สวัสดิการชุมชน สู่สังคมที่ยั่งยืน


การจัดสวัสดิการชุมชน

     สวัสดิการชุมชน มีคนหลายคนถามว่าสวัสดิการชุมชนคืออะไร  แล้วหน้าตาระบบสวัสดิการนั้นเป็นแบบไหน  เอามาจัดการบ้านเราได้อย่างไร !!!!  เป็นคำถามที่น่าคิดอยู่เหมือนกัน และเหมือนผมก็กำลังถามตัวเองอยู่และศึกษาไปพร้อมกัน

     ในสังคมเรามีทั้งคนมี คนจน คนร่ำรวยและยากจน  และสิ่งไหนเล่าจะสามารถแก้ระบบที่เรียกบ้านเราง่ายๆ ว่าโง่ จน เจ็บ ได้ คำตอบนักวิชาการมองว่าอยู่ที่การศึกษาแน่นอนนั่นเป็นการแก้ปัญหาที่ฐานรากได้ถูกจุดและตรงเผ็ง  และ ณ ปัจจุบันสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถทำได้อย่างไร คงเป็นอย่างที่เราเรียกว่า สวัสดิการชุมชน หรือ ทางภาคเหนืออาจเรียกว่า ฟี้นฮีตตามฮอย อาทิ การช่วยเหลือเกื้อกูลงานปอยไหนเอาข้าวไปสู่ เอาเมี้ยงไปกำ ใครเจ็บใครป่วยมีค่าสมาชิก เป็นต้น แต่จากสภาพวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นวัฒนธรรมที่เร่งรีบ ผู้ชราภาพมีอัตราที่สูง อัตรการว่างงานที่เพิ่ม หรืออัตราแรงงานนอกระบบ สิ่งเหล่านี้นอกเหนือจากระบบที่รัฐดูปัจจุบัน การเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ การเจ็บ การเกิดเหล่านี้เป็นต้นทุน สิ่งนี้ต้องให้ชาวบ้านรุกขึ้นมาเป็นผู้ดูแลกันเอง (สมทบเงินนำเงินที่ได้สร้างระบบการดูแลคนในชุมชน การหมุนเวียนออกดอกผลเป็นต้น)

   ที่มา model จาก www.thaingo.org บทความ การส่งเสริมสวัสดิการชุมชนของมูลนิธิเพื่อการบริหารสังคม รศ.ดร.ทัศนีย์  ลักขณาภิชนชัช


 

     ปัจจุบัน แนวทางหนึ่งหรือที่เรียกว่า model ในการทำสวัสดิการชาวบ้านอย่างเดียวคงไม่ได้ จำเป็นที่หลายคุ้นกับคำว่า สวัสดิการ 3 ขา คือการร่วมจัดการ ชาวบ้าน 1 - อปท 1 - รัฐ 1 เป็นต้น สิ่งที่ตามมาและเป็นข้อกังวลต่อนโยบายดังกล่าวขณะนี้คือ แล้วส่วนของรัฐและ อปท. จะสามารถนำเงินตัวไหนมาจัดการสมทบได้ และการสมทบเท่าไหร่จึงเพียงพอ

     แต่ประเด็นหลักอีกอย่างที่มากกว่าการมองเรื่องนั้นคือว่า สวัสดิการชุมชนแท้จริงแล้วชาวบ้านจะเป็นผู้จัดการและดำเนินการ  หากฐานแข็งเหมือนก่อเจดีย์คือให้ชาวบ้านและขบวนรู้ว่า เงินที่ได้จะมีการจัดการอย่างไร บริหารแบบไหน สร้างระเบียบในการบริหารอย่างไร เมื่อเกิดระบบและความพร้อมเกิดขึ้นจะสามารถนำเงินลงไปสู่ระบบการบริหารจัดการของชุมชนและเกิดความพร้อมขึ้นได้  ท้ายสุดจุดหนึ่งก็สามารถตอบได้ว่ายั่งยืนเพราะชาวบ้านทำเป็นและอีกทั้งเป็นคนในพื้นที่ย่อมเข้าใจปัญหาและสามารถแก้ไขได้

     จุดท้าทายต่อมาที่เป็นปัญหาใหญ่คือ และจะทำอย่างไรให้เงินพอให้เกิดระบบสวัสดิการได้ คำตอบคงมีหลายจุดแต่แน่ที่สุดการเพิ่มเงินการสะสมหากจะให้ครอบคลุมเรื่องการออมชราภาพ เพราะระบบสวัสดิการชุมชนไม่ใช่ของใครแต่เกิดจากรากฐานชุมชนคนในชุมชนและเพื่อชุมชน (เพื่อให้ครอบคลุมวัฏจักรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนตายได้)

     เหนืออื่นใดระบบสวัสดิการชาวบ้านหากจะสร้างให้คงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องคงประกอบด้วย 2 จุดหลักที่เป็นหัวใจ ณ ตอนนี้

1.สร้างระบบการสนับสนุนที่คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคงต้องประสานงาน กับกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นหลัก และ กสค .ที่เป็นเสมือนหนึ่งกำลังเสริมในการพัฒนาระบบการดำเนินงานอย่างยนั่งยืนต่อเนื่อง

2.การติดตามประเมินผลที่เป็นรูปแบบติดตามและพัฒนาระบบไปพร้อมกันคงไม่ใช่ระบบการติดตามเพื่อการจับผิดเป็นแน่ แต่เป็นการพัฒนาระบบเพื่อสรางความเข้มแข็งและยั่งยืน

     แล้วท้ายสุดเมื่อทำได้ เราคงได้พบความหวังที่ปลายอุโมงค์ รัฐสวัสดิการ  หรือ สวัสดิการชุมชน ภายใต้หลัการ ที่ พอช. เคยหยิบมารณรงค์นั่นคือ การให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี

หมายเลขบันทึก: 324145เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2009 19:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มีความสุขสวัสดีตลอดปี 2553นะครับนายหมูแดงอวกาศ

สวัสดีปีใหม่ครับ กองทุนออมบุญสวัสดิการเทศบาลตำบลปากพะยูนรายงานตัวครับ ท่านพอช.

ยินดีต้องรับเข้ามารร่วมกันสรางระบบสวัสดิการนะครับ

อิอิ แอบย่องมาเยี่ยมจ้า ตอนนี้คุณหมูแดงอวกาศเอาเรื่องสวัสดิการมายัดใส่สมองอันน้อยนิดของดิชั้นแล้วคร่าา

แหม คุณเรนเดียร์ ก็เป็น 1 ในบรรณาธิการหนังสือ สวัสดิการนี่ครับ คริๆๆ ช่วยกันเนอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท