  6. ข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีของสถาบัน
  7. แบบฟอร์มสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย
(1)           แบบทะเบียนประวัติของนักศึกษา
(2)           แบบบันทึกการให้คำปรึกษา
(3)           แบบรายงานการยุติให้คำปรึกษา
(4)           สมุดบันทึกผลการเรียน
  1. ตัวอย่างในใบสมัครและแบบคำร้องต่างๆ
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษาของนักศึกษา
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่วิทยาลัยจัดให้นักศึกษา
  4. ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของวิทยาลัยและชุมชนแวดล้อม
  5. ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ในสาขาที่อาจารย์สอน
  6. ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษา
  7. อื่นๆ
 
สรุป
                อาจารย์ที่ปรึกษาเปรียบเสมือนพ่อ แม่ คนที่สองของนักศึกษา จึงต้องใกล้ชิด รู้จัก และเข้าใจนักศึกษาทุกคน รู้จุดเด่นหรือลักษณะพิเศษของแต่ละคน พร้อมทั้งรู้จุดที่ต้องแก้ไข ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่เก็บความลับของนักศึกษาได้ ไว้วางใจได้ นักศึกษาเชื่อถือ อาจารย์ที่ปรึกษาจำต้องทำหน้าที่ป้องกัน แก้ไข และส่งเสริมพัฒนาการของนักศึกษาอย่างเต็มที่ ในการป้องกันนักศึกษา คือ ให้ความรู้ ให้คำแนะนำในส่วนต่างๆ ที่ช่วยให้นักศึกษาได้รอดพ้นจากอุปสรรคทางการเรียนต่างๆ รวมถึงเรื่องส่วนตัว ส่วนการแก้ไข หมายถึง เมื่อนักศึกษาพบปัญหาใดๆ จะต้องร่วมมือกับนักศึกษาแก้ไขอย่างทันที สำหรับการส่งเสริมพัฒนาการของนักศึกษา คือ การสนับสนุนนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษ ให้ได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพอย่างเต็มที่ สิ่งที่อาจารย์ที่ปรึกษาช่วยเหลือนักศึกษาทั้งหมด ให้นักศึกษาประสบความสำเร็จจบการศึกษาทุกคนนั้น คือ รางวัลชีวิตของอาจารย์ปรึกษาที่น่าภูมิใจ
 
  • การประเมินผลตนเอง o           แบบประเมินผลอาจารย์ที่ปรึกษา (โดยนักศึกษา)
 
การปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
ตอนที่ 1 ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา
บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อยที่สุด
1. มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม
 
 
 
 
2. มีความประพฤติเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดี
 
 
 
 
3. มีความเป็นกันเองแก่นักศึกษา
 
 
 
 
4. ตรงต่อเวลา
 
 
 
 
5. มีความมั่นคงทางอารมณ์
 
 
 
 
6. มีความเสียสละ
 
 
 
 
7. จริงใจในการช่วยเหลือนักศึกษา
 
 
 
 
9. สามารถรับรู้ความรู้สึกของนักศึกษาได้
 
 
 
 
10. มีความเป็นประชาธิปไตย
 
 
 
 
11. มีเหตุผลและมีความสามารถช่วยเหลือนักศึกษา แก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
 
 
 
 
12. สามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้เป็นความลับ
 
 
 
 
เฉลี่ย
 
 
 
 
 
ตอนที่ 2 ด้านบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา (ด้านวิชาการ)
บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อยที่สุด
1. ให้ความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับระเบียบการและนโยบายของมหาวิทยาลัย
 
 
 
 
2. ให้คำที่ปรึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรและสาขาวิชา
 
 
 
 
3. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน โอนย้ายสาขาวิชา และการเพิ่มถอนรายวิชา
 
 
 
 
4. ให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องระเบียบการวัดและประเมินผล หรือการเรียนซ้ำและการพ้นสภาพนักศึกษา
 
 
 
 
5. ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอน เพื่อช่วยนักศึกษาในด้านการเรียน ติดตามผลการเรียนและให้คำแนะนำเมื่อนักศึกษามีปัญหา
 
 
 
 
6. ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาต่อ
 
 
 
 
เฉลี่ย
 
 
 
 
 
ตอนที่ 3 ด้านบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา (ด้านบริการและพัฒนานักศึกษา/ด้านอื่นๆ)
บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อยที่สุด
1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับต่างๆ
 
 
 
 
2. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว
 
 
 
 
3. ให้คำปรึกษานักศึกษาในการคบเพื่อน
 
 
 
 
4. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางตัว
 
 
 
 
5. ให้คำแนะนำด้านความประพฤติ
 
 
 
 
6. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ
 
 
 
 
7. ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรม
 
 
 
 
8. ให้คำแนะนำด้านการเงิน ทุนการศึกษา หรือกองทุน
 
 
 
 
9. ให้คำแนะนำด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 
 
 
 
เฉลี่ย
 
 
 
 
บทบาทหน้าที่ด้านอื่นๆ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อยที่สุด
1. ชี้แจงเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา
 
 
 
 
2. มีการนัดพบนักศึกษาเป็นระยะ เพื่อทราบและแก้ไขปัญหาต่างๆ
 
 
 
 
3. ติดตารางเวลา (Office hour) เพื่อให้นักศึกษาเข้าพบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
 
 
 
 
4. จัดทำระเบียนสะสมของนักศึกษา
 
 
 
 
5. ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
 
 
 
 
6. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสถาบันการศึกษา
 
 
 
 
7. ให้คำปรึกษาด้านการลาของนักศึกษา
 
 
 
 
8. ว่ากล่าว ตักเตือนนักศึกษาเมื่อทำผิดกฎระเบียบ
 
 
 
 
9. ให้คำรับรองนักศึกษาในกรณีต่างๆ
 
 
 
 
10. ติดตามผลการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
 
 
 
 
เฉลี่ย
 
 
 
 
ค่าเฉลี่ยรวม
 
 
 
 
 
ที่มา
รองศาสตราจารย์เทื้อน  ทองแก้ว
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
 
หมายเลขบันทึก: 324191เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2009 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณค่ะที่นำความชัดเจนของหน้าที่ครูที่ปรึกษามาฝากส่งท้ายปีเก่า

อนุโมทนาขอบใจโยมมากๆ ที่ทำให้ได้พวกเราได้มองเห็น และตระหนักรู้ถึงความสำคัญของอาจารย์ที่ปรึกษา และขออนุญาตินำไปเป็นกรอบการทำของที่ปรึกษาในมหาจุฬาฯ

ขอบคุณมากคะ สรุปได้ความเข้าใจ และมีข้อมูลไปใช้ได้มากเลยคะ

ขอบคุณมากค่ะ เป็นบทความที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท